ในวันพุธที่ผ่านมา (14 ธ.ค.) สถาบันวิจัยยุทธศาสตร์และการระหว่างประเทศ (CSIS) กล่าวว่า การถมที่ในหมู่เกาะสแปรตลีย์โดยเวียดนาม ซึ่งเป็นดินแดนพิพาทระหว่างจีน เวียดนาม และประเทศอื่นๆ นั้น ได้สร้างดินแดนใหม่ประมาณ 1.7 ตารางกิโลเมตร โดยหากรวมดินแดนทั้งหมดที่เวียดนามถมขึ้นใหม่ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา จะมีพื้นที่ถึง 2.2 ตารางกิโลเมตร
“แม้การถมทะเลของเวียดนามจะถือว่าน้อยกว่าจีนที่ถมทะเลกว่า 32 ตารางกิโลเมตรระหว่างปี 2556-2559 มาก แต่ก็ถือว่ามากกว่าที่เวียดนามเคยทำ และชี้ให้เห็นว่าเวียดนามมีความพยายามที่จะบังคับใช้อำนาจของตนในหมู่เกาะสแปรตลีย์” รายงานของสถาบัน CSIS ระบุ
ผู้บัญชาการทหารระดับสูงของสหรัฐฯ กล่าวในวันอาทิตย์ที่ผ่านมา (11 ธ.ค.) ว่า โครงสร้างและอาคารต่างๆ ที่จีนสร้างขึ้นบนเกาะเทียมในหมู่เกาะสแปรตลีย์ ถูกค้นพบในวันที่ 20 มี.ค. 2565 โดยจีนได้นำทหารมาประจำการบน 3 เกาะที่ถูกสร้างขึ้น ทหารเหล่านี้ติดตั้งขีปนาวุธต่อสู้อากาศยานและเรือรบ รวมทั้งมีเครื่องบินเจ็ทอีกด้วย ความเคลื่อนไหวดังกล่าวของจีนเป็นภัยคุกคามต่อทุกประเทศที่ปฏิบัติการในบริเวณใกล้เคียง
สถาบันวิจัยยุทธศาสตร์และการระหว่างประเทศกล่าวว่า ฐานทัพขนาดกลางของเวียดนามบนเกาะนัมยิต เพียร์สันรีฟ และแซนด์เคย์ กำลังมีปฏิบัติการขยายดินแดนอยู่ในขณะนี้ ทั้งนี้ มีการขุดลอกบริเวณท่าเรือให้สามารถจอดเรือขนาดใหญ่ได้ในบริเวณเกาะนัมยิตและเพียร์สันรีฟ
เกาะนัมยิต (4.7 ตร.กม.) และเพียร์สันรีฟ (4.8 ตร.กม.) ในขณะนี้มีขนาดใหญ่กว่าเกาะสแปรตลีย์ (3.9 ตร.กม.) แล้ว ในขณะที่เทนเนนท์รีฟซึ่งแต่เดิมเป็นที่ตั้งของอาคารขนาดเล็กเพียง 2 อาคารนั้น ขณะนี้มีพื้นที่ 2.6 ตร.กม.
สถาบันวิจัยกล่าวว่า เวียดนามใช้เครื่องมือขุดเจาะขุดส่วนของโขดหินที่อยู่ในเขตน้ำตื้นขึ้น เพื่อวางวัสดุที่ใช้ในการถมที่ ซึ่งเป็นกรรมวิธีที่สร้างความเสียหายน้อยกว่าการขุดเจาะแบบดูดแร่ที่จีนใช้ในการสร้างเกาะเทียมของตน
“การขุดลอกและถมทะเลของเวียดนามในปี 2565 มีความสำคัญและเป็นเครื่องบ่งชี้ว่า เวียดนามมีความตั้งใจ ที่จะเสริมความแข็งแกร่งในบริเวณที่ตนครอบครองบนหมู่เกาะสแปรตลีย์” รายงานระบุ “ไม่ว่าจะมีโครงสร้างใดถูกสร้างขึ้นบนเกาะเหล่านั้น มันจะถูกค้นพบ และหากจีนหรือคู่กรณีฝ่ายใดมีการโต้ตอบ พวกเราจะติดตามเช่นกัน”
จีนอ้างการครอบครองดินแดนส่วนใหญ่ในทะเลจีนใต้ และสร้างเกาะเทียมขึ้นในพื้นที่เหล่านั้น ในขณะที่ไต้หวัน เวียดนาม มาเลเซีย บรูไน และฟิลิปปินส์ มีพื้นที่ที่กล้าวอ้างสิทธิในทะเลที่ทับซ้อนกัน ทั้ง นี้พื้นที่เหล่านั้นเป็นทางผ่านของเรือขนส่งสินค้าหลายสาย และมีแหล่งก๊าซธรรมชาติ รวมถึงแหล่งจับปลาที่อุดมสมบูรณ์
ที่มา: