ไม่พบผลการค้นหา
รัฐเวชกรรมกับการควบคุมพลเมือง ตอน 2
การหายไปของคำว่า 'กรรมกร'
อนุสรณ์สถานที่ถูกลืม
พื้นที่ของจอมพล ป. พิบูลสงคราม ในประวัติศาสตร์การเมืองไทย
พื้นที่ของจอมพล ป. พิบูลสงคราม ในประวัติศาสตร์การเมืองไทย ตอนจบ
'เบนโตะ' ในฐานะที่เป็นอุดมการณ์ของรัฐ
ครัวไทยไปครัวโลก..ได้แค่ฝัน หรือเป็นจริง (ตอน 2 )
ประวัติและผลงาน ก้าวย่างที่ไม่เคยเปลี่ยนแปลงของพรรคประชาธิปัตย์
ฟุตบอลกับการเมือง
ปัญหาว่าด้วยเรื่อง..ผัวๆ..เมียๆ..ในสังคมสยาม ตอนที่ 2
กรุงเทพเมืองแห่งการอ่านปี 2556 ของจริง…หรือของปลอม...?
เด็กไทยไปโรงเรียนอย่างไร?
รถไฟความเร็วสูงกับอนาคตของประเทศไทย
ปัญหาว่าด้วยเรื่อง..ผัวๆ..เมียๆ..ในสังคมสยาม ตอนที่ 1
บทเรียนของเทย์เลอร์รีพอร์ตเปรียบกับรายงานคอป.
ความเป็นไปได้ของการเคหะมวลชนในสังคมไทย ตอนจบ
อดีต ปัจจุบัน และอนาคต ของวันพืชมงคล
'ทำไม...คนไทยไม่สวมหมวก'
ประวัติและผลงาน ก้าวย่างที่ไม่เคยเปลี่ยนแปลงของพรรคประชาธิปัตย์ ตอนที่ 2
สถาปนิกแห่งความเป็นไทย
รัฐเวชกรรมกับการควบคุมพลเมือง
Mar 9, 2013 02:04

รายการ คิดเล่นเห็นต่างกับคำผกา วันเสาร์ที่ 9 มีนาคม 2556

        
ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เกิดหิวาตกโรคระบาดหนัก ราชสำนักไทยทำได้มากที่สุดคือ การประกอบราชพิธีอาพาธ ต่อมาพระองค์ทรงเห็นว่า "การพระราชิพธีไม่มีประโยชน์อันใด..ที่เข้าขบวนแห่และหามพระพุทธรูป และพระสงฆ์เดินไปกลางทางก็ล้มลงขาดใจตาย ที่มาถึงบ้านแล้วจึงตายก็มีมาก และตั้งแต่ตั้งพิธีแล้ว โรคนั้นก็ยิ่งกำเริบร้ายแรงหนักขึ้น ....คนทั้งปวงพากันลงความเห็นว่า เพราะการพิธีนั้นสู้ผีไม่ได้ ผีมีกำลังมากกว่า "
   
         
เมื่อหมอบลัดลีย์ หรือหมอบลัดเลย์  ชาวอเมริกัน  มาเป็นมิชชันนารีที่กรุงเทพในปี พ.ศ.2378 และทำให้เกิดวงการแพทย์สมัยใหม่ของสยาม นอกจากบุกเบิกการพิมพ์สมัยใหม่แล้วยังเป็นคนแรกที่ทำการผ่าตัดในสยาม และนำการปลูกฝีป้องกันไข้ทรพิษเข้ามาในสยามเป็นครั้งแรก ในปี พ.ศ.2383 การเปิดรับการแพทย์ตะวันตกเข้ามา ทำให้สังคมไทยได้รู้จักคำว่า"เชื้อโรค"กัน
     
      
ในบันทึกของหมอบลัดเลย์ได้ระบุว่า "ปัญหาเรื่องไข้จับสั่น เกิดจากความโสโครก" พร้อมเสนอแนะว่า "ถ้ามีกฎประกาศให้ราษฎร ชาวเมืองกวาดตามใต้ถุนอันโสโครกที่บ้านของตัวเองให้สะอาด อย่าให้ลามกได้ ถึงเจ็ดวันกวาดครั้งหนึ่งๆตามทำเนียมเมืองนอก...."
     
       
"คนถ่ายอุจจาระ ปะศาวะ แลเทซึ่งสิ่งของที่โสโครกลงใต้ถุน ใกล้ที่นั่งที่นอนแห่งตนฯ..ที่กินอยู่นั้นก็โสโครก ไม่สะอาด ทำให้เปนฝีในท้อง เปนบิด เปนมะเร็ง เป็นไข้อหิวาห์โรคลงราก... หากไม่อยากให้เกิด ก็ต้องอาบน้ำให้สะอาด ซักเสื้อผ้าแลผ้าห่มที่นอนหมอนมุ้งให้สอาด ใต้ถุนก็พึงชำระให้สอาดดี อย่างทำเวจที่ส่งทุกข์ในที่ใกล้ที่อยู่แห่งตนเลย โรคจะบังเกิดขึ้น
         
   
ในต้นรัชกาลที่ 5 พ.ศ.2413 จึงออกประกาศเรื่องเกี่ยวกับการรักษาความสะอาดขึ้น และชาวสยามได้รู้จักตัว "เชื้อโรค"อย่างจริงจัง เมื่อ ยอช แมคฟาแลนด์ ได้ตีพิมพ์หนังสือชื่อ "วิธีป้องกันรักษากาโรค"ในปี พ.ศ.2453 โดยเรียกเชื้อโรคว่า "ตัวเยิม" (Germ) จากนั้นเผยแพร่แบบเรียน เรื่องสุขาภิบาล ต่อมามีกรมสาธารณสุข และเริ่มมีการควบคุม "คน" เป็นการแก้ไขปัญหาเรื่องโรคภัยไข้เจ็บที่ต้นเหตุ มีสภาการแพทย์ และรัฐเวชกรรม มีสัมฤทธิผลในสมัย จอมพล ป.พิบูลสงคราม ในปี 2481 ภายใต้นโยบายสร้างชาติไทยให้ "วัฒนาถาวรเทียมทันอารยประเทศ"
       

และจากยุคควบคุมโรคติดต่อ มาก็ควบคุมเหล้า บุหรี่ น้ำตาล เบาหวาน โรคอ้วน ความดันโลหิต กามโรค เอดส์

Voice TV
กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี
184Article
76559Video
0Blog