รายการ Intelligence ประจำวันที่ 1 ธันวาคม 2554
วีรพัฒน์ ปริยวงศ์ นักวิชาการอิสระด้านกฎหมาย เขียนบทความ ควันหลง อภัยโทษ สู่โจทย์ "นิติราษฏร์" เขาตั้งคำถามถึง กลุ่มคน 4 คนในสังคม คือ
1.กลุ่มคนที่ตื่นตระหนกกับข่าวนี้ วีรพัฒน์เสนอให้ประชาชนเป็นฝ่ายรุก อย่าตามเก็บหินที่นักการเมืองโยนถามทาง วิธีการที่เขาเสนอคือ นำข้อเสนอของนิติราษฏร์เรื่องการลบล้างผลพวงรัฐประหาร 19 กันยา มาปรับปรุงผ���านการเจรจา ต่อรองโดยเปิดเผย เพื่อออกแบบวิธีล้างคำพิพากษา แล้วนำตัว พ.ต.ท.ทักษิณ เข้าสู่กระบวนการยุติธรรมใหม่ในยามปกติ
2. กลุ่มนิติราษฎร์ เขาเสนอให้ปรับท่าทีการนำเสนอที่ต้องไม่แข็งทื่อจนเกินไป และต้องพร้อมที่จะสร้างพันธมิตรทางความคิดอย่าด่วนสรุปว่า คนที่ไม่เห็นด้วยกับข้อเสนอของนิติราษฏร์ต้องเป็นผู้สมยอมลัทธิรัฐประหาร
3. กลุ่มครูบาอาจารย์ด้านสื่อสารมวลชน วีรพัฒน์เสนอให้สื่อมวลชน ตอบคำถามเรื่องการอ้างแหล่งข่าว และเสนอให้ประชาชนใช้ช่องทาง พรบ.ข้อมูลข่าวสาร หรือ พรบ.คำสั่งเรียกกรรมาธิการของสภาผู้แทนราษฏรและวุฒิสภา มาให้ข้อมูล
4. กลุ่มคนไทยทั่วไป เขาตั้งคำถามว่า คนไทยมีปัญญาเพียงยกมวลชนตีกันเช่นนั้นหรือ โดยเชื่อมโยง กรณีควันหลงอภัยโทษกับกระแสประตูระบายน้ำ ที่มีการเผชิญหน้าของมวลชน
ส่วนวิกฤติมหาอุทกภัย วีรพัฒน์ เห็นว่า เป็นโอกาสในการสร้างประชาธิปไตย ผ่านกระบวนการตุลาการ คือ เสนอให้ประชาชนที่ไม่ได้ รับความเป็นธรรมฟ้องร้องต่อศาลปกครอง , กระบวนการของฝ่ายบริหาร ร่างระเบียบเพิ่มอำนาจให้คณะกรรมการอิสระเพื่อความปรองดอง
แห่งชาติ หรือคอป. ตรวจสอบค้นหาความจริงเกี่ยวกับวิกฤติอุทกภัย , ส่วนการใช้กระบวนการนิติบัญญัติ คือ เสนอให้ประชาชนเข้าชื่อเสนอ กฎหมายปันน้ำใจแแก้ปัญหาวิกฤติ เช่น กำหนดมาตรการจัดเก็บภาษีพิเศษชั่วคราว กำหนดมาตรการและวิธีการนำรายได้ไปฟื้นฟูเศรษฐกิจทั้งในระยะกลางและระยะยาว
Produced by Voice TV