ไม่พบผลการค้นหา
นักวิชาการวิพากษ์ ส.ว. สรรหา รศ.ดร.โกวิทย์ ชี้ไม่จำเป็นต้องมีวุฒิสภา ด้าน ศ.ดร.ธีรภัทร์ เสนอ ประยุทธ์ ทบทวนไม่รับตำแหน่งนายกฯ สร้างสมดุลในสภาฯ ขณะที่ รศ.ดร.วีระศักดิ์ วิจารณ์สภาเครือญาติ พาประเทศย้อนยุครัฐราชการ

สามนักวิชาการร่วมไขคำตอบ ในงานสัมมนาวิชาการ ว่าด้วยหัวข้อ สภา ส.ว. = สภา..? ที่คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อแลกเปลี่ยนความเห็นวิพากษ์วิจารณ์ถึงสมาชิกวุฒิสภาชุดปัจจุบัน

โดยรศ.ดร.โกวิทย์ วงศ์สุรัตน์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ให้ความเห็นว่าประเทศไทยปกครองในแบบระบอบ ’รัฐเดียว’ ซึ่งในปัจจุบันเห็นว่าการให้อำนาจส.ว.เข้ามากำกับดูแลการปฏิบัติหน้าที่ในการใช้ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีนั้น สะท้อนให้เห็นถึงเรื่องสองมาตรฐาน ดังที่เกิดในหลายกรณีที่ฝ่ายนึงทำผิดก็มีการใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด แต่อีกฝ่ายก็ทำมองไม่เห็น และหวังว่าจะมีการแก้รัฐธรรมนูญฉบับที่มีปัญหาอยู่นี้

เสวนามี สว ทำไม


สำหรับปัญหาของสมาชิกวุฒิสภานั้น เห็นว่าเป็นความสิ้นเปลือง เพราะมีการให้อำนาจหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการกลั่นกรองส.ส.หรือการกำกับดูแลยุทธศาสตร์เพราะตามรัฐธรรมนูญได้มีองค์กรอิสระอยู่แล้ว จึงมองว่าไม่รู้จะมีไปทำไม

“เราเป็นรัฐเดียวไม่ใช้รัฐรวม จึงเห็นว่าไม่จำเป็นที่ต้องมีวุฒิสภา” รศ.ดร.โกวิทย์ กล่าว


ทั้งนี้มองว่าทางออกสำหรับปัญหาเหล่านี้คือประชาชน เพราะคนในประเทศมีความอดทนสูงต่อการเกิดรัฐประหารได้ ซึ่งตนรู้สึกแปลกใจที่ประเทศไทยยังกลับสู่วังวนเดิมในการทำรัฐประหาร โดยส่วนตัวจึงอยากเห็นคนไทยอดทนน้อยลงกว่านี้


ชี้ ‘ประยุทธ์’ คือปัญหา เตือนระวังถูกโค่นอำนาจ

ศ.ดร.ธีรภัทร์ เสรีรังสรรค์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมมาธิราช กล่าวว่าความหมายของสมาชิกวุฒิสภา ตามรัฐธรรมนูญไทยตั้งแต่ปี 2475 ในอดีตที่ผ่านมาสมาชิกวุฒิสภา ถูกนิยามไว้เป็นให้ทำหน้าที่เป็น “พี่เลี้ยงส.ส.” ที่คอยทักท้วงและเสริมเติมข้อบกพร่องในการออกกฎเกณฑ์ต่างๆ

เสวนามี สว ทำไม


อย่างไรก็ตามนับตั้งแต่ปี 2540 เริ่มมีการให้ความสำคัญกับองค์กรอิสระ อาทิ กกต. ที่มีหน้าที่กลั่นกรองส.ส. รวมถึงปชป. ที่ทำหน้าที่ตรวจสอบนักการเมือง ซึ่งล้วนเกิดจากรัฐธรรมฉบับนี้ ก่อนจะมาถึงการรัฐประหารครั้งล่าสุด เมื่อปี 2557 ที่มีหลายคนคาดหวังหวังว่าจะนำไปสู่การปฏิรูปไปสู่ประชาธิปไตย

แต่ส่วนตัวขอพูดตรงไปตรงมาว่าเป็นห้าปีของความล้มเหลว ไม่พัฒนาแต่ย้อนยุคกับไปในสู่ “คณาธิปไตย” สะท้อนจากองค์ประกอบสมาชิกวุฒิสภาเมื่อกว่า40ปีก่อน ที่ต้องการนำข้าราชการประจำเข้ามา 

อย่างไรก็ดีมองว่าสายสัมพันธ์ในระบอบอุปถัมภ์ หรือ ระบอบญาติมิตรธิปไตย ที่ผู้มีอำนาจรัฐสามารถชอปปิ้งพวกพ้องเข้ามาทำงาน เพื่อรับส่วนแบ่งผลประโยชน์แห่งรัฐ คล้ายกับตระกูลการเมืองที่สืบทอดรุ่นต่อรุ่น ซึ่งลักษณะนี้มีหลายประเทศที่ปรากฎ ส่วนสภาพี่น้อง จะพบว่ามีการตั้งคนในครอบครัวเข้ามารับตำแหน่ง ส่วนอีกประเภทคือการเอื้อประโยชน์เพื่อนฝูง ที่เป็นการเอื้ออาทรโดยใช้ทรัพย์สินของประชาชนและของรัฐ 

เมื่อมองถึงหน้าที่ของส.ว.มีการให้อำนาจควบคุมในหลายเรื่อง โดยเฉพาะตำแหน่งสำคัญในองค์กรอิสระต้องผ่านคำแนะนำจากส.ว. เป็นสิ่งที่น่ากลัวว่าจะมีการแต่งตั้งพวกพ้องเข้ามาในตำแหน่งเหล่านี้ เช่น กรณีนาฬิกาหรือการตรวจสอบคุณสมบัติส.ส. สิ่งที่น่าเป็นห่วงคือเรื่องศาลรธน.ที่สามารถชี้ขาดในหลายกรณีได้ 

อีกจุดสำคัญคือการโหวตเลือกนายกรัฐมนตรี ซึ่งโดยส่วนตัวเชื่อไม่มีใครไม่กล้าโหวตไม่รับ ‘พลเอก’ เข้ามาเป็นนายกรัฐมนตรี สำหรับทางออกเราต้องมาร่วมมือกันทุกฝ่ายในการแก้ปัญหาเหล่านี้

“สิ่งที่น่ากลัวคือ ถ้ามีการคุมองค์กรอิสระได้ ผมก็ไม่รู้จะหวังพึ่งใครได้ ” ศ.ดร.ธีรภัทร์ แสดงความกังวล


สำหรับทางออกคือเสนอให้พล.อ.ประยุทธ์ ไม่รับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอีกสมัย ซึ่งถือเป็นหนึ่งในตัวปัญหา เพราะเป็นผู้แต่งตั้งสมาชิกวุฒิสภาอยู่แล้ว เพื่อให้เกิดสมดุลในสภา แล้วปล่อยให้พรรคการเมืองอื่นดำรงตำแหน่งต่อไป ซึ่งหากยังมองไม่เห็นว่าตนเองเป็นตัวปัญหา ส่วนตัวเชื่อว่ากฎแห่งกรรมมันมีจริง และสิ่งเหล่านั้นจะกลับย้อนเข้าตัวพล.อ.ประยุทธ์เอง

“สภาตั่วเฮีย” ความน่ากลัวของการสยายอำนาจ

รศ.ดร.วีระศักดิ์ เครือเทพ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระบุว่าสิ่งที่เห็นในปัจจุบันมันคือการเชื่อมต่อว่ารัฐราชการฝังรากลึกมาร่วมร้อยปี ซึ่งส.ว.ชุดปัจจุบัน มันสะท้อนอะไรต่อสังคมไทย เห็นว่าตามธรรมมาภิบาล ที่รัฐบาลชุดนี้อ้างว่าจะเจ้ามาแก้ปัญหาคอร์รัปชัน

เสวนามี สว ทำไม


หากพิจารณาดูแล้วตามที่ระบุไว้ในรธน.60 กลับให้อำนาจพิเศษคือการกำกับดูแลการปฏิบัติงานตามยุทธศาสตร์ชาติ ทำให้ต้องตั้งคำถามย้อนไปว่า จะมีสมรรถนะจะปฏิบัติงานได้จริงหรือไม่ เมื่อดูรายชื่อที่ปรากฎจะพบว่าสมาชิกกว่าร้อยละ 80 ล้วนมาจากข้าราชการเกษียณ ที่มาจากงานเฉพาะด้าน ซึ่งมองว่าบางกรณีอาจจะไม่เหมาะสมในการทำงาน

“บางทีคนที่ถนัดการรบ อาจจะไม่มีมุมมองอื่นที่สอดคล้องกับการพัฒนาบริหารประเทศก็ได้” รศ.ดร.วีระศักดิ์ กล่าว

ดังนั้นในยุคปัจจุบัน เรายังเราวนเวียนในระบอบ อมาตยาธิปไตย ที่มีการเลือกพรรคพวกมาเกื้อหนุน ซึ่งสมาชิกที่ถูกสรรหามาในชุดปัจจุบัน สะท้อนให้เห็นว่าเราไม่เคยหลุดพ้นจากรอบเหล่านี้เลยตลอดระยะเวลา 60 ปีที่ผ่านมา รวมถึงการสรรหาที่ไม่มีความโปร่งใส และมีการอธิบายไม่ชัดเจน อีกทั้งองค์ประกอบของส.ว.ยังสะท้อนถึงปัญหาการผูกขาดทางการเมือง โดยส่วนตัวสรุปได้ว่าสภาส.ว.ชุดปัจจุบันคือ ‘สภาตั่วเฮีย’ ตามภาษาจีนแต้จิ๋ว ที่หมายถึงพี่ใหญ่คอยดูแลน้องๆๆ

สิ่งเกิดขึ้นต่อมา เมื่อผู้ปกครองโดยรัฐ ที่ประชาชนไม่ไว้ใจว่าจะใช้อำนาจไม่เปผ้นธรรม จึงมีการสร้างองค์กรอิสระเข้ามาตรวจสอบรัฐ แต่เราต้องกลับมาตั้งคำถามคือเราจะมีองค์กรที่ถ่วงดุลได้หรือไม่ เพราะในปัจจุบันอำนาจของรัฐได้สยายปกคลุมองค์กรเหล่านี้ อีกหนึ่งประเด็นคือฝ่ายรัฐมีมุมมองคืออยากทำอะไรก็ทำได้ ที่เริ่มใช้อำนาจเบ็ดเสร็จ ซึ่งการแต่งตั้งแบบนี้คือรัฐอยู่ในจุดที่สามารถทำได้ ซึ่งถ้าปล่อยไว้ก็ไม่สามารถคาดเดาได้ว่าจะมีการทำอะไรมากกว่านี้หรือไม่