ไม่พบผลการค้นหา
พื้นที่ของจอมพล ป. พิบูลสงคราม ในประวัติศาสตร์การเมืองไทย ตอนจบ
อนุสรณ์สถานที่ถูกลืม
การเมืองในแบบเรียนประวัติศาสตร์ไทย ตอน 2
ปืนใหญ่พญาตานี กับหนทางสู่ 'สันติภาพ' ตอน 2
รัฐเวชกรรมกับการควบคุมพลเมือง ตอน 2
สถาปนิกแห่งความเป็นไทย
กำเนิดวันชาติ
มายาของสุภาพบุรุษจุฑาเทพ
การเมืองในแบบเรียนประวัติศาสตร์ไทย
'ความสัมพันธ์ของสถานีโทรทัศน์ไทยกับรัฐประหาร'
ฟุตบอลกับการเมือง
ประวัติและผลงาน ก้าวย่างที่ไม่เคยเปลี่ยนแปลงของพรรคประชาธิปัตย์
รัฐเวชกรรมกับการควบคุมพลเมือง
การฟื้นฟูเมือง เมืองใหญ่ของไทย อยู่ที่ไหนของโลก?
ฟุตบอลกับการเมือง ตอนจบ
อดีต ปัจจุบัน และอนาคต ของวันพืชมงคล
'ทำไม...คนไทยไม่สวมหมวก'
ปืนใหญ่พญาตานี กับหนทางสู่ 'สันติภาพ'
ประวัติและผลงาน ก้าวย่างที่ไม่เคยเปลี่ยนแปลงของพรรคประชาธิปัตย์ ตอนที่ 2
แม่พลอยคือคนโง่ จากปากคำของ 'ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช' ตอนที่ 2
พื้นที่ของจอมพล ป. พิบูลสงคราม ในประวัติศาสตร์การเมืองไทย
Jul 28, 2012 12:29

 

รายการคิดเล่นเห็นต่างกับ คำผกา ประจำวันที่ 28 กรกฎาคม 2555
 
แม้ว่าจอมพล ป. พิบูลสงครามจะดำรงตำแหน่งอันยาวนาน ทิ้งมรดกและอิทธิพลผลกระทบทางการเมืองไว้มากมายมหาศาล แต่ชีวิตและผลงานของท่านก็ถูก "การเมืองของอดีต" ทำให้เลือนลาง จางหาย กลายเป็นบุคคลที่ลึกลับ หรือไม่ก็ไร้ความหมาย ไร้ความสำคัญในหน้าของประวัติศาสตร์ไทย 
 
ชาญวิทย์ เกษตรศริ
 
นี่คือบางช่วงบางตอนที่อ.ชาญวิทย์ เกษตรศิริได้กล่าวไว้ในหนังสือ บันทึกการสัมมนา จอมพล ป. พิบูลสงคราม กับ การเมืองสมัยใหม่ ซึ่งในการสัมมนาครั้งนี้เป็นการบันทึกการสัมมนาในระหว่างวันที่ 24 -25 มิถุนายน พ.ศ.2536 ณ ห้องประชุมชั้น 4 อาคารอเนกประสงค์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และจัดสัมมนาโดยมูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ตีพิมพ์ครั้งแรก 14 กรกฎาคม 2540 ซึ่งเป็นปีที่เราได้มีรัฐธรรมนูญที่ว่ากันว่าเป็นของประชาชนอย่างแท้จริง ให้คนรุ่นหลังได้ระลึกถึงการเปลี่ยนแปลงอย่างมหาศาลของประเทศไทยในสมัยของจอมพล ป. พิบูลสงคราม ซึ่งบางคนอาจมีความคิดว่า จอมพล ป. พิบูลสงครามนั้น เป็นผู้นำเผด็จการ นำเอาลัทธิคลั่งชาติเข้ามาสู่สังคมไทย นั่นคือการป้ายความผิดให้กับจอมพล ป. พิบูลสงคราม กลายเป็นผู้ร้ายในประวัติศาสตร์การเมืองไทย แต่จะมีใครหรือไม่ที่ได้สัมผัสเรื่องราวอีกด้านหนึ่งของท่าน ความเป็นจริงที่อาจถูกมองข้ามและบิดเบือนไป สัปดาห์นี้รายการคิดเล่นเห็นต่างกับคำผกาจะขอย้อนประวัติศาสตร์ในสมัยจอมพล ป. พิบูลสงครามให้ได้รับทราบกัน
 
จอมพล ป. พิบูลสงครามเกิดในปี 2440 ที่จังหวัดจันทบุรี จนกระทั่งท่านได้ไปเรียน วิชาทหารปืนใหญ่ที่ประเทศฝรั่งเศส ในปี 2467 และท่านเองก็เป็นหนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้ง "คณะราษฎร"ที่ประเทศฝรั่งเศส วัตถุประสงค์เปลี่ยนแปลงการปกครองครองสยาม หลังจากที่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี 2475แล้วท่านได้รับแต่งตั้งให้เป็นสมาชิกผู้แทนราษฎรชั่วคราว 1 เมาษายน 2476 ได้เกิดการทำรัฐประหารเงียบโดยพระยามโนปกรณ์ นิติธาดา โดยใช้พระราชกฤษฎีกา ยกเลิกบางมาตราในรัฐธรรมนูญ จึงทำรัฐธรรมนูญฉบับนั้นไม่มีผลบังคับใช้ แต่เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2476 จอมพล ป. พิบูลสงครามก็ได้ยึดอำนาจกลับมาจากรัฐบาลและจัดตั้งรัฐบาลคณะราษฎรขึ้นโดยมีพระยาพหลพลพยุหเสนา เป็นนายกรัฐมนตรี ในช่วงเดือนตุลาคม 2476 ระหว่างมีการเลือกตั้งผู้แทนราษฎรได้มีกลุ่มกบฏบวรเดช พยายามยึดอำนาจอีกครั้งแล้วหลวงพิบูลสงคราม(คือตำแหน่งในขณะนั้น)ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้บังคับกองผสม และปราบกบฏได้สำเร็จ
 
ผลงานของท่านที่เห็นได้เด่นชัดในช่วงที่ที่เป็นรัฐมนตรีนั่นคือการสร้างเมืองลพบุรีให้เป็นเมืองทหาร การก่อตั้งนิคมสร้างตนเองเพื่อให้ผู้ไร้ที่ทำกินได้อาศัย และเมื่อถึงเวลาที่ท่านได้เป็นนายกรัฐมนตรีโดยการลงมติจากสภาที่ก็ได้มีนโยบายรัฐนิยมเกิดขึ้น ได้มีการวางศิลาฤกษ์สร้างอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย เมื่อเกิดสงครามอินโดจีนขึ้นเมื่อปี2483 เราได้ญี่ปุ่นเข้ามาช่วยไกล่เกลี่ยความขัดแย้งมีผลให้ไทยได้ครอบครองจังหวัดเสียมราฐ พระตะบอง ศรีโสภณในประเทศกัมพูชา และแขวงจำปาศักดิ์ ไชยบุรีในประเทศลาว และมีการวางศิลาฤกษ์อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิเพื่อเป็นเกียรติแก่ทหารตำรวจที่เสียชีวิตในสงครามครั้งนี้ด้วย
 
เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นอีกครั้งเมื่อมีสงครามโลกครั้งที่ 2 จอมพล ป.พิบูลสงคราม จึงลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในปี 2487 แล้วให้นายควง อภัยวงศ์ ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีแทน 8 ตุลาคม 2488 รัฐบาลในยุคนั้นประกาศใช้กฎหมาย "อาชญากรสงคราม"ซึ่งนั่นทำให้จอมพล ป. พิบูลสงครามตกเป็นผู้ต้องหาก่อนที่ศาลฎีกาจะชี้ขาดว่ากฏหมายอาชญากรสงครามนั้นตกเป็นโมฆะไป
 
ในยุคที่ 2 ของการเป็นนายกรัฐมนตรีของจอมพล ป. พิบูลสงคราม เกิดขึ้นในปี 2490 โดยคณะรัฐประหารที่มีพลโทผิน ชุณหะวัณล้มรัฐบาลของ พลเรือ���รีถวัลย์ นาวาสวัสดิ์ ซึ่งในยุคที่ 2 นี่เอง จอมพล ป. พิบูลสงครามได้ให้ความสำคัญต่องานด้านวัฒนธรรมมาก โดยได้จัดตั้ง กระทรวงวัฒนธรรมขึ้น(และภายหลังได้ถูกยุบไปโดยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์) ในช่วงนี้ได้เกิดกบฏขึ้นมากมาย ทั้งกบฏเสนาธิการทหาร กบฏวังหลวง กบฏแมนฮัตตัน เมื่อวันที่ 14 เมษายน – 22 มิถุนายน 2498 70วันรอบโลกของจอมพล ป. พิบูลสงครามท่านได้เดินทางเยือน17 ประเทศทั่วโลกและได้เกิดมิติใหม่ทางการเมืองขึ้นและเริ่มปฏิรูปประเทศให้เป็นประชาธิปไตยมากขึ้นโดยให้มีการจัดตั้งพรรคการเมืองชื่อว่า พรรคเสรีมนังคศิลา ให้เสรีภาพแก่การชุมนุม วิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลและอื่นๆในที่สาธารณะที่เรียกว่า "ไฮปาร์ค" และการวิจารณ์ในหนังสือพิมพ์ ให้รัฐบาลจัดแถลงข่าวกับสื่อมวลชนที่เรียกว่า "เปรสคอนเฟอร์เรนซ์" จากนั้น เมื่อวันที่ 16 กันยายน 2500 รัฐบาลของจอมพล ป. พิบูลสงครามได้ถูกยึดอำนาจโดยจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นการปิดฉากบทบาททางการเมืองของจอมพล ป. พิบูลสงครามอย่างสมบูรณ์แบบ 
 
ซึ่งเรื่องราวทั้งหมดของจอมพล ป. พิบูลสงครามนี้ทุกท่านจะได้รับชมตลอดทั้งวันเสาร์และวันอาทิตย์ แล้วมาเรียนรู้ประวัติศาสตร์การเมืองไทยในยุคเฟื่องฟูไปพร้อมๆกับเรา
Voice TV
กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี
184Article
76559Video
0Blog