รายการ คิดเล่นเห็นต่างกับคำผกา ประจำวันที่ 2 ธันวาคม 2555
จากผลงานการวิจัย Urban Renewal in Japan การฟื้นฟูเมืองในประเทศญี่ปุ่น ของคุณสุขุมาภรณ์ จงภักดี การเคหะแห่งชาติ ได้ให้นิยมการฟื้นฟูเมือง หมายถึง การอนุรักษ์อาคารที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ และการอนุรักษ์ย่านอาคารเก่ารวมทั้งภูมิสถาปัตยกรรมของย่านนั้นๆ ดังนั้นการฟื้นฟูเมืองมิได้หมายรวมแค่การรื้อร้างหรือปรับปรุงอาคาร และการอนุรักษ์ย่านเก่าซึ่งเป็นสภาพแวดล้อมด้านกายภาพเท่านั้น แต่หมายรวมถึงการฟื้นคืนชีวิตให้เมืองนั้นๆ ในมิติอื่น เช่นด้านสังคม เศรษฐกิจด้วย
คุณอรรถ บุนนาค ได้เดินทางไปเที่ยวโอซาก้า ประเทศญี่ปุ่นมาเล่าประสบการณ์ที่ประทับใจ คือเมืองนี้จะมีการนำเด็กวัยรุ่น เข้าทำกิจกรรมในเทศกาลต่างๆในโอซาก้า เช่นการแห่พระหรือศาลเจ้าไปรอบๆ เมือง หรือการพาชมปราสาทโอซาก้า ขณะ เดียวกันมีการเปิดพื้นที่สวนสาธารณะให้มีการแสดงดนตรี ประชันกัน หรือการแสดง Girl Groups ซึ่งเป็นมิติทางสังคมที่น่าสนใจ
เมื่อเปรียบเทียบกับเมืองไทยแล้วที่จังหวัดเชียงใหม่ มีการทำถนนคนเดินที่จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งการเล่นดนตรีสากลและพื้นเมือง ทำให้คนหลั่งไหลมาเที่ยวจำนวนมาก
กรุงโซลเองก็มี Urban transformation มีการเปิดพื้นที่ช็อปปิ้งที่สวยงามอลังการ มีร้านกาแฟ และแหล่งช็อปปิ้งตามจำนวนมาก มีพื้นที่ให้ศิลปินแสดงออกทางศิลปะ ซึ่งอยู่ใกล้พระราชวัง มีพื้นที่ให้ประชาชนแสดงออกทางการเมือง เช่นการประท้วง ขับไล่เป็นต้น ทั้งนี้การรื้อถอนอาคารหรือออกชุมชนเพื่อฟื้นฟูเมืองต่างฝ่ายต้องเชื่อไว้เนื้อเชื่อใจกันว่าจะทำสิ่งที่ดีมาสู่กันหรือแม้แต่เขตฮารุมิ โตเกียว ที่ให้อ่าวโตเกียวเป็นฮับไปต่างประเทศ หรือ Housing Corporation เฉกเช่นเมืองพัทยา ที่มีนายกเมืองพัทยาที่พัฒนาเมืองและแบ่งโซนพื้นที่อย่างชัดเจน
ส่วนกรุงเทพมหานคร ทางผู้ว่าราชการกรุงเทพ มองว่า สนามหลวงคือ Renovate แต่กลับกลายเป็นพื้นที่สาธารณะที่กลายเป็นพื้นที่สงวนไป ห้ามค้าหาบเร่ ห้ามทำกิจกรรมทางการเมือง ซึ่งแตกต่างกับการฟื้นฟูเมืองในคลองซองกเยซอน