1. การพิสูจน์ข้อเท็จจริงจากเหตุสลายการชุมนุมกลุ่มนปช. เมื่อปี 2553 มีการศึกษารวบรวมข้อมูลข้อเท็จจริงจากรายงานทั้งสิ้น 3 ฉบับ มีเพียงฉบับเดียวที่่รายงานว่า การใช้กำลังโดยคำสั่งศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) เป็นการกระทำที่เกินกว่าเหตุ คือ รายงานของศูนย์ข้อมูลประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากการสลายการชุมนุมกรณี เม.ย.- พ.ค. 2553 (ศปช.) ได้รวบรวมตัวเลขเกี่ยวกับการสลายการชุมนนุมระหว่างเดือน เม.ย.-พ.ค. 2553 ไว้ในบทที่ 6 วิเคราะห์การใช้กำลังเกินกว่าเหตุในการสลายการชุมนุม ในหน้าา 498 ระบุว่า "ส่วนใหญ่เกิดจากการใช้กระสุนจริง โดยไม่เพียงพุ่งเป้าไปยังพลเรือนเป็นหลัก แต่ยังเป็นการยิงเล็งไปยังจุดสําคัญของร่างกายเพื่อหมายให้ถึงแก่ชีวิต (Shoot to kill) ในบรรดาพลเรือนทีเสียชีวิตทั8งหมด ไม่มีรายใดที่พบอาวุธร้ายแรงข้างกายหรือรอยเขม่าปืนขณะเสียชีวิต"
และหน้า 513 ระบุว่า "รัฐบาลและ ศอฉ. ยังได้ใช้กําลังที่ไม่ได้สัดส่วนกับสถานการณ์และขัดแย้งกับหลักมนุษยธรรมอย่างสิ้นเชิง การบาดเจ็บล้มตายที่เกิดขึ้นจึงถือเป็นอาชญากรรมที่รัฐกระทําต่อประชาชน (state crimes) จําเป็นทีรัฐบาลผู้สั่งการต้องแสดงความรับผิดชอบอย่างไม่อาจปฏิเสธได้"
ส่วน รายงานผลการตรวจสอบเพื่อมีข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย กรณีเหตุการณ์การชุมนุมของกลุ่มนปช. ระหว่างวันที่ 12 มี.ค. - 19 พ.ค. 2553 ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน (กสม.) จำนวน 92 หน้า สรุปว่า ผลจากการตรวจสอบข้อเท็จจริงที่ปรากฏ การปฏิบัติทั้งสองฝ่ายมีการกระทำที่เป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน ในหน้า 85 ระบุว่า "ในการชุมนุมที่ยกมาข้างต้น จะเห็นได้ว่า การใช้สิทธิและเสรีภาพในการชุมนุมของผู้ชุมนุมบางส่วนนั้น มีการใช้สิทธิและเสรีภาพเกินขอบเขตที่ได้บัญญัติรองรับไว้ตามรัฐธรรมนูญ และแม้รัฐบาล โดย ศอฉ. ได้ใช้กำลังทหารเข้ามาควบคุมความสงบเรียบร้อยที่เกิดขึ้นโดยอาศัยอำนาจตามกฎหมาย แต่ก็มิอาจรักษาความสงบเรียบร้อยหรือยับยั้ง มิให้เกิดความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สิน จึงเห็นได้ว่า มาตรการที่รัฐได้เข้าไปดำเนินการนั้น ยังมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ไม่เพียงพอต่อการควบคุมสถานการณ์การชุมนุมที่เกิดขึ้น"
ซึ่งสอดคล้องกับ รายงานฉบับสมบูรณ์คณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (คอป.) จำนวน 268 หน้า ที่ตั้งขึ้นสมัยรัฐบาลอภิสิทธิ์ ให้รายละเอียดพาดพิงถึง พฤติการณ์ของคนชุดดำที่ใช้ความรุนแรงและอาวุธสงคราม โดยปรากฏตัวอยู่ในพื้นที่ชุมนุม และกองกำลังไม่ทราบฝ่าย คือต้นเหตุเปิดฉากความรุนแรง โดยระบุในน. 157 ว่า "ใช้อาวุธปืนสงครามยิงไปในทิศทางที่ทหารปฏิบัติหน้าที่อยู่บนถนนตะนาวและถนนข้าวสาร"
2. ข้อมูลที่ลงลึกในรายละเอียดการจัดวางกำลังของเจ้าหน้าที่ทหารและตำรวจในการรับมือการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดงเมื่อ10 ปีที่ผ่านมา ถูกบันทึกไว้ในนรายงานของ ศปช. ดังนี้
117,923 คือจำนวนนัดของกระสุนที่เจ้าหน้าที่ใช้ในการสลายการชุมนุม 3,000 คือ กระสุนสำหรับการซุ่มยิงที่กองทัพเบิกไป (2,120 คือกระสุนที่ใช้ และ 880 คือกระสุนที่ส่งคืน)
ส่วนงบประมาณ 700,000,000 คืองบที่ตำรวจใช้กับกำลังพล 25,000 นาย และ 3,000,000,000 คืองบที่ทหารใช้กับกำลังพล 67,000 นาย
สถิติจากความรุนแรงที่จะเป็นไปด้วยความสูญเสีย ได้แก่ 1,283 คือจำนวนผู้ได้รับบาดเจ็บทั้งหมด 1,763 คือจำนวนคนที่ถูกจับกุมระหว่างการชุมนุมและถูกดำเนินคดี 94 คือ จำนวนคนเสียชีวิตโดย 10 คน คือเจ้าหน้าที่รัฐที่เสียชีวิต (ส่วนใหญ่เป็นทหาร ในจำนวนนี้มีตำรวจ 3 นาย)
2 คน คือสื่อมวลชนที่เสียชีวิต (สัญชาติญี่ปุ่นและอิตาลี)
6 คน คืออาสากู้ชีพ/อาสาพยาบาลที่เสียชีวิต 32 คน คือผู้เสียชีวิตที่โดนยิงที่ศีรษะ และ12 คืออายุของผู้เสียชีวิตที่อายุน้อยที่สุด
สำหรับสถานที่เกิดเหตุจนมีผู้เสียชีวต พบว่าเกิดขึ้น ณ สี่แยกคอกวัว ถนนดินสอ สวนสัตว์เขาดิน ถนนพระราม4 ถนนราชปรารภ ถนนราชดำริ และวัดปทุมวนารามราชวรวิหาร
3. แม้พยานข้อมูลหลักฐานจะครบถ้วน แต่ช่องทางการต่อสู้คดีสลายการชุมนุมกลุ่มนปช.ดูเหมือนเดินมาถึงทางตัน เมื่อปี 2560 ศาลฎีกามีคำสั่งในคดีหมายเลขดำ อ.4552/2556 และ อ.1375/2557 ยืนตามศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ยกฟ้อง ศาลยุติธรรมไม่มีขอบเขตอำนาจ ต้องให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. ดำเนินการไต่สวนข้อเท็จจริงและสรุปผลทั้งความเห็นการดำเนินคดีอาญาไปยังศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
และก็อย่างที่ทราบกันดี ในปี 2561 คณะกรรมการ ป.ป.ช.ยืนกราน ระบุไม่มีหลักฐานใหม่ ขอยืนยันมติเดิมที่เคยวินิจฉัยไปเมื่อปี 2558 คือ ยกคำร้อง
4. ทว่าอดีตผู้พิพากษาผู้รักความเป็นธรรม อย่างนางสมลักษณ์ จัดกระบวนพล อดีตกรรมการ ป.ป.ช.และรองประธานศาลฎีกา ยังเห็นต่าง โดยเชื่อว่า กระบวนการหาความเป็นธรรมให้ญาติผู้เสียชีวิต 99 ศพ และสังคมไทย ยังมีความเป็นไปได้ คือ ให้ดีเอสไอแล้วให้ฟ้องเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติว่า ทำเกินกว่าเหตุหรือไม่ เพราะเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติการสามารถให้การซัดทอดผู้บังคับบัญชาที่สั่งการได้ โดยตามกฎหมายอาญาก็คุ้มครองเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติการไว้ว่า
"หากผู้บังคับบัญชาออกคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายแล้วผู้ปฏิบัติการเข้าใจว่าคำสั่งนั้นชอบด้วยกฎหมาย ผู้ปฏิบัติการมีความผิดจริงแต่ไม่ต้องถูกลงโทษ"
5. หลักฐานสำคัญที่จะพิสูจน์ความยุติธรรมตามแนวทางข้างต้นให้ปรากฏในอนาคตด้วยการฟ้องเจ้าหน้าที่ชุดปฏิบัติการเพื่อซัดทอดคนสั่งการคงหนีไม่พ้น ผลไต่สวนการไต่สวนชันสูตรการตายของผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 23 ราย ชี้ชัดว่า มาจาการกระสุนของเจ้าหน้าที่ที่เข้าปฏิบัติการในที่เกิด ดังนี้
1. นายฮิโรยูกิ มูราโมโต้ 2. นายวสันต์ ภู่ทอง 3.นายทศชัย เมฆงามฟ้า 4. นายจรูญ ฉายแม้น 5.นายสยาม วัฒนานุกูล 6. นายเกรียงไกร คำน้อย 7.นายชาติชาย ซาเหลา 8. นายบุญมี เริ่มสุข 9.นายปิยะพงษ์ กิติวงศ์ 10. นายประจวบ ศิลาพันธ์
11. นายสมศักดิ์ ศิลารักษ์ 12.นายชาญณรงค์ พลศรีลา 13. นายพัน คำกอง 14. ด.ช.คุณากร ศรีสุวรรณ 15. นายถวิล คำมูล 16. นายฟาบิโอ โปเลงกี 17. นายนรินทร์ ศรีชมพู 18. นายสุวัน ศรีรักษา 19. นายอัฐชัย ชุมจันทร์ 20. นายมงคล เข็มทอง 21. นายรพ สุขสถิต 22. น.ส.กมนเกด อัคฮาด 23. นายอัครเดช ขันแก้ว
6. นอกจากยังไม่ได้รับความเป็นธรรม ความสูญเสียดังกล่าวที่นำไปสู่การออกมาตรการเยียวยาในสมัยรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ที่ได้อนุมัติการจ่ายเงินเยียวยาให้ผู้ได้รับผลกระทบจากการชุมนุมทางการเมืองระหว่างปี 2548-2553 วงเงินประมาณ 1.9 พันล้านบาท ก็กลับถูกฟ้องร้องและอยู่ระหว่างการพิจารณาคดีของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เนื่องจากไม่มีกฎหมายมารองรับ สร้างความคับแค้นและคับข้องใจให้แก่ญาติวีรชน และประชาชนที่ผู้รักความเป็นธรรม ที่เสมือนถูกซ้ำเติม จากความอยุติธรรมที่ยังไม่ได้รับการพิสูจน์เพื่อนำตัวคนผิดมาลงโทษ อีกทั้ง เงินเยียวยาผู้เสียชีวิตรายละ 7.5 ล้านบาท ก็ไม่อาจแลกความสูญเสียที่ไม่มีวันหวนคืนกลับมาได้
7. หากไล่เรียงไทม์ไลน์การต่อสู้คดีของทีมทนายกลุ่มคนเสื้อแดง และญาติวีรชน จะพบว่า เป็นไปอย่างล่าช้า และพบว่า ต้องเผชิญกับทางตัน ในช่วง คสช. เรืองอำนาจ ระหว่างปี 2557-2562 ดังนี้
ปี 2557 ศาลชั้นต้นยกฟ้อง "อภิสทธิ์-สุเทพ" ฟ้องผิดศาล
ปี 2558 ป.ป.ช.ยกฟ้อง "อภิสทธิ์-สุเทพ-อนุพงษ์" สลายแดงตามหลักสากล!
ปี 2559 ศาลอุทธรณ์ยืนตามศาลชั้นต้น
ปี 2560 ศาลฎีกายืนยกคำร้อง ดับฝันคดี99ศพตามกลไกปกติ
ปี 2561 ป.ป.ช.ยืนกรานไม่อุทธรณ์สลายแดง-นายพลเดินแรงล้มคดี
8.ไม่เพียงเท่านั้น เมื่อพิจารณาไทม์ไลน์ประกอบตัวละคร ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการสลายการชุมนุมเมื่อปี 2553 ม็อบกปปส.ปูทางอำนาจนอกระบบยึดอำนาจนอกระบบเมื่อปี 2557 จนถึงรัฐบาลชุดปัจจุบัน ก็ยิ่งพบความสืบเนื่องเชื่อมโยง ดังนี้
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา รองผบ.ทบ. หัวหน้าคสช.รัฐประหาร 2557 เป็นนายกรัฐมนตรี 2 สมัย สืบทอดอำนาจอาศัยเสียง 250 ส.ว.แต่งตั้ง นั่งนายกรัฐมนตรีสมัยที่ 2 อีกครั้ง
พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รมว.กลาโหม และรองผอ.ศอฉ. สู่รองหัวหน้าคสช. ต่อด้วยรองนายกฯ และประธานยุทธศาสตร์พรรคพปชร.
พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผบ.ทบ. ผช.ผอ.ศอช. ต่อเนื่องถึง รองหัวหน้าคสช.ควบรมว.มหาดไทยทั้งก่อนและหลังการสืบทอดอำนาจ
พล.อ.อภิรัชต์ คงสมพงษ์ ผบ.ร. 11 รอ. สู่รองผบ.ทบ.และส.ว.
พล.ท.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษก ศอฉ. ฝากผลงานประดิษฐ์ผังล้มเจ้า หลังการรัฐประหาร 2557 ได้รับการแต่งตั้งเป็นอธิการบดีกรมประชาสัมพันธ์
พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รองเสนาธิการทบ. ร่วมหัวจมท้ายคสช. ควบรมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และองคมนตรี
พล.อ.กัมปนาถ รุดดิษฐ์ ผบ.พล.1รอ. หลังรัฐประหารได้ปูนบำเหน็จนั่งสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) และปัจจุบันเป็นองคมนตรี
สุเทพ เทือกสุบรรณ ผอ.ศอ. ภายหลังเคลื่อนไหวล้มรัฐบาลยิ่งลักษณ์ในตำแหน่งเลขาธิการกปปส. ขัดขวางการเลือกตั้ง 2 ก.พ. 2557 ทำทางเรียกทหารออกมายึดอำนาจล้มรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ตระบัดสัตย์ หวนเล่นการเมือง ร่วมก่อตั้งพรรครวมพลังประชาชาติไทย (รปช.) ร่วมรัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์
อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีเมื่อปี 2553 ในฐานะคู่ขัดแย้งม็อบ นปช.ที่เรียกร้องให้ยุบสภา มีวาทะให้สัมภาษณ์สื่อบีบีซีเกี่ยวกับเหตุสลายการชุมนม unfortunately, some people died (โชคไม่ดีที่มีคนตาย) ต่อมาได้ร่วมขบวนเป่านกหวีดกับกปปส. ระหว่างรัฐประหารคสช. 5 ปี ไร้บทบาทเด่นชัด ขึ้นแท่นแคนดิเดตนายกฯพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) ก่อนลาออกจากส.ส.เมื่อ ปชป.เข้าร่วมรัฐบาล
9. สวนทางกับฝากฝั่งของกลุ่มผู้ชุมนุมที่ได้รับกระทบอย่างต่อเนื่อง ไล่เรียงจาก นายจตุพร พรหมพันธุ์ อดีตประธาน นปช. จำคุก 1 ปี ไม่รอลงอาญา ฐานหมิ่นประมาทนายอภิสิทธิ์ อยู่เบื้องหลังการสั่งการทำให้ผู้ชุมนุม นปช. เสียชีวิตจำนวนมาก
เช่นเดียวกับแกนนำลำดับรอง เช่น นายสำเริง ประจำเรือ นายสมญศฆ์ พรหมมา นพ.วัลลภ ยังตรง และนายสิงห์ทอง บัวชุม ก็ได้รับชะตากรรมไม่ต่างกัน ต้องโทษจำคุก 4 ปีไม่รองลงอาญา ฐานเคลื่อนไหวทางการเมืองต่อต้านรัฐบาลนายอภิสิทธิ์โดยการบุกล้มการประชุมอาเซียนที่พัทยา
ฟากญาติผู้วีรชน 99 ศพ อย่าง พันธ์ศักดิ์ ศรีเทพ หรือพะเยาว์ อัคฮาด ก็พบชะตากรรมไม่แตกต่าง เดินหน้าเรียกร้องทวงถามหาความยุติธรรมอย่างต่อเนื่อง ว่ากันว่ามีอำนาจนอกระบบเดินสายวิ่งเต้นล้มคดี 99 ศพ ที่ผลไต่สวนการชันสูตรพลิกศพชี้ชัดว่า มาจากเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติการจ่อคอหอยอยู่ มิหนำซ้ำการเคลื่อนไหวรือทำกิจกรรมทางการเมือง กลับโดนจับจ้องละเมิดสิทธิขั้นพื้นฐาน สอดแนมโดยหน่วยงานความมั่นคง พร้อมทั้งแจงข้อกล่าวหาอีกนับไม่ถ้วน
สำหรับแกนนำพลิกขั้ว ตบเท้าร่วมพรรคพลังประชารัฐ อย่าง พ.ต.ท.ไวพจน์ อาภรณ์รัตน์ 1 ในจำเลยคดีข้างต้น ได้รับการเลื่อนเข้ารับฟังข้อกล่าวหา ต้องออกหมายจับ แต่ยังไร้เงา ทั้งที่กลางปี 2562 ยังปรากฎตัวในนามส.ส.พรรคพลังประชารัฐ ถูกชี้สิ้นสภาพ ส.ส.แต่ส่งลูกชายชนะการเลือกตั้งซ่อมหรืออย่าง ส่วนนายสุภรณ์ อัตถาวงศ์ หรือแรมโบ้อีสาน ก็ได้ดิบได้ดี รับตำแหน่งข้าราชการการเมือง ในสำนักนายกรัฐมนตรี ในตำแหน่งผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำนายกรัฐมนตรี
10. ฝ่ายการเมืองอย่างคณะก้าวหน้าและภาคประชาชน ยังคงเคลื่อนไหวเดินหน้าทวงคืนความยุติธรรมจากเหตุสังหารหมู่ดังกล่าว แม้เวลาจะผ่านไปนับทศวรรษ หวังยุติวัฒนธรรมลอยนวลพ้นผิดในสังคม ด้วยการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่อย่างเลเซอร์ ฉายข้อความเข้าไปยังพื้นที่ที่เกิดความสูญเสีย เช่น วัดปทุมวนาราม หรือหน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องอย่างกระทรวงกลาโหม พร้อมใช้กระแสโซเชียลมีเดีย ติดแฮชแท็ก #ตามหาความจริง ในทวิตเตอร์ที่มียอดรีทวิตมากกว่า 1 ล้านครั้ง เพื่อส่งเสียงไปยังผู้มีอำนาจและมีผู้มีส่วนร่วมในเหตุสลดว่า สังคมไทยยังไม่ลืม และพร้อมนำตัวผู้กระทำผิดมาลงเพื่อก่อให้เกิดให้ความเป็นธรรมต่อไป
อ้างอิง
ข่าวที่เกี่ยวข้อง