ไม่พบผลการค้นหา
'อาเซียน' ยังต้องพัฒนาระบบความปลอดภัย เพื่อยกระดับคุณภาพแอปพลิเคชัน

ความพยายามพัฒนาแอปพลิเคชันให้สามารถรองรับความต้องการของผู้บริโภคได้อย่างหลากหลาย เป็นเทรนด์ที่เห็นได้ชัดเจนในช่วง 1 - 2 ปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งให้แอปพลิเคชันที่มีฐานผู้ใช้งานจำนวนมาก อาทิ แกร็บ และ ไลน์ ในประเทศไทย 

นอกจากนี้ กระแสการพัฒนาโครงข่ายโครงสร้างพื้นฐานสัญญาณ 5จี ยังเอื้อให้หลายแอปฯ มีประสิทธิภาพสูงขึ้น โดยเฉพาะในด้านธุรกรรมออนไลน์ที่ต้องพึ่งการเชื่อมต่อในระยะเวลาอันรวดเร็วและมีความผิดพลาดต่ำ


สัมนาอาเซียน บิสสิเนส ซัมมิต

'ไวชารี ราซโทกี' ผู้อำนวยการบริหารอาวุโสบอสตัน คอนซัลติ้ง กรุ๊ป (บีซีจี) มองว่า กระแสความพยายามตอบโจทย์ผู้บริโภคของผู้พัฒนาแอปพลิเคชันเป็นสิ่งที่เห็นได้อย่างชัดเจน โดยผู้คนที่ใช้บริการแอปพลิเคชันเรียกรถ สามารถเพิ่มการสั่งอาหาร การจ่ายเงิน การขนส่ง หรือบริการอื่นๆ ได้

อย่างไรก็ตาม ไวชารี เตือนว่า การปรับนิสัยพฤติกรรมของประชาชนไม่ใช่เรื่องง่าย และเพียงเพราะมีแอปพลิเคชันหนึ่งที่รวบรวมบริการไว้ทั้งหมดก็ไม่ได้เป็นเครื่องยืนยันว่าผู้บริโภคจะหันไปใช้


"ฉันเชื่อว่าสิ่งสำคัญคือคุณต้องเป็นที่หนึ่งในสิ่งที่คุณทำ" ไวชารี กล่าว


แอปฯ ในอาเซียนยังไม่ได้พัฒนาไม่สุดเท่าแอปฯ จีน

หนึ่งในประเด็นสำคัญที่ผู้คนมองเป็นปัจจัยแรกสำหรับการทำธุรกรรมทางการเงินบนออนไลน์ คือความปลอดภัย ขณะที่ผู้บริการพยายามทำให้แอปฯ ของตัวเองทำได้ทุกอย่าง รวมทั้งการจ่ายเงินออนไลน์

ไวชารี มองว่า มาตรฐานของธุรกรรมออนไลน์ในภูมิภาคเอชียตะวันออกเฉียงใต้ยังไม่ดีเพียงพอ เมื่อเทียบกับแอปพลิเคชันจากประเทศจีน เช่น วีแชท และ อาลีเพย์ แอปพลิเคชันในฝั่งอาเซียนยังต้องพัฒนาอีกมาก แม้จะเริ่มเห็นการปรับตัวด้านเทคโนโลยี แต่ก็ยังไม่เพียงพอ

เรื่องนี้เป็นประเด็นสำคัญ โดยเฉพาะเมื่อพูดถึงจำนวนและปริมาณธุรกรรมขนาดใหญ่

ไวชารีทิ้งท้ายว่า รัฐฯ ต้องเข้ามามีบทบาทในฐานะผู้ควบคุมกฎอย่างเข้มงวด แต่ต้องไม่ไปขัดขวางการพัฒนาของนวัตกรรมและเทคโนโลยี ไม่เช่นนั้นจะเป็นการพาประเทศถอยหลัง