การเข้ามาของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ' (คสช.) ที่นำโดยพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้า คสช.และดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในปัจจุบัน ใกล้ครบเวลา 4 ปี ในวันที่ 22 พฤษภาคมนี้แล้ว
แม้ว่าจะการประกาศว่า ภายใต้การบริหารของคสช. ต้องปราศจากการคอร์รัปชันไม่ซ้ำรอยในอดีต ถึงขั้นยกเป็นวาระแห่งชาติ
แต่สิ่งเกิดขึ้นตลอด 4 ปีผ่านมา ในวันที่นักการเมืองถูกตีตรวนด้วยคำสั่งหัวหน้า คสช. กลับปรากฎกรณีทุจริตคอร์รัปชันภายในหน่วยงานของรัฐหลายกรณี
'วอยซ์ ออนไลน์' รวบรวมมหากาพย์การโกงในยุคคสช. ที่สังคมตั้งคำถามว่าเหตุผลในการเข้ามายึดอำนาจ 'เพื่อปราบโกง' อาจเป็นเพียงข้ออ้าง หรืออีกนัยหนึ่งคือเครื่องมือจัดการฝ่ายตรงข้าม
รวมมิตรคดี 'บิ๊กทหาร' ถูกตรวจสอบทุจริต
เมื่อคนในรัฐบาลถูกตรวจสอบด้วยคดีร้อนๆ และสังคมให้ความสนใจไม่ว่าจะเป็นตัวนายกรัฐมนตรี หรือ 'พี่ใหญ่' อย่างพลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีกลาโหม ที่กลายเป็นตำบลกระสุนตก ที่ถูกเพ่งเล็งจากประชาชน ด้วยกรณี 'แหวนเพชร - นาฬิกาหรู' รวมถึงกรณีอุทยานราชภักดิ์ และกรณีจัดซื้อเครื่องตรวจระเบิด จีที 200 มาดูกันว่าบิ๊กทหารจะมีคดีอะไรและผลของการตรวจสอบอย่างไร
พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคสช.
พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
พลเอกอนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
พลเอกปรีชา จันทร์โอชา อดีตปลัดกระทรวงกลาโหม
พลเอกอุดมเดช สีตบุตร อดีตผู้บัญชาการทหารบก-อดีตรมช.กลาโหม
มหากาพย์ 'คดีโกงเงินคนจน' ขรก. ส่อทุจริต 217 คน
ฟากข้าราชการก็ถูกเปิดโปงการโกงครั้งใหญ่เกือบทุกพื้นที่ทั่วประเทศ โดยมีเจ้าหน้าที่สังกัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.)ที่เข้าไปพัวพันถึง 217 ราย โดยมีไทม์ไลน์หลังจากน.ส.ปณิดา ยศปัญญา หรือ น้องแบม นิสิตชั้นปีที่ 4 สาขาพัฒนาชุมนุม คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม และเจ้าหน้าที่ศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่งจังหวัดขอนแก่น พบความไม่ชอบมาพากล จนนำไปสู่การตรวจสอบเจ้าหน้าที่หน่วยงานดังกล่าวทั่วประเทศ
กระทั่งพบความผิดปกติในการเบิกจ่ายงบประมาณ จำนวน 67 จังหวัด รวมวงเงิน 129,507,000 บาท นอกจากนี้แล้วยังมีการตรวจสอบไปยังนิคมสร้างตนเองฯ จำนวน 6 แห่ง สถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง จำนวน 1 แห่ง ศูนย์พัฒนาราษฎรบนพื้นที่สูง จำนวน 1 แห่ง และศูนย์ประสานงานโครงการหมู่บ้านสหกรณ์ จำนวน 1 แห่ง รวมวงเงินงบประมาณทั้งสิ้น 134,697,000 บาท
ขบวนการงาบ 'กองทุนเสมาฯ' ดับฝันเยาวชน
ด้านวงการการศึกษาก็มีการทุจริตเกิดขึ้นเช่นเดียวกัน แม้ว่า 'กองทุนเสมาพัฒนาชีวิต' ซึ่งเป็นกองทุนที่มีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือและมอบโอกาสทางการศึกษาแก่เด็กเยาวชนที่ยากไร้ แต่ก็มิวายมีการทุจริตงบดังกล่าว นานนับเป็นเวลา 10 ปี โดยมีข้าราชการระดับซี 8 ชื่อนางรจนา สินที นักวิเคราะห์นโยบายและแผน ชำนาญการพิเศษ สำนักส่งเสริมกิจการการศึกษา ที่ยักยอกเงินตั้งแต่ปี 2551-2561 รวมกว่า 88 ล้านบาท โดยโอนผ่านบัญชีรวม 22 บัญชี
อย่างไรก็ตาม ภายหลังการถูกตรวจสอบคณะอนุกรรมการข้าราชการพลเรือน (อ.ก.พ.) สำนักปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ลงมติเป็นเอกฉันท์ ให้ลงโทษ นางรจนา ด้วยการไล่ออกจากราชการ เนื่องจากเป็นผู้ประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง ไม่ปฏิบัติตามระเบียบราชการ รายงานเท็จต่อผู้บังคับบัญชา ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ จนสร้างความเสียหายให้แก่ราชการ และยังคงมีการสอบสวนต่อไปสำหรับกรณีดังกล่าว
อ่านเพิ่มเติม :