ไม่พบผลการค้นหา
'เวฟ' วีรพล วิชุมา จอมพลังจาก จ.สุรินทร์ นักยกน้ำหนักรุ่น 73 กิโลกรัมชาย สู้สุดใจกัดฟันฮึดสู้พลิกกลับมาคว้าเหรียญเงิน พร้อมทุบสถิติเยาวชนโลก ท่าคลีนแอนด์เจิร์กของตัวเอง

การแข่งขันกีฬายกน้ำหนัก ในมหกรรมกีฬาโอลิมปิกเกมส์ (ปารีส 2024) ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส จอมพลังไทยประเดิมผลงานยอดเยี่ยม โดยวันที่ 7 ส.ค. 2567 คว้า 1 เหรียญเงิน จาก 'ฟ่าง' ธีรพงศ์ ศิลาชัย รุ่น 61 กิโลกรัมชาย และ 1 เหรียญทองแดง จาก 'ออย' สุรจนา คำเบ้า รุ่น 49 กิโลกรัมหญิง ล่าสุดวันที่ 8 ส.ค. 2567 'เวฟ' วีรพล วิชุมา ดาวรุ่งชาว จ.สุรินทร์ นักยกน้ำหนักรุ่น 73 กิโลกรัมชาย นักกีฬาอายุน้อยที่สุดในรุ่นนี้ โดยวันที่ 10 ส.ค.67 จะอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์

IMG_6556.jpeg

สำหรับคู่แข่งสำคัญในรุ่นนี้ นำโดย ฉี ซีหยง จากจีน เจ้าของเหรียญทอง โอลิมปิก “โตเกียว 2020” โดยครั้งนั้นทำสถิติโอลิมปิกใหม่ทั้ง 3 ท่า ท่าสแนทช์ 166 กิโลกรัม, ท่าคลีนแอนด์เจิร์ก 198 กิโลกรัม, น้ำหนักรวม 364 กิโลกรัม และยังเป็นเจ้าของสถิติโลก ท่าสแนทช์ 169 กิโลกรัม ด้วย นอกจากนี้ ยังมี ริซกี จูเนียนสยาห์ จากอินโดนีเซีย วัย 21 ปี เจ้าของสถิติโลก น้ำหนักรวม 365 กิโลกรัม และเจ้าของสถิติเยาวชนโลก ท่าสแนทช์ 157 กิโลกรัม

ท่าสแนทช์ วีรพล ออกมายกครั้งแรกผ่านที่ 148 กิโลกรัม ครั้งที่ 2 เรียกเหล็ก 152 กิโลกรัม แต่ยกไม่ผ่าน แม้จะพยายามออกมาแก้ตัวในครั้งที่ 3 ที่น้ำหนักเดิม แต่ทำไม่สำเร็จ ทำให้สถิติอยู่ที่ 148 กิโลกรัม จบที่ 9 ทำให้ต้องลุ้นหนักในท่าคลีนแอนด์เจิร์ก ส่วนที่ 1 ในท่านี้เป็นของ ฉี ซีหยง จากจีน สถิติ 165 กิโลกรัม

l_img_6561.jpeg

ท่าคลีนแอนด์เจิร์ก วีรพล กัดฟันสู้เต็มที่ ครั้งแรกยกผ่านที่ 190 กิโลกรัม ยกครั้งที่ 2 ยกผ่านที่ 194 กิโลกรัม และครั้งที่ 3 ฮึดเรียกเหล็กไปที่ 198 กิโลกรัม เพื่อหวังเบียดลุ้นเหรียญรางวัล ปรากฏว่า วีรพล งัดทีเด็ดยกผ่านไปได้แบบสะใจกองเชียร์ พร้อมทำลายสถิติเยาวชนโลกในท่านี้ของตัวเองลงได้ด้วย (สถิติเดิม 195 กิโลกรัม และขณะนี้ วีรพล ยังอายุไม่ครบ 20 ปีบริบูรณ์) ขยับสถิติน้ำหนักรวมมาอยู่ที่ 346 กิโลกรัม รับเหรียญเงินไปครอง 

ขณะนี้ สมาคมกีฬายกน้ำหนักสมัครเล่นแห่งประเทศไทย ส่งนักกีฬาลงแข่งขันไปแล้ว 3 คน คว้าเหรียญถ้วนหน้ารวม 2 เหรียญเงิน และ 1 เหรียญทองแดง และยังได้ลุ้นเหรียญรางวัลปิดท้ายจาก 'ส้ม' ดวงอักษร ใจดี นักยกน้ำหนักหญิงรุ่นมากกว่า 81 กิโลกรัมหญิง ในวันที่ 11 ส.ค.67 เวลาไทย 16.30 น.

สำหรับเงินรางวัล ที่ วีรพล วิชุมา ได้รับ จากการคว้าเหรียญเงิน มาจาก กองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ การกีฬาแห่งประเทศไทย 7.2 ล้านบาท (จ่ายเป็นเงินก้อนอัตราร้อยละ 50 ส่วนอีกร้อยละ 50 แบ่งจ่ายเป็นรายเดือนในระยะเวลา 4 ปี), เงินเดือนจากคณะกรรมการโอลิมปิคแห่งประเทศไทยฯ เดือนละ 10,000 บาท เป็นเวลา 20 ปี เป็นเงิน 2.4 ล้านบาท และจาก บริษัท โอสถสภา จำกัด (มหาชน) 5 แสนบาท รวมเป็นเงิน 10.1 ล้านบาท

ทั้งนี้นักกีฬายกน้ำหนัก ยังมีลุ้นรางวัลส่งท้ายอีก 1 รุ่น จาก “ส้ม” ดวงอักษร ใจดี รุ่นมากกว่า 81 กิโลกรัมหญิง ในวันที่ 11 ส.ค. 2567 เวลาไทย 16.30 น. ติดตามการถ่ายทอดสดทางช่อง 7HD (35), 9 MCOT HD (30), PPTV HD 36, True ,T-Sports (7) และ AIS Play

ที่มา : สมาคมยกน้ำหนักสมัครเล่นแห่งประเทศไทย Thai Amateur Weightlifting Association (TAWA)

สำหรับอันดับเหรียญ ประเทศไทย อยู่อันดับที่ 32 กวาดไปแล้ว 6 เหรียญ โดยมี 1 เหรียญทอง , 3 เหรียญเงิน และ 2 เหรียญทองแดง (9 สิงหาคม 2024 เวลา 08.30 น.)

xx3.jpg


วีรพล วิชุมาวีรพล วิชุมา