ไม่พบผลการค้นหา
คิดเล่นเห็นต่างกับคำผกา Special in Chiang Mai
"ภาษาอังกฤษ" ต้นทุนทางวัฒนธรรม ของชนชั้นนำในสังคมไทย
เครื่องแบบนักเรียน " มีอยู่" หรือ "ยกเลิก" ?
แนวความคิดอนุรักษ์ มาจากไหน?
บัญญัติ 10 ประการที่จะนำพรรคประชาธิปัตย์กลับมาสู่ความรุ่งโรจน์
ขันติธรรมกับสังคมไทย
นิตยสารเกย์ ในเมืองไทย
จิ๋มเอื้ออาทร-เฉาะฟรี-สตรีข้ามเพศ
วัฒนธรรมไทย กับดีไซน์ คัลเจอร์
I love Hitler
ทำไมประเทศไทยจึงได้ชื่อว่าเป็น “ซ่อง”ของโลก
พาเหรดนาซี และ ปัญหาแบบเรียนประวัติศาสตร์ของเด็กไทย
'ชาตินี้' หรือ 'ชาติไหน' ที่วัฒนธรรมแบบไทยจะผงาดสู่เวทีโลก
ม่านรูด ทำไมจึงต้องรูดม่าน?
การทำสยามสแควร์ให้เป็นแลนด์มาร์คของกรุงเทพ
ที่มาของเทพนิยาย
วิวาทะ แฟนเพจ
'ความสัมพันธ์ของสถานีโทรทัศน์ไทยกับรัฐประหาร'
นางสาวสยาม สตรีผู้เป็นศรีสง่าแห่งรัฐธรรมนูญ
พิษตกค้างหลังการเลือกตั้ง
ประวัติศาสตร์การรับน้องและระบบ Sotus ในประเทศไทย (ตอนจบ)
Jun 26, 2011 09:38

คิดเล่นเห็นต่าง กับ คำผกา อาทิตย์ที่ 26 มิถุนายนนี้ ห้ามพลาด พบกับ ประวัติศาสตร์การรับน้องและระบบ Sotus ในประเทศไทย (ตอนจบ) 

 


10 ข้อ ทำไมคำผกาจึงไม่เห็นด้วยกับการรับน้อง

1. การอ้างว่าการรับน้องเป็นประเพณีที่สืบทอดกันมายาวนาน เป็นการเคารพความอาวุโสแบบไทยนั้นฟังไม่ขึ้น เพราะระบบ SOTUS เอามาจากฝรั่ง และฝรั่งเอง คือในเมืองแม่ที่เป็นต้นตำรับของ โซตัสก็ไม่มีที่ไหนมีระบบการว๊าก หรือรับน้องอย่างนี้อีกต่อไปแล้ว เว้นแต่บางแห่งยังคงมี Fag House มี Fraternity Group ซึ่งมีกฏว่าต้องอยู่นอกมหาวิทยาลัยเท่านั้น

2. การอ้างว่า การรับน้องเป็นการเตรียมตัวให้รุ่นน้องปรับตัว เรียนรู้การอยู่ร่วมกัน รักกัน ช่วยเหลือกันนั้นฟังไม่ขึ้น เพราะถ้าอย่างนั้น มหาวิทยาลัยอีกหลายร้อยหลานพันแห่งทาวโลกที่ไม่มีประเพณีการรับน้อง นักศึกษาปี 1 เหล่านั้นอยู่กันอย่างไร? ความจริงก็คือว่า นักศึกษาทุกคนพึงได้รับการปฏิบัติอย่างให้เกียรติ ในฐานะที่เป็นผู้ใหญ่คนหนึ่งมีวุฒิภาวะที่จะดำเนินชีวิตตามที่ตนเห็นว่าสมควร  ไม่พึงมีใครมาอ้างเอาความเป็นรุ่นพี่มารับรองความชอบธรรมในการสั่งสอน ชี้นำ หรือแม้กระทั่งกากำหนด ถูก ผิด ชอบ ชั่ว ดี ให้แก่ใครได้ เพราะประชาชนไทยทุกคนต้องปฏิบัติตัวตามกฎหมายเป็นกรอบใหญ่ๆอยู่แล้ว

3. สังคมที่เจริญแล้วย่อมไม่มีความเคารพในกันและกันมากกว่าจะรักกันอย่างบ้าคลั่งและไร้เหตุผล ดังนั้น การเคารพในสถาบันการศึกษา หรือ เคารพในรุ่นพี่ ย่อมเกิดจากการคุณูปการที่มหาวิทยาลัยหรือศิษย์เก่ามีต่อสังคม มิใช่ด้วยการสร้างพิธีกรรมละลายพฤติกรรมให้เกิดความรักในสถาบันการศึกษาโดยการอ้างถึงระบบอุปถัมภ์อันอบอุ่นระหว่างรุ่นรุ่นน้อง ถึงที่สุดแล้ว นักศึกษาทุกคนพึงมองสถาบันการศึกษาที่ตนเองสังกัดด้วยสายตาวิพากษ์มากกว่าจะรักหรือคลั่งเพียงเพราะเราได้เรียนที่นี่ หรือเพราะที่นี่มีบุญคุณกับเรา

4. สังคมที่เจริญแล้วย่อมตั้งคำถามต่อความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันหรือ Unity เพราะสังคมสมัยใหม่ให้ความสำคัญกับความแตกต่างหลากหลาย และการมีขันติธรรมต่อความแตกต่างในความเชื่อและวัฒนธรรมของคนที่อยู่ร่วมกันในสังคม ชื่นชมในอิสรภาพของปัจเจกบุคคล ไม่สนับสนุนการเดินเรียงแถวหน้ากระดานหรือการทำตามคำสั่งอย่างพร้อมเพรียงกัน

5. ศักดิ์ศรีของมหาวิทยาลัยไม่ได้อยู่ความเก่า ความใหม่ ไม่ได้อยู่ที่เครื่องแบบ ไม่ได้อยู่ที่ความรักความสามัคคีของคนในสถานศึกษานั้นๆ แต่อยู่ที่ผลงานการเรียนการสอนการวิจัย นวัตกรรมใหม่ๆ และการสร้างคุณประโยชน์ให้แก่ประชาคมโลกและเพื่อนร่วมโลก

6. สำคัญที่สุดคือ มหาวิทยาลัยเป็นพื้นที่ทางปัญญา ปราศจากซึ่งเสรีภาพที่จะกบฏและท้าทายต่อความเชื่อเก่าๆ ประเพณีเก่า ระบบโครงสร้างอำนาจแบบเก่าๆ มหาวิทยาลัยจะเป็นพื้นที่ทางปัญญาให้กับสังคมได้อย่างไร นักศึกษาที่เข้าไปเรียนในมหาวิทยาลัยเข้าไปเพื่อ “ตั้งคำถาม” และ “หาคำตอบ” ให้กับตนเอง โดยมีอาจารย์ และหนังสือเป็นผู้ช่วย มิใช่เข้าไปเพื่อจะ “เชื่อฟัง” หรือ “บูชา” ครูบาอาจารย์ รุ่นพี่ และสถานศึกษาที่ตนเองสังกัดอยู่

7. อย่าหวาดกลัวการไม่มีรุ่น เพราะการไปเรียนต่อต่างประเทศ การสอบชิงทุนของมหาวิทยาลัยในต่างประเทศ คุณไม่จำเป็นต้องมี “รุ่น” เพราะไม่มีใครแคร์หรือแม้กระทั่งรู้จัก “รุ่น” ของคุณว่าคืออะไร ยิ่งไปกว่านั้นหากคุณมีประวัติเป็นว๊ากเกอร์ หรือมีประวัติการละเมิดสิทธิมนุษยชนจากการรับน้อง คุณอาจสูญเสียโอกาสที่จะเรียนหรือทำงานในองค์กรระหว่างประเทศเสียด้วยซ้ำ

8. หากจะมีการรับน้อง ควรมีอย่างสมัครใจและอยู่นอกมหาวิทยาลัย  และ “น้องและพี่” ที่สมัครใจจะเข้าสู่พิธีกรรมการรับน้องต้องรับผิดชอบสิ่งที่จะเกิดขึ้นด้วยตนเองเพราะนั่นเป็น choice ของคุณ

9. โลกนี้ไม่ได้มีแต่ประเทศไทย โปรดทดสอบความเชื่อของตนเองด้วยการเปรียบเทียบความเป็นไปของประเทศไทยและประเทศอื่นๆบนโลกใบนี้ด้วย เช่น ตั้งคำถามว่าทำไมมหาวิทยาลัยในประเทศที่เจริญแล้วพัฒนาแล้วจึงไม่มีระบบโซตัสและการรับน้องอีกแล้ว

10. วัฒนธรรมการเมืองไทยมีแนวโน้มสนับสนุนระบอบอำนาจนิยม ไม่ชอบให้ประชาชนมีสิทธิ มีเสียง ท้าทายอำนาจรัฐ ต้องการพลเมืองที่ว่านอนสอนง่าย เชื่อฟังคำสั่ง ไม่ตั้งคำถาม ไม่สงสัย และหลงใหลว่าประเทศที่ตนอยู่นั้นดีแล้ว ประเสริฐแล้ว อย่าเปรียบเทียบกับที่อื่น เราไม่มีอะไรต้องปรับปรุง เปลี่ยนแปลง ฝรั่งยังชอบข้างเหนียวมะม่วงของเราจะตาย อะไรทำนองนี้ ประเพณีการรับน้องจึงสอดคล้องกับวัฒนธรรมการเมืองไทย และยากจะเปลี่ยนแปลงหรือยกเลิก

 
Produced by VoiceTV
Voice TV
กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี
185Article
76559Video
0Blog