ไม่พบผลการค้นหา
โจ ไบเดน ลงนามคำสั่งประธานาธิบดีหลายฉบับ ออกคำสั่งให้กระทรวงกลาโหม มหาดไทย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมุ่งเป้าออกมาตรการและนโยบายจัดการวิกฤตโลกร้อน ด้านผู้เชี่ยวชาญชี้ หลายชาติมหาอำนาจอย่างจีนและรัสเซียอาจพลิก 'วิกฤต' นี้เป็น 'อาวุธ'

โจ ไบเดน ประธานาธิบดีสหรัฐฯ เดินหน้าลงนามคำสั่งประธานาธิบดี 'Executive Order' อย่างต่อเนื่อง ล่าสุดคือการ ลงนามคำสั่งหลายฉบับเพื่อเป็นการรับมือปัญหาสภาพภูมิอากาศโลก และยกให้เป็นปัญหาความมั่นคงของชาติอันดับต้น มีการระบุถึงจุดประสงค์ในการชะลอการให้สัมปทานใหม่ของโครงการขุดเจาะน้ำมันและแก๊สธรรมชาติ และการตั้งเป้าการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากแรงลมนอกชายฝั่งเพิ่มเป็น 2 เท่าให้ได้ในปี 2030 และในปีเดียวกันนั้น ไบเดนตั้งเป้าไว้ว่าสหรัฐฯ จะต้องสามารถรักษาพื้นที่บนบกและมหาสมุทรของชาติให้ได้อย่างน้อย 30%

โรงงาน ควัน ก๊าซคาร์บอน โลกร้อน.jpg

ผู้นำสหรัฐฯ ชี้ว่าการรอคอยอันยาวนานในการจัดการกับวิกฤตนี้อย่างจริงจังได้จบสิ้นลงแล้ว และวันที่ 27 ม.ค.คือวันสภาพภูมิอากาศ 'Climate Day' ของทำเนียบขาว และสหรัฐฯ จะต้องทำหน้าที่เป็นผู้นำในการจัดการกับวิกฤตภูมิอากาศของโลก พร้อมย้ำกับทีมงานทุกคนว่า นโยบายทุกอย่างจะต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานของหลักการทางวิทยาศาสตร์ และทุกการตัดสินใจต้องมาจาก 'หลักฐานที่เป็นรูปธรรม' เท่านั้น 

แน่นอนว่าคำสั่งนี้ถูกล้มล้างได้โดยประธานาธิบดีคนต่อไป เช่นเดียวกับการที่ไบเดนกำลังล้มล้างนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมของทรัมป์ในขณะนี้


หลายชาติมหาอำนาจจ่อพลิก 'วิกฤต' เป็น 'อาวุธ'

ผู้เชี่ยวชาญด้านสิ่งแวดล้อมอย่าง เชอร์รี กูดแมน อดีตรองผู้ช่วงเลขานุการด้านการป้องกันความมั่นคงทางสิ่งแวดล้อมของสหรัฐฯ ให้สัมภาษณ์พิเศษกับ The Verge ว่า ความเสี่ยงทางสิ่งแวดล้อมและภูมิศาสตร์่ทางการเมืองทวีความรุนแรงขึ้นมาก และในอนาคตอันใกล้ วิกฤตการณ์ทางสิ่งแวดล้อมจะถูกใช้อย่างรอบคอบ ในฐานะ 'อาวุธ' ของบรรดาชาติมหาอำนาจ เพื่อให้ได้มาซึ่งผลประโยช์มากมายและทรัพยากรทางธรรมชาติ

กูดแมน ปัจจุบันทำหน้าที่ที่ปรึกษาอาวุโสให้กับสถาบันด้านสิ่งแวดล้อม Wilson Center’s Environmental Change and Security Program and Polar Institute ชี้ว่าอุณหภูมิของขั้วโลกเหนืออุ่นขึ้น 2-3 เท่าเมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยของโลก โดยขณะนี้พื้นที่ในไซบีเรียมีอุณภูมิสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ แตะที่ 38 องศาเซียลเซียสไปเรียบร้อย น้ำแข็งขั้วโลกละลายอย่างมหาศาล จนมนุษย์สามารถเดินเรือผ่านได้แล้วในหลายพื้นที่ 

AP-โลก-นาซ่า-อวกาศ-สภาพอากาศ-มหาสมุทร-ธารแข็ง-ขั้วโลกเหนือ-อาร์กติก-arctic

ความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นคือการที่หลายชาติจ้องที่จะใช้โอกาสนี้ ในการสร้างยุทธศาสตร์ด้านความมั่นคง ยกตัวอย่างเช่น รัสเซีย เริ่มที่จะเข้าไปประจำการอยู่ในพื้นที่ของขั้วโลกเหนือ เพื่อประโยชน์ทั้งทางด้านของเศรษฐกิจ สร้างเส้นทางการขนส่งระหว่างท่าเรือของเอเชียและยุโรป โดยใครก็ตามที่ต้องการเดินทางผ่านเส้นทางดังกล่าวต้องเสีย 'ค่าผ่านทาง' และอีกอย่างหนึ่งก็คือผลประโยชน์ทางการทหาร 

ขณะที่ประเทศเศรษฐกิจอันดับสองของโลกอย่าง จีน วางวิสัยทัศน์อย่างชัดเจนในเรื่องของเส้นทางสายไหมใหม่ผ่านขั้วโลก เตรียมความพร้อมที่จะให้โอกาสที่นำแข็งขั้วโลกเริ่มละลาย เปิดเส้นทางผ่านขั้วโลก พร้อมผลักดันโครงการศึกษาวิจัยทางวิทยาศาสตร์อย่างต่อเนื่อง