ไม่พบผลการค้นหา
เจ้าหน้าที่ในมองโกเลียกำลังเฝ้าระวังสถานการณ์อย่างใกล้ชิด หลังมีรายงานว่ามีคนเป็นกาฬโรค หลังกินเนื้อกระรอกมาร์มอต

สำนักข่าวซินหัวรายงานว่า เมืองบายันนูณ์ เมืองชั้นในของมองโกเลีย ซึ่งตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของกรุงปักกิ่ง พบผู้ป่วยต้องสงสัยเป็นกาฬโรค 4 คนตั้งแต่เดือนพ.ย.ปี 2562 เป็นคนที่ติดกาฬโรคต่อมน้ำเหลือง 2 คน และเป็นกาฬโรคปอดอีก 2 คน โดยโรงพยาบาลท้องถิ่นได้แจ้งเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น แล้วทางการท้องถิ่นได้ประกาศเฝ้าระวังระดับ 3 และจะประกาศใช้ต่อไปจนถึงสิ้นปีนี้

เจ้าหน้าที่สาธารณสุขของเมืองบายันนูร์เตือนประชาชนให้ระมัดระวังการติดเชื้อจากคนสู่คนมากเป็นพิเศษ และแนะนำให้หลีกเลี่ยงการล่าสัตว์หรือกินเนื้อสัตว์ที่อาจติดเชื้อ และขอให้ประชาชนแจ้งเจ้าหน้าที่หากพบมาร์มอตตายหรือป่วย

กระรอกมาร์มอตเป็นกระรอกชนิดหนึ่งที่คนจีนบางพื้นที่ รวมถึงมองโกเลียจับกินเป็นอาหาร และคนล่ามาร์มอตกันมาก เพื่อนำขนมาขาย มีการสันนิษฐานว่า การขายขนมาร์มอตที่ติดเชื้อไปทั่วประเทศจีนเป็นสาเหตุที่ให้กาฬโรคปอดระบาดเมื่อปี 2454 ซึ่งมีผู้เสียชีวิตราว 63,000 รายในพื้นที่ทางตอนเหนือของจีน โดยจีนสามารถควบคุมโรคระบาดครั้งนั้นได้ภายใน 1 ปี และช่งหลายสิบปีถัดมาก็ยังมีการติดกาฬโรคจากมาร์มอตอยู่

สำนักข่าวซินหัวรายงานว่า เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว มีคนติดกาฬโรคต่อมน้ำเหลือง 2 คนโดยทั้งคู่ระบุว่ากินเนื้อมาร์มอต และเมื่อเดือนพ.ค. ก็มีคู่สามีภรรยาในมองโกเลียเสียชีวิตจาดกาฬโรคปอดจากการกินไตดิบของมาร์มอต โดยคิดว่าเป็นตำรับยาเพื่อสุขภาพ ขณะที่อีก 2 คนเป็นกาฬโรคปอด

กาฬโรคเกิดจากแบคทีเรีย โดยตว์อย่างหนูและเห็บเป็นพาหะ และถือเป็นหนึ่งในโรคระบาดที่เกิดจากแบคทีเรียและคร่าชีวิตคนไปมากที่สุดมีในประวัติศาสตร์ โดยมีการประเมินว่าช่วงศตวรรษที่ 14 มีคนเสียชีวิตจากกาฬโรคประมาณ 75-200 ล้านราย และกาฬโรคทำให้คนเสียชีวิตประมาณ 30-50 ล้านในช่วงปีพ.ศ. 1084-1092

กาฬโรคต่อมน้ำเหลืองเป็น 1 ใน 3 ประเภทของกาฬโรค ผู้ติดเชื้อจะมีอาการเจ็บปวดตามร่างกาย รู้สึกหนาว ต่อมน้ำเหลืองบวมและมีไข้ และหากไม่รักษากาฬโรคต่อมน้ำเหลืองก็จะทำให้เป็นกาฬโรคปอดต่อ ซึ่งจะทำให้มีอาการปอดอักเสบอย่างรวดเร็ว เมื่อแบคทีเรียเข้าสู่ปอด

แม้กาฬโรคจะเป็นโรคติดต่อที่หลายคนเข้าใจว่าหมดไปจากโลกแล้ว เพราะการแพทย์มีความก้าวหน้ามากขึ้น ยาฆ่าเชื้อก็สามารถรักษาโรคติดต่อได้หากพบตั้งแต่เนิ่นๆ ช่วยป้องกันการแพร่ระบาดอย่างรวดเร็วเหมือนที่เคยเกิดในยุโรปช่วงยุคกลาง แต่ก็ยังไม่มีวัคซีนที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันกาฬโรค 

ที่ผ่านมา แม้กาฬโรคจะระบาดน้อยลงมาก แต่โลกก็ยังไม่สามารถกำจัดกาฬโรคออกไปได้ทั้งหมด องค์การอนามัยโลกหรือ WHO ได้จัดประเภทให้กาฬโรคกลับมาอยู่ในหมวดโรคที่เกิดขึ้นใหม่อีกครั้ง 

WHO ระบุว่า ทุกปีมีคนติดกาฬโรคประมาณ 1,000-2,000 คน แต่ตัวเลขผู้ติดเชื้อจริงอาจสูงกว่านี้ เพราะอาจมีเคสที่ไม่ได้รายงานต่อ WHO โดยประเทศที่มีกาฬโรคระบาดเป็นประจำ ได้แก่ สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก (ดีอาร์คองโก) มาดากัสการ์ และเปรู

ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคเปิดเผยว่า สหรัฐฯ ก็มีคนเป็นกาฬโรคเล็กน้อยทุกปี โดยปี 2557 มีคนเป็นกาฬโรค 8 คน และในปี 2558 มี 2 คนจากโคโรลาโดเสียชีวิตจากกาฬโรค

ที่มา : CNN, Al Jazeera, BBC