ทำความเข้าใจปรากฏการณ์เยลโลว์สโตน ทำไมป้ายเตือนระวังอันตรายถึงไม่มีความหมายสำหรับคนไทย? หรือเป็นเพราะเราเชื่อว่าความเจ็บและความตาย คือ ชะตากรรม ความปลอดภัยไม่ใช่เรื่องที่ป้องกันได้ แต่เป็นเรื่องของดวง
คนไทยให้ความสำคัญต่อเรื่องความปลอดภัยน้อยมากใช่หรือไม่?
เรากำลังอยู่ในสังคมที่ไม่ให้ความสำคัญกับ “คนเป็น” เท่า “คนตาย”
เปรียบเทียบกับข่าวที่คนไทยขับรถตกเหวที่อเมริกา คนไทยให้ความสำคัญกับการกู้ศพขึ้นมา ในขณะที่อเมริกาให้ความสคัญกับความปลอดภัยของคนที่จะไปกู้ศพ ความเชื่อแบบไทย และระบบอุษาคนเนย์ คนที่ตายไปแล้ว ญาติพี่น้องต้องได้ศพกลับมาดูแล
ในความเชื่อแบบตะวันตกที่ผ่านยุคการรู้แจ้งมาแล้ว ให้ความสำคัญกับมนุษย์ที่ยังมีชีวิตอยู่
สังคมแบบไทย หรืออีกหลายสังคมที่ยังไม่เข้าสู่ความสมัยใหม่ เชื่อความตายเป็นชะตากรรม กำหนดไม่ได้ ป้องกันไม่ได้ คนเราไม่ถึงที่ตายก็ไม่ตาย ดังนั้นจึงไม่สนใจเรื่องข้อห้ามเรื่องความปลอดภัย เสี่ยงแค่ไหนก็ไม่ตายถ้าไม่ถึงที่ตาย หรือเชื่อว่าถ้าห้อยพระดีก็ไม่ตาย ต่อให้ทำอะไรที่เสี่ยงต่อชีวิตมากๆ
แต่สังคมตะวันตกเชื่อว่า “ความปลอดภัยสร้างได้” ที่ตายเพราะไม่ระวัง เพราะประมาท เพราะไม่ใช้ศักยภาพของความมนุษย์ป้องตัวเองให้ปลอดภัย ดังนั้นการทำป้ายเตือน การทำตามกฎ การป้องกันตัว การออกแบบที่อยู่อาศัย ยานพาหนะให้ปลอดภัยจึงสำคัญมาก
แต่ทีนี้ถ้าตายไปแล้ว หากต้องเสี่ยงชีวิตคนเป็นในการไปเก็บกู้ศพ เขาต้องรักษาชีวิคนเป็นไว้ก่อน คำนึงเรื่องความปลอดภัยของคนเป็นมากกว่าคนตาย กลับกันแล้ว
สังคมก่อนสมัยใหม่มีความเชื่อว่าคนตายยังไม่ตาย “ร่าง” ต้องได้รับการดูแลจากครอบครัวจนกว่าจะผ่านพิธีกรรมที่ถูกต้องจึงไปสู่สุขคติได้ ดังนั้นต้องทำทุกอย่าง เพื่อให้ได้ ร่างนั้นนกลับคืนสู่ครอบครัว