หลัง ปลาวาฬ-วรสิทธิ์ อิสสระ เจ้าของรีสอร์ทศรีพันวา จ.ภูเก็ต ได้แสดงความเห็นทางการเมือง พาดพิงถึง ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล หรือ รุ้ง แกนนำแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม กรณีการกล่าวปราศรัยบนเวทีชุมนุม '19 กันยาทวงคืนอำนาจราษฎร' ด้วยถ้อยคำรุนแรง
จนเป็นเหตุให้มีการติดแฮชแท็ก 'แบนศรีพันวา' ในโลกโซเชียลมีเดีย พร้อมขุดคุ้ยว่าในอดีต ปลาวาฬ-วรสิทธิ์ เคยร่วมชุมนุม กปปส.และมีการตั้งคำถามถึงความสัมพันธ์กับกลุ่มชนชั้นนำในสังคมไทย
ต่อมาได้มีการเปิดเผยรายชื่อผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์โรงแรมศรีพันวา ซึ่งเป็นที่น่าสนใจว่า 3 อันดับแรก ได้ปรากฎชื่อดังนี้
1.) สำนักงานประกันสังคม ที่มีจำนวนหุ้น 63,072,615 หุ้น หรือ 22.60 %
2.) บริษัท ชาญอิสสระ เรสซิเดนซ์ จำกัด จำนวนหุ้น 54,390,157 หุ้น หรือ 19.49 %
3.) บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) จำนวนหุ้น 16,715,000 หุ้น หรือ 5.99 %
อย่างไรก็ดีเมื่อข้อมูลถูกเผยแพร่ การตั้งคำถามของคนในสังคมย่อมตามมา เนื่องจากการที่กองทุนประกันสังคม นำเงินของประชาชนจำนวนกว่า 16 ล้านคน ไปลงทุนในเครือศรีพันวา เพราะผลประกอบการที่ผ่านมานั้น เมื่อปี 2561 ขาดทุนกว่า 150 ล้านบาท ซึ่งถือว่าเป็นธุรกิจมีความเสี่ยงสูง
ก่อนที่ สุชาติ ชมกลิ่ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวง (รมว.) แรงงาน ออกมายืนยันว่าประกันสังคมลงทุนไปเพียง 500 ล้านบาท แต่ผลกำไรงอกเงยแล้ว 200 ล้านบาท พร้อมชี้แจงว่าตามกฎหมายนั้น รมว.แรงงานไม่มีสิทธิรู้ข้อมูลในการลงทุน เนื่องจากเป็นการทำงานของหน่วยงานดังกล่าว
สำหรับประเทศไทยนั้นมีผู้ประกันตนกว่า 16 ล้านราย (ข้อมูลเมื่อเดือน มิ.ย. 2563) ใน 3 รายมาตรา แบ่งเป็น
เตรียมสอบสวนการลงทุน
ความเคลื่อนไหวในการตรวจสอบการลงทุนของประกันสังคม 'จิรายุ ห่วงทรัพย์' ประธานกรรมาธิการกิจการศาล องค์กรอิสระ อัยการ รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชนและกองทุน ยืนยันว่าจะทำการสืบสวนสอบสวนกรณี กองทุนประกันสังคมนำเงินจำนวนมาก ไปลงทุนซื้อหุ้นประเภทเสี่ยงสูง
เช่นโรงแรมศรีพันวา ว่ามีเหตุผลอะไร และการดำเนินการมีผลที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชนหรือไม่อย่างไรเพราะที่ผ่านมาแค่การเยียวประชาชนที่ถูกหักเงิน ไปเข้ากองทุนประกันสังคมที่มีเงินในกองทุนปีๆหนึ่งจำนวนหลายแสนล้านบาทกลับล่าช้า จนถึงวันนี้ก็ได้รับความเดือดร้อนแสนสาหัส บริษัทหยุดกิจการให้พนักงานพักงานทั้งที่เป็นเงินของพวกเขาเอง
รมว.แรงงานยันผลกำไรคุ้มค่า
สุชาติ ชมกลิ่น รมว. ชี้แจงถึงกระแสวิพากษ์วิจารณ์ กองทุนประกันสังคม ว่าตามกฎหมายรัฐมนตรีไม่มีสิทธิรู้ข้อมูลการลงทุน เนื่องจากมีคณะกรรมการกองทุนประกันสังคม ที่มีปลัดกระทรวงแรงงานเป็นประธาน มีลูกจ้างนายจ้าง และเลขาธิการประกันสังคม เป็นกรรมการ ทำหน้าที่อนุมัติกรอบหน้าที่การลงทุน ว่าจะลงทุนได้ภายใต้ความเสี่ยงกี่เปอร์เซ็น
ก่อนส่งต่อให้บอร์ดการลงทุน และผู้จัดการการลงทุน และจะรับประกันผลตอบแทน ซึ่งจัดจ้างมาเพื่อบริหารกองทุน กำหนดรายได้ไว้ที่ปีละ 5 % ทั้งนี้การร่วมลงทุนกับโรงแรมศรีพันวา มีมาตั้งแต่ 2556 ซึ่งตั้งคณะกรรมการบริหารลงทุนมาในปี 2558 ส่วนผลกระทบจากการแบนศรีพันวา ในโซเชียล รมว.แรงงาน ระบุว่า ลงทุนไปเพียง 500 ล้านบาท แต่จนถึงวันนี้ ได้ผลกำไรมาแล้ว 200 กว่าล้านบาท
ขอคืนไม่ได้ขอทาน
ในช่วงสถานการณ์แพร่ระบาดโควิด-19 ได้มีกลุ่มคนที่เรียกตัวเองว่า 'ขอคืนไม่ได้ขอทาน' ที่ออกมาเคลื่อนไหวเรียกร้องให้ให้สำนักงานประกันสังคม (สปส.) คืนเงินกองทุนชราภาพ ตามมาตรา 33 และ มาตรา 39
เนื่องจากเห็นว่าพระราชบัญญัติประกันสังคมนั้น มีความไม่เป็นธรรมต่อผู้ประกันตน เพราะจะจ่ายคืนให้ตอนอายุครบ 55 ปี จึงออกมาผลักดันให้ยกเลิกการบังคับ โดยให้ความอิสระต่อการตัดสินใจของผู้ประกันตน ว่าจะแบ่งเงินบางส่วนของกองทุนชราภาพมาใช้ในช่วงวิกฤต
สำหรับกรณีที่เกิดขึ้น นสพ.บูรณ์ อารยพล แกนนำขอคืนไม่ได้ขอทาน ได้เสนอทางออกว่า อยากให้ สปส.ปรับเปลี่ยนระบบกองทุน มาเป็นระบบกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เพื่อความโปร่งใสในการบริหารเงินลงทุน
ทั้งนี้คาดว่าในอนาคตประเทศไทยจะเข้าสู่สังคมสูงอายุ เยาวชนที่เติบโตขึ้นจะไม่เข้าระบบ หากไม่ปรับตัวเพื่อสร้างความมั่นใจให้คนรุ่นใหม่ ยากที่กองทุนประกันสังคมจะยั่งยืน
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง