ไม่พบผลการค้นหา
สยามเทคโนโพลชี้คนทุกสาขาอาชีพ เชียร์ 'อภิสิทธิ์' นอนมาหัวหน้า ปชป ด้าน 'ผู้พันปราง' ม้ามืดรองมาขึ้นแท่นผู้นำพรรคได้ เหตุคนเกษียณ-ข้าราชการแห่หนุน ขณะที่ 'มาดามเดียร์-นราพัฒน์-ชัยชนะ' ได้เสียงคนรุ่นใหม่ร่วมหนุนขึ้นชั้นหัวหน้าพรรค

เมื่อวันที่ 8 ธ.ค. 2566 ธนกร พงษ์ภู่ อาจารย์ประจำสำนักวิจัยสยามเทคโนโพล วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม เสนอผลสำรวจ เรื่อง หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปทุกสาขาอาชีพ จำนวน 1,741 ตัวอย่างในการวิเคราะห์ทางสถิติ ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 1 – 7 ธ.ค. 2566 

ผลสำรวจพบว่า ประชาชนร้อยละ 27.5 อยากได้หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ชื่อ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตหัวหน้าพรรคประะชาธิปัตย์ เพราะมีประสบการณ์การเมืองสูง เคยเป็นนายกรัฐมนตรี มีบารมีสูง มีความเป็นอินเตอร์ นานาชาติ ยังชื่นชอบหลักการ อุดมการณ์ มีความรู้ความสามารถ การศึกษาดี มีผลงาน ยังทำงานได้ดี เป็นต้น 

อันดับสองคือ พันโท หญิง ฐิฏา รังสิตพล มานิตกุล เพราะ เป็นคนประชาธิปัตย์ยาวนาน เป็นลูกอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการปฏิรูปการศึกษา แก้ปัญหายาเสพติดโรงเรียนวิวัฒน์พลเมือง อยากเห็นหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์เป็นผู้หญิง ผลักดันสิทธิสตรีเท่าเทียมขึ้น น่าจะคอยเชื่อมประสานคนในพรรคได้ดี ดูดีไม่มีปัญหา เป็นต้น ร้อยละ 18.0 แต่ถ้านายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ไม่ลงสมัครเป็นหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ผู้ที่ประชาชนให้อยากให้เป็นหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์มากสุดคือ พันโท หญิง ฐิฏา รังสิตพล มานิตกุล

ขณะที่ อันดับสาม คือ ร้อยละ 14.9 อยากได้ วทันยา บุนนาค เพราะ เป็นคนรุ่นใหม่ มีบุคลิกดี ถึงลูกถึงคน อยากเห็นผู้นำพรรคเป็นผู้หญิงคนแรกของพรรคประชาธิปัตย์ สื่อสารกับสังคมได้ดี มีความเป็นผู้นำสูง เฉียบคม กล้าคิดกล้าพูด เข้าถึงประชาชน เป็นต้น ร้

ร้อยละ 14.5 อยากได้ ชัยชนะ เดชเดโช สส.นครศรีธรรมราช เพราะเป็นคนเก่งการเมือง เข้าถึงประชาชน เรียบง่าย น่าเชื่อถือ มุ่งมั่นเพื่อประชาชน รู้งานรู้จริง ทำงานได้ เหมาะสมเป็นหัวหน้าพรรค เป็นต้น ร้อยละ 12.9 อยากได้ นราพัฒน์ แก้วทอง เพราะเป็นคนรุ่นใหม่ สายเลือดนักการเมือง เข้าใจงานการเมืองได้ดี เข้าถึงประชาชน บุคลิกดี พูดจาดี มีหลักการ มารยาทดี สัมมาคารวะ ไม่ยกตนข่มท่าน สุภาพนอบน้อม เป็นต้น และร้อยละ 12.2 ระบุอื่น ๆ เช่น นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน และ ไม่ตอบไม่มีความเห็น เป็นต้น

เมื่อแบ่งออกเป็นชายและหญิง พบว่า หญิงร้อยละ 28.1 อยากได้อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นหัวหน้า มากกว่า กลุ่มผู้ชายที่มีอยู่ร้อยละ 26.6 อยากได้ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นหัวหน้า ในทิศทางเดียวกันกับ พันโท หญิง ฐิฏา รังสิตพล มานิตกุล ที่ได้แรงสนับสนุนจากกลุ่มผู้หญิงร้อยละ 19.1 มากกว่า กลุ่มผู้ชาย ร้อยละ 16.4 ในขณะที่คนอื่น ๆ สัดส่วนไม่แตกต่างกัน 

เมื่อแบ่งออกตามช่วงอายุ พบว่า มาดามเดียร์ หรือ วทันยา บุนนาค และ นราพัฒน์ แก้วทอง ได้เสียงสนับสนุนจากคนรุ่นใหม่อายุน้อยกว่า 20 ปี คือ ร้อยละ 17.1 และร้อยละ 20.0 ในขณะที่ นายอภิสิทธิ เวชชาชีวะ และพันโท หญิง ฐิฏา รังสิตพล มานิตกุล ได้เสียงสนับสนุนจากกลุ่มคนสูงอายุ ตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไปคือร้อยละ 23.8 และ ร้อยละ 23.8 เท่ากัน

406442211_895167738660388_1646139477452987990_n.jpg

เมื่อแบ่งออกตามอาชีพ พบว่า ถ้าไม่นับรวม อภิสิทธิ์ เข้าวิเคราะห์ นราพัฒน์ จะได้เสียงสนับสนุนจากนักเรียน นักศึกษาสูงสุดคือร้อยละ 17.1 ชัยชนะ เดชเดโชได้ร้อยละ 15.8 และ วทันยา ได้ร้อยละ 15.3 ตามลำดับ แต่ ในกลุ่มข้าราชการ เจ้าหน้าที่รัฐ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และ พันโท หญิง ฐิฏา รังสิตพล มานิตกุล ได้เสียงสนับสนุนมากสุดคือ ร้อยละ 28.7 และร้อยละ 20.6 เช่นกันในกลุ่มผู้เกษียณอายุที่ อภิสิทธิ์ ได้ร้อยละ 32.0 และ พันโท หญิง ฐิฏา รังสิตพล มานิตกุล ได้ร้อยละ 26.7 ตามลำดับ

รายงานของสำนักวิจัยสยามเทคโนโพล ระบุด้วยว่า กลุ่มผู้มีข่าวสมัครเป็นหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ได้รับการสนับสนุนจากกลุ่มต่าง ๆ ของประชาชนแตกต่างกัน ถ้าเป็นข้าราชการ เจ้าหน้าที่รัฐ และกลุ่มเกษียณอายุ จะสนับสนุน อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และ พันโท หญิง ฐิฏา รังสิตพล มานิตกุล

แต่ถ้าเป็นกลุ่มคนรุ่นใหม่อายุน้อยและกลุ่มนักเรียนนักศึกษาจะสนับสนุน วทันยา บุนนาค นราพัฒน์ แก้วทอง และนายชัยชนะ เดชเดโช ตามคุณสมบัติเหตุผลของแต่ละคนที่แตกต่างกัน จึงเสนอให้นำจุดแข็งของผลงานพรรคประชาธิปัตย์ในอดีตช่วงวัยของคนเกษียณอายุมาเป็นจุดขายมากกว่าไปแย่งแข่งขันในกลุ่มลูกค้าฐานเสียงที่อิ่มตัวเช่นกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่ฝังใจไปกับพรรคอื่น ๆ แล้ว

406198449_373960288373695_3410335127741605138_n.jpg