ไม่พบผลการค้นหา
ครม.อนุมัติโครงสร้างพื้นฐาน เริ่มลงทุนปี 58
LPN เปิดโครงการใหม่ปีนี้ 10-15 โครงการ
เปิดอาณาจักรเซ็นทรัล 2 ปี ลงทุนกว่า 7 หมื่นล้าน
แสนสิริ ทำยอดขาย 9 เดือนแรก 2 หมื่นล้านบาท
ช.การช่าง คาดปีนี้ทำรายได้ 3.5 หมื่นล้าน
อิตัลไทย เดินหน้าดันยอดขายโต 2 เท่าใน 5 ปี
ธอส.ตั้งเป้าหมายปล่อยสินเชื่อ 1 ล้านล้าน
ตลาดยิ่งเจริญ แต่งตัวเข้ากอง REIT
แสนสิริตั้งเป้ารายได้ปีนี้ 3.4 หมื่นล้านบาท
แลนด์แอนด์เฮ้าส์เปิด 14 โครงการใหม่ ตั้งเป้ายอดขาย 28,000 ล้านบาท
ซีพีออลล์ รุกขยายเซเว่น-แม็คโคร ดันรายได้โต 10%
กำลังซื้อหดทำอีโคคาร์ เฟส 2 เงียบเหงาหรือไม่
Day Break - เตรียมรับมือไต้ฝุ่น 'มังคุด' ถึง 18 ก.ย. นี้ - Short Clip
นักการเมืองร่วมมองต่างมุม 2 ปี สปท.  FULL EP.
แสนสิริปรับเพิ่มเป้ายอดขายไตรมาส 2 เป็น 13,000 ล้าน
ตั้งเป้าดันราคายางที่ 66 บาทต่อ กก.
สตาร์บัคส์ เพิ่มสาขาในเอเชีย 1 หมื่นแห่ง
'ชัชชาติ สิทธิพันธุ์' เป็น CEO ควอลิตี้เฮ้าส์ 1 ม.ค. 58
'ชัชชาติ สิทธิพันธุ์'เตรียมรับตำแหน่ง CEO ควอลิตี้ เฮ้าส์
'อาร์ซี โคล่า' กลับสู่ตลาดในรอบ 48 ปี
ยุทธศาสตร์คมนาคม 10 ปี วงเงินอาจสูงกว่า 2 ลล.
Oct 22, 2014 09:50

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เตรียมขยายแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของไทย จาก 8 ปี เป็น 10 ปี ยอมรับ วงเงินอาจสูงกว่าโครงการ 2 ล้านล้านบาท   

หลังคณะรัฐมนตรี วานนี้ (21 ต.ค.) เห็นชอบยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของไทย ระยะ 8 ปี ระหว่างปี 2558 - 2565 โดยมีงบประมาณเร่งด่วนที่สามารถดำเนินการได้ในปี 2558 วงเงินรวม 6 หมื่น 8 พันล้านบาท  

พลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ระบุ ขณะนี้ อยู่ระหว่างจัดทำตัวเลขเงินลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานทั้งหมด คาดว่า จะสรุปวงเงินลงทุน และแผนปฏิบัติการ หรือ Action Plan ในเดือนพฤศจิกายนนี้  โดยวงเงินลงทุนที่ชัดเจน คือ การพัฒนาถนน รวมถึงการพัฒนาขนส่งทางอากาศ โดยเฉพาะการขยายท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เฟส 2 วงเงิน 6 หมื่น 2 พัน - 7 หมื่น 9 พันล้านบาท  

ขณะที่ สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร หรือ สนข. ศึกษาเบื้องต้น จะใช้เงิน 1 ล้าน 9 แสนล้านบาท  ยังไม่รวมงานก่อสร้างสุวรรณภูมิ เฟส 2 และโครงการก่อสร้างรถไฟรางมาตรฐาน 1.435 เมตร ดังนั้น การลงทุนตามแผนยุทธศาสตร์  จึงอาจมากกว่าโครงการลงทุน 2 ล้านล้านบาท  ทั้งนี้ กระทรวงคมนาคม จะเสนอคณะรัฐมนตรี พิจารณาขยายเวลาแผนยุทธศาสตร์ จาก 8 ปี  เป็น 10 ปี  และยืนยัน การลงทุนจะโปร่งใส ตามนโยบาย คสช.  

สำหรับการก่อสร้างรถไฟรางมาตรฐาน 1.435 เมตร จะสรุปว่าจะพัฒนาเส้นทางระยอง-กรุงเทพฯ-สระบุรี-นครราชสีมา-หนองคาย  ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการศึกษาออกแบบ  โดยจะแบ่งเป็นระยะ เช่น กรุงเทพฯ-ระยอง /  กรุงเทพฯ-สระบุรี /  สระบุรี-นครราชสีมา / และระยะสุดท้ายถึงหนองคาย 

วนการพัฒนานิคมอุตสาหกรรมซ่อมบำรุงอากาศยาน ได้มอบหมายให้ นายวรเดช หาญประเสริฐ รองปลัดกระทรวงคมนาคม ศึกษาในรายละเอียด โดยจะฟื้นแผนงานเดิมที่จะพัฒนานิคมอุตสาหกรรมซ่อมบำรุงอากาศยาน จังหวัดนครราชสีมา  พร้อมกำหนดเป้าหมายให้ไทย เป็นศูนย์กลางการซ่อมบำรุงอากาศยาน , ดูแลการพัฒนาบุคลากรการบิน และซ่อมบำรุง เบื้องต้น คาดว่าจะใช้เงินลงทุน ไม่น้อยกว่า 5 พันล้านบาท    

Voice TV
กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี
184Article
76559Video
0Blog