ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) สัญจร แดนอีสาน ณ จังหวัดอุบราชธานี เมื่อวันที่ 24 ก.ค. 2561 มีมติเห็นชอบให้ดำเนิน 'มาตรการช่วยเหลือเกษตรกรและรักษาเสถียรภาพราคาข้าว ปีการผลิต 2561/62 ด้านการตลาด' แบ่งเป็น
เบ็ดเสร็จใช้งบประมาณ (จ่ายขาด) ทั้งสิ้น 97,950 ล้านบาท ซึ่งถือเป็น 'ปีที่ 5' ของมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าวในยุคคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)
ล้มจำนำข้าวทุกเมล็ด สู่ จำนำยุ้งฉาง
โดยก่อนหน้านี้ รัฐบาลได้จัดทำ 'โครงการสินเชื่อเพื่อสร้างยุ้งฉางให้เกษตรกรและสถาบันเกษตรกร' ตามนโยบายคณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการข้าว (นบข.) ซึ่งมีวัตถุประสงค์ให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวและสถาบันเกษตรกร 10,000 รายทั่วประเทศ สร้าง ปรับปรุงและซ่อมแซม ยุ้งฉางของตนเองเพื่อใช้เก็บข้าวเปลือกที่เก็บเกี่ยวในช่วงฤดูข้าวนาปี ไม่ให้ออกสู่ตลาดพร้อมกันมากเกินความต้องการของตลาด ซึ่งมีธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) สนับสนุนสินเชื่อแก่เกษตรกรรายละไม่เกิน 150,000 บาท และสถาบันเกษตรกร ประกอบด้วย สหกรณ์การเกษตร กลุ่มเกษตรกร และวิสาหกิจชุมชน แห่งละไม่เกิน 3 ล้านบาท วงเงินสินเชื่อรวม 1,671 ล้านบาท
กำหนดชำระหนี้ ไม่เกิน 10 ปี อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ปีที่ 1 ถึงปีที่ 5 อัตราร้อยละ 4 ต่อปี โดยผู้กู้จ่ายร้อยละ 1 ต่อปี และรัฐบาลชดเชยดอกเบี้ยให้ร้อยละ 3 ต่อปี ส่วนปีที่ 6 ถึงปีที่ 10 คิดอัตราดอกเบี้ยตามหลักเกณฑ์ธนาคาร
อย่างไรก็ตาม หากย้อนไปตั้งแต่การยึดอำนาจ เมื่อเดือน พ.ค. 2557 ซึ่งเปรียบเสมือนการ 'ล้มโครงการจำนำข้าวทุกเมล็ด' ของรัฐบาลพรรคเพื่อไทย ที่มีนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรีลงไปด้วย เพราะก่อนหน้านั้น มีการโจมตีโครงการจำนำข้าวทุกเมล็ด มาตลอดว่า เป็นนโยบาย "ประชานิยมแบบไร้ความรับผิดชอบ" จึงเป็น "ของต้องห้าม" สำหรับรัฐบาลทหารเมื่อขึ้นครองอำนาจ
ขณะที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) และ นายกรัฐมนตรีในปัจจุบัน ได้หันไปปัดฝุ่นโครงการ 'จำนำยุ้งฉาง' ที่ทาง ธ.ก.ส. เคยทำในอดีตมาเป็นโครงการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าว แทน พร้อมมีมาตรการเสริมอื่น ๆ เป็นลักษณะ 'แพ็กเกจ' ด้วย
ในขวบปีแรกดังกล่าวได้มีการออก 'มาตรการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปี ปีการผลิต 2557/58' ที่ประกอบไปด้วย
'จำนำยุ้งฉาง' 5 ปี ใช้งบประมาณ 4 แสนล้านบาท
จากนั้นในปีที่ 2 รัฐบาลประยุทธ์ออก 'มาตรการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2558/59' ต่อเนื่อง โดยผ่านกลไก ธ.ก.ส. ประกอบด้วย 1.โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร ปีการผลิต 2558/59 วงเงินสินเชื่อ 12,500 ล้านบาท โดย ธ.ก.ส.คิดอัตราดอกเบี้ยจากสถาบันเกษตรกรในอัตราร้อยละ 2 ต่อปี ทั้งนี้ รัฐบาลรับภาระดอกเบี้ยแทนสถาบันเกษตรกรอีกร้อยละ 2 ต่อปี ซึ่งเมื่อจบปีบัญชี ธ.ก.ส.อนุมัติเงินกู้ไป 244 แห่ง เป็นเงิน 9,394.55 ล้านบาท
2.โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2558/59 (จำนำยุ้งฉาง) วงเงินสินเชื่อ 26,740 ล้านบาท ซึ่ง ธ.ก.ส. จ่ายสินเชื่อแก่เกษตรกรไป 74,343 ราย ปริมาณข้าว 467,843.09 ตัน เป็นเงิน 5,803.70 ล้านบาท และจ่ายสินเชื่อแก่สหกรณ์ไป 42 แห่ง ปริมาณข้าว 76,927.74 ตัน เป็นเงิน 1,105.74 ล้านบาท รวมแล้วจ่ายเงินไปทั้งสิ้น 6,909.44 ล้านบาท
ต่อมาในปีที่ 3 ทำมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2559/60 อีก โดยมีแพ็กเกจมาตรการ อาทิ 1.โครงการสนับสนุนเงินช่วยเหลือต้นทุนการผลิตให้แก่เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2559/60 ซึ่ง ธ.ก.ส.จ่ายสินเชื่อให้แก่เกษตรกรไปทั้งสิ้น 3,874,408 ราย เป็นเงิน 32,165.68 ล้านบาท 2.การช่วยเหลือค่าเก็บเกี่ยวและปรับปรุงคุณภาพข้าวให้แก่เกษตรกรรายย่อยผู้ปลูกข้าวหอมมะลิ ปีการผลิต 2559/60 วงเงินรวม 19,375 ล้านบาท 3.โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร ปีการผลิต 2559/60 วงเงินสินเชื่อรวม 12,500 ล้านบาท และ 4.โครงการสินเชื่อเพื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2559/60 (จำนำยุ้งฉาง) วงเงินรวม 27,410 ล้านบาท
รวมถึงสิ้นปีบัญชี 2560 ธ.ก.ส. ได้จ่ายสินเชื่อให้แก่เกษตรกรไปในโครงการเหล่านี้รวมทั้งสิ้น 2,470,357 ราย กลุ่มเกษตรกร 58 กลุ่ม สถาบันเกษตรกร 280 แห่ง เป็นเงินทั้งสิ้น 47,921.16 ล้านบาท
ส่วนในปีที่ 4 ก็มีการทำ 'มาตรการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2560/61' ประกอบด้วย 1) การช่วยเหลือค่าเก็บเกี่ยวและปรับปรุงคุณภาพข้าวให้แก่เกษตรกรรายย่อยผู้ปลูกข้าวนาปี ปีการผลิต 2560/61 จำนวน 3.9 ล้านราย ไร่ละ 1,200 บาท ตามพื้นที่ที่ปลูกข้าวจริง ไม่เกินรายละ 10 ไร่ ครัวเรือนละไม่เกิน 12,000 บาท ตั้งวงเงินไว้งบประมาณไว้ 47,273 ล้านบาท ซึ่งถึงสิ้นปีบัญชี มีเกษตรกรได้รับความช่วยเหลือและได้รับสนับสนุนสินเชื่อ จำนวน 3,846,471 ราย คิดเป็นเงิน 111,848.28 ล้านบาท
2) โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2560/61 (จำนำยุ้งฉาง) เป้าหมาย 2 ล้านตัน วงเงินสินเชื่อ 21,010 ล้านบาท 3) โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร ปีการผลิต 2560/61 รวม 2.5 ล้านตัน วงเงินสินเชื่อ 12,500 ล้านบาท โดยสถาบันรับภาระดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 1 และรัฐบาลรับภาระดอกเบี้ยแทนสถาบันเกษตรกรไม่เกินร้อยละ 3 ต่อปี ระยะเวลาไม่เกิน 12 เดือน ซึ่งโครงการ 3.-4. นี้ ธ.ก.ส.มีการจ่ายสินเชื่อให้แก่เกษตรกร จำนวน 220,937 ราย สถาบันเกษตรกร 296 แห่ง เป็นเงินทั้งสิ้น 25,512.08 ล้านบาท
เบ็ดเสร็จแล้ว เมื่อก้าวเข้าสู่ปีที่ 5 ในการออกนโยบายดูแลชาวนาของ 'รัฐบาล คสช.' หากนับเฉพาะโครงการ 'จำนำยุ้งฉาง' พบว่า มีการตั้งงบประมาณทั้งสิ้นรวม 114,946 ล้านบาท แต่หากรวมโครงการช่วยเหลืออื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง พบว่า มีการตั้งงบประมาณรวม ๆ แล้วเกือบ 400,000 ล้านบาท ซึ่งยังไม่รวมโครงการช่วยเหลือด้านหนี้สินของเกษตรกรผู้ปลูกข้าว การสนับสนุนการปลูกข้าวนาแปลงใหญ่ และ โครงการประกันภัยข้าวนาปี ซึ่งเมื่อรวมเข้าไปด้วย งบประมาณที่ใช้ก็เกิน 400,000 ล้านบาท
ส่วนจะดีกว่า 'จำนำข้าวทุกเมล็ด' หรือไม่ คงต้องชั่งน้ำหนักดู
ข่าวที่เกี่ยวข้อง :