หลังมีมติ ครม. เมื่อวันที่ 24 มี.ค. อนุมัติมาตรการดูแลและเยียวยาแรงงานอิสระ ลูกจ้างชั่วคราว และผู้ไม่อยู่ในระบบประกันสังคม และสำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน ย้ำว่า ผู้ประกันตนตามมาตรา 33 ที่ส่งเงินสมทบไม่ถึง 6 เดือน รวมถึงผู้ประกันตนภาคสมัครใจตาม ม.39 และ 40 ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์แพร่ระบาดโควิด-19 จะได้รับเงินช่วยเหลือรายละ 5,000 บาท เป็นระยะเวลา 3 เดือน (เม.ย. - มิ.ย. 2563)
‘วอยซ์ออนไลน์’ ลงพื้นที่สำรวจความเห็นของประชาชนต่อมาตรการดังกล่าว ได้รับเสียงตอบรับจากพ่อค้าแม่ค้าที่ค้าขายหลังกระทรวงการคลังว่า พวกเขาได้ยินข่าวเกี่ยวกับมาตรการช่วยเหลือดังกล่าวมาบ้าง ซึ่งส่วนมากมาจากสื่อต่างๆ นอกจากนี้ จะเป็นการรับรู้ข่าวสารจากการพูดคุยกันทั่วไป
อย่างไรก็ตาม พ่อค้าแม่ค้าที่ตอบคำถามในครั้งนี้ยังมีความกังวลและบอกว่า ไม่รู้ว่าคุณสมบัติของผู้ที่จะได้รับการช่วยเหลือเยียวยาในครั้งนี้เป็นอย่างไร
'ทิวัตร์ แสนรักษ์' กล่าวว่า แม้ว่าตัวเขาเองจะติดตามข่าวจากหลายช่องทาง แต่ก็ยังพะว้าพะวังว่าตนเองจะไม่ได้รับสิทธิดังกล่าวเนื่องจากไม่ได้อยู่ภายใต้สิทธิประกันสังคม
'นิภาพร พูลขวัญ' ยอมรับว่าถึงแม้ว่าตัวเองจะเข้าข่ายตรงคุณสมบัติได้รับการเยียวยา แต่ถ้าหากต้องกรอกข้อมูลทางออนไลน์อย่างเดียวก็ไม่ถนัดจริงๆ และคงไม่เข้าร่วมรับเงินเยียวยา
สรุปเงื่อนไขและการลงทะเบียน
ขณะที่กระทรวงการคลังและธนาคารกรุงไทย ซักซ้อมความเข้าใจเรื่องการรับเงินช่วยเหลือรายเดือนนี้เมื่อวันที่ 26 มี.ค. ที่ผ่านมา โดยมีอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ลวรณ แสงสนิท ผู้อำนวยการสำนักเศรษฐกิจการคลัง และผยง ศรีวณิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงไทย ชี้แจง ระบุว่า เกณฑ์หลักที่ใช้ตรวจสอบผู้มีคุณสมบัติเข้ารับเงินเยียวยาประกอบด้วย 3 ประเด็น ได้แก่
ผอ.สศค. ย้ำว่า สำหรับผู้ที่ประกันตนในมาตรา 39 และ 40 ที่เป็นข้อถกเถียงกันมา ขอให้คำมั่นว่าสามารถมาลงทะเบียนขอรับเงินเยียวยาได้เช่นเดียวกัน
กรรมการผู้จัดใหญ่ ธนาคารกรุงไทย ชี้ว่า การลงทะเบียรับเงินช่วยเหลือดังกล่าวสามารถทำได้ 3 วิธี คือ
อย่างไรก็ตาม ผยงย้ำว่า อยากแนะนำให้ประชาชนร่วมกันลงทะเบียนผ่านช่องทางออนไลน์จะสะดวกที่สุด และเป็นการลดความเสี่ยงในการติดเชื้อไวรัส-19 จากการเดินทางไปที่สาขาของธนาคาร
สำหรับเอกสารที่ต้องกรอกในการลงทะเบียนนั้น ลวรณกล่าวว่าเป็นการกรอกข้อมูลตามปกติไม่ได้ใช้ข้อมูลละเอียดหรือเชิงลึก เพียงแต่ต้องระบุว่าผู้ขอเป็นใคร มีการยืนยันตัวตน และแสดงว่าได้รับผลกระทบเช่นไร พร้อมกับแนบเลขที่บัญชีของธนาคารใดก็ได้ หรือใช้การแนบข้อมูลพร้อมเพย์ที่ผูกกับเลขบัตรประจำตัวประชาชน จากนั้นระบบจะทำการพิจารณาว่าผู้ยื่นคำร้องมีคุณสมบัติครบถ้วนหรือไม่ หากคุณสมบัติผ่านก็จะใช้เวลาเร็วที่สุดในการส่งเงินถึงมือประชาชนภายใน 7 วัน
นอกจากนี้ ยังย้ำว่า ขอให้ประชาชนสบายใจว่ามาตรการครั้งนี้จะเยียวยาทุกคน ไม่ใช่แค่ตัวเลข 3 ล้านคนเหมือนที่ออกมาก่อนหน้า จึงไม่มีความจำเป็นต้องแย่งกันเข้ามาลงทะเบียน เพราะหากผ่านคุณสมบัติข้างต้น ประชาชนทุกคนก็สามารถได้รับเงินช่วยเหลือจำนวน 5,000 บาท เป็นระยะเวลา 3 เดือนด้วยกันทั้งสิ้น โดยเป็นการจัดสรรงบประมาณจากคณะรัฐมนตรี
"ขอความร่วมมือจากประชาชนที่ทราบอยู่แน่ชัดแล้วว่าตนไม่เข้าเงื่อนไขทั้ง 3 ข้อ ไม่ต้องมาลงทะเบียนเพื่อหวังได้รับเงินช่วยเหลือในครั้งนี้ เพราะจะทำให้ระบบประมวลผล เพื่อผู้ที่เดือดร้อนจริงๆ มีความล่าช้า" ลวรณ กล่าว
พร้อมย้ำว่าระบบการลงทะเบียนได้รับการออกมาและพัฒนาโดยใช้ปัญญาประดิษฐ์ (AI) จึงเป็นไปได้ยากที่ประชาชนที่ไม่ได้มีเงื่อนไขตรงข้อกำหนดจะฟลุ๊กได้รับเงินช่วยเหลือจำนวนนี้เช่นกัน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง :