ปัจจุบันประชากรในสังคมไทยต่างสามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้กว่า 80 เปอร์เซ็นต์ วิถีชีวิตของคนในสังคมอยู่ในโลกของเทคโนโลยีดิจิทัลมากขึ้น และในโลกที่เต็มไปด้วยชุดข้อมูลที่หลากหลายนี้เอง ความตระหนักรู้และความรู้เท่าทันในการสื่อสารในโลกดิจิทัลของคนไทยมีมากน้อยแค่ไหนและเราจะสามารถอยุ่ในโลกดิจิทัลให้ปลอดภัยได้อย่างไร อินเตอร์นิวส์ ร่วมกับกระทรวงกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมและเครือข่ายพลเมืองเน็ต นำเราไปพูดคุยเกี่ยวกับสถานการณ์ในโลกยุคดิจิทัลในไทยปัจจุบัน
ความจำเป็นของสร้างความตระหนักรู้(Digital literacy)และเท่าทันดิจิทัลในประเทศไทยเป็นอย่างไร?
ดร.รัฐศาสตร์ กรสูต รองผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กล่าวว่า ทุกวันนี้ดิจิทัลได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิต มันทำให้สังคมเปลี่ยนรูปแบบเป็นในเชิงดิจิทัลมากขึ้น การที่จะปรับปรุงให้สังคมไทยเข้าไปสู่สังคมดิจิทัลได้ต้องปรับแนวคิดและเปลี่ยนวิถีชีวิตของคนในสังคมซึ่งสังคมไทยยังเริ่มช้า และความรู้เท่าทันดิจิทัลยังมีน้อย ปัจจุบันรัฐได้โฟกัสใน 3 ด้านหลัก คือ
1. ในด้านเศรษฐกิจ การสร้างเศรษฐกิจให้เป็นดิจิทัล ผลักดันไทยแลนด์4.0 การสร้างมูลค้าเพิ่มและการหานวัตกรรมใหม่ๆมาทำงานในเชิงเศรษฐกิจมากขึ้น
2. ในด้านสังคม การใช้ดิจิทัลในการเพิ่มมูลค่าการใช้ชีวิตเพื่อยกระดับให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น
3. การใช้ดิจิทัลเพื่อการใช้ชีวิต จะเป็นเรื่องของการแพทย์ เป็นเรื่องของการรับสื่อสาร เป็นเรื่องของการป้องกันตัวเองจากภัยคุกคามต่างๆ รวมไปถึงข่าวที่ไม่เป็นความจริง
ไกรก้อง ไวทยากร ผู้อำนวยการสถาบันเทคโนโลยีเพื่อนวัตกรรมสังคม กล่าวว่า ถ้ามองจากสถิติล่าสุด จะเห็นว่าประชากรที่ใช้อินเทอร์เนตในไทยปัจจุบันเพิ่มสูงขึ้น ยอดการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต 80เปอร์เซ้นของประชากร ทุกกลุ่มทุกวัยสามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แต่ทั้งนี้ต้องกลับมาดูว่าการเข้าถึงและการใช้งานของคนแต่ละกลุ่มนั้นแตกต่างกันอย่างไร มีการสร้างความปลอดในการใช้งานได้แค่ไหน จากรายงานวิจัยของธนาคารโลกที่กล่าวถึงการเปลี่ยนผ่านรุปแบบการใช้งาน (transform) กับ การเปลี่ยนเครื่องมือการใช้งานให้เป็นดิจิทัล(transition) ทั้งนี้หลายประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้เกิดการเปลี่ยนในแบบ transform ไปสู่การใช้งานรูปแบบดิจิทัลเต็มตัวทั้งการทำธุรกรรม ทั้งการหาข้อมูลอื่นๆ อย่างเต็มนรูปแบบอย่างสิงคโปร์ แต่สำหรับไทยเอง เรายังอยู่กึ่งๆระหว่างtransform กับ transition
ขณะเดียวกันรายงานของHarvard Business School บอกว่า ศักยภาพของพัฒนาการทางดิจิทัล เรายังมีการพัฒนาที่ช้าอยู่ แต่ก็มีบางประเทศที่พัฒนาแล้วก็ถูกจัดอยู่ในกลุ่มที่พัฒนาช้าอย่างเช่น เกาหลีและญี่ปุ่น ที่มีการพัฒนาทางเทคโนโลยีที่ลดลง ขณะที่บางประเทศก็ก้าวกระโดดจากอนาล็อกสู่ดิจิทัลอย่างรวกเร็ว เช่น อินโดนีเซีย ทั้งนี้เรายังต้องทำความเข้าใจและสร้างการเรียนรู้ให้กับกลุ่มคนรุ่นก่อนหน้านี้เพื่อให้เข้าใจและใช้เครื่องมือเทคโนโลยีสมัยใหม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ขณะที่ในมุมของมูลนิธิมานุษยะ เอมิลี่ ประดิษฐ์จิต ผู้ซึ่งทำงานกับคนชายขอบและชุมชน กล่าวว่า ความรู้ความเท่าทันดิจิทัลของคนชายขอบ หรือคนในชุมชนที่ห่างไกลสัมพันธ์กับการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตของคนในชุมชน ซึ่งยิ่งห่างไกล ความสามารถในการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตก็ยังยาก คนในชุมชนต้องเดินทางมาในที่ที่มีการบริการอินเทอร์เน็ตจึงจะสามารถเข้าถึงข้อมูลต่างๆได้ และถ้าพูดถึงความต้องการในการใช้อินเทอร์เน็ตของคนในชุมชนที่ห่างไกล พวกเขาเหล่านี้นอกจากต้องการที่จะเรียนรู้และปกป้องข้อมูล ปกป้องอัตลักษณ์ของตนเองโดยเฉพาะในกลุ่มคนชายขอบ หรือชุมชนที่เป็นชนกลุ่มน้อยแล้ว คนกลุ่มนี้ยังต้องการที่จะเล่าเรื่องราวของตัวเองออกไปให้สังคมภายนอกได้รับรู้ ดังนั้นการที่รัฐกล่าวว่าจะส่งเสริมการรับรู้ข้อมูลที่ถูกต้องของประชาชนนั้น มันมีข้อมูลที่ถูกต้องแล้วจริงหรือ หรือเป็นข้อมูลของคนในเมือง คนที่อยู่ในหัวเมืองใหญ่ๆเท่านั้น ข้อมูลของคนที่เป็นชนกลุ่มน้อย คนชายขอบได้รับการเผยแพร่หรือได้เป็นที่รับรู้ของสังคมแล้วหรือยัง ตอนนี้ไม่พูดถึงว่าข้อมูลมันถูกต้องไหม แต่เราต้องพูดถึงว่าข้อมูลที่มีอยู่นั้นมันมีครบไหมและมีข้อมูลเพียงพอแล้วหรือยัง
สิ่งที่อินเทอร์เน็ตมันควรจะทำให้เราได้ ไม่ใช่แค่อนุญาตให้เราเป็นสิ่งที่เราอยากจะเป็นเท่านั้น แต่ควรจะต้องทำให้เรารู้ได้ด้วยว่า มันมีอะไรที่เราอยากจะเป็นได้บ้าง ที่เราไม่เคยเป็นมาก่อน ไม่รู้จักมันมาก่อน
คนรุ่นใหม่มีความรู้มากน้อยแค่ไหนในเรื่อง Digital literacy?
อาทิตย์ สุริยะวงศ์กุล ผู้ประสานงานพลเมืองเน็ต กล่าวว่า ในแต่ละวัฒนธรรมก็มีความต้องการใช้งานที่ต่างกัน ก่อนที่จะมีทักษะในการเล่นอะไรบางอย่างได้เราต้องมีโอกาสได้ลองเล่นมันก่อน แต่ 3G นี้มันพอหรือเปล่าซึ่งก็ยังไม่แน่ใจเหมือนกัน เพราะการทำเครือข่ายโทรศัพท์มือถือก็เหมือนการทำเครือข่ายของสนามบินที่สามารถจะสร้างตรงไหนก็ได้ เครื่องบินสามารถบินลงจอดได้ แต่การสร้างเครือข่ายสายบรอดแบนด์อินเทอร์เน็ตนั้นเหมือนการสร้างเครือข่ายรถไฟ ที่ต้องมีทั้งรางและสถานีจอด ซึ่งในแต่ละสถานีนั้นเราสามารถลงไปค้นหาสิ่งที่อยู่ภายในนั้นได้ ดังนั้นถ้าเราสามารถเข้าถึงการใช้อินเทอร์เน็ตได้แบบไม่จำกัด มันก็สามารถสร้างโอกาสที่ทำให้เราสามารถค้นหาสิ่งอื่นได้นอกจากการทำมาหากิน ดังนั้นแล้วเมื่อพูดถึงดิจิทัล มันไม่ได้มีแค่มิติทางเศรษฐกิจเท่านั้นแต่มีมิติอื่นๆด้วย ดังนั้นแล้วสิ่งที่อินเทอร์เน็ตมันควรจะทำให้เราได้ ไม่ใช่แค่อนุญาตให้เราเป็นสิ่งที่เราอยากจะเป็นเท่านั้น แต่ควรจะต้องทำให้เรารู้ได้ด้วยว่า มันมีอะไรที่เราอยากจะเป็นได้บ้าง ที่เราไม่เคยเป็นมาก่อน ไม่รู้จักมันมาก่อน
ในยุคเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว มันจะส่งต่อการปรับตัวขององค์กร และมีวิธีการรับมืออย่างไร?
ดร.รัฐศาสตร์ กล่าวว่า เราควรสร้างสิ่งที่เรียกว่า ความตระหนักรู้ในการใช้งานดิจิทัล (Digital Awareness) ต้องรู้ใช้ ต้องเข้าใจถึงประโยชน์และโทษของมัน ต้องเข้าใจกติกาเบื้องต้นบางอย่างก่อน ถ้าเข้าใจสิ่งเหล่านี้ คุณมีสิทธิที่ได้จับเครื่องไม้เครื่องมือ มีสิทธิที่จะได้รับส่งข้อมูลข่าวสาร แล้วเราจะสร้าง Digital Awareness ได้อย่างไร ในต่างประเทศนั้นมีการปลูกฝังในเรื่องของความตระหนักรู้ในอินเทอร์เน็ตตั้งแต่ในชั้นประถมศึกษา แต่สำหรับในประเทศไทยเรายังสร้างความตระหนักรู้ให้แก่ผู้ใช้ หรือผู้ที่เพิ่งเข้ามาใช้อินเทอร์เน็ตยังช้าอยู่ ดังนั้นสิ่งที่เราควรทำ คือการสร้างความตระหนักรู้ในการใช้งานดิจิทัลก่อน และค่อยสร้างDigital literacyให้แก่คนที่เพิ่งเข้ามาใช้งานโลกดิจิทัล
กฎหมายดิจิทัลที่รัฐออกมาต้องเป็นแนวทางเดียวกับกฎหมายที่คุ้มครองสิทธิที่ใช้กันทั่วโลก ที่สามารถคุ้มครองคนชาบชอบหรือคนในสังคมได้
ก้าวต่อไปของความตระหนักรู้เท่าทันดิจิทัลในไทย
ปัจจุบันการออกกฎหมายของดิจิทัลในไทยปัจจุบันมีอยู่ 2 ฉบับ คือ พ.รบ.ความผิดทางด้านคอมพิวเตอร์ พ.ร.บ.การทำธุรกรรมทางคอมพิวเตอร์ และกำลังจะออกใหม่อีก2 ฉบับที่เป็นกฎหมายส่งเสริมการทำธุรกรรมและกฎหมายปราบปรามป้องการการกระทำทางคอมพิวเตอร์ ทั้งนี้ทางกระทรวงกำลังพยายามผลักดันให้กฎหมายดิจิทัลต่างๆออกมาเพื่อให้ครอบคลุมและรองรับการทำธุรกรรมรวมไปถึงการใช้งานต่างๆให้ครอบคลุมของประชาชนในชีวิตประจำวันมากขึ้น ทั้งนี้พอมีกฎหมายแล้วต้องส่งเสริมให้คนรู้กฎหมาย ทั้งด้านการศึกษาในระบบและนอกระบบให้คนไทยรู้ถึงความสำคัญของกฎหมายทั้ง 4 ตัวนี้ เพื่อให้คนไทยได้ตระหนักรู้และเข้าใจเท่าทันดิจิทัลมากขึ้น ดร.รัฐศาสตร์กล่าว
ขณะที่คนในระดับชุมชนนั้น มีความต้องการที่จะเห็นข้อมูลที่ชุมชนสามารถนำไปใช้ เพื่อสร้างและขบเคลื่อนชุมชนให้ไปข้างหน้าได้ด้วยตนเอง
ทั้งนี้เอมิลี่ ในฐานะตัวแทนภาคประชาสังคมที่ทำงานร่วมกับคนในชุมชน กล่าวเพิ่มเติมว่า กฎหมายดิจิทัลที่รัฐออกมาต้องเป็นแนวทางเดียวกับกฎหมายที่คุ้มครองสิทธิที่ใช้กันทั่วโลก ที่สามารถคุ้มครองคนชาบชอบหรือคนในสังคมได้ ซึ่งในบางครั้งการที่ชุมชนออกมาพูดเรื่องที่เสี่ยง ทำให้ต้องปกปิดข้อมูลบางอย่างของตนเอง เพื่อความปลอดภัย