“ชูวัส” ฟันธงคนหนุน “ประยุทธ์” เริ่มตีตัวออกห่าง แถม “ธีรัตถ์” ก็ชี้ “ม็อบ” จะไม่ใช่แค่คนเรียกร้อง รธน. แต่คนเดือนร้อนจากปัญหาเศรษฐกิจ ก็จะมาร่วมไล่ “ประยุทธ์” ด้วย
งานนี้แอดฯ อยากให้ฟัง “อ.วิโรจน์” ประเมินชีวิตประยุทธ์ หากเคลื่อนไหวปราบม็อบ 3 ทางเลือก หนึ่งในนั้นอาจต้องหนีไปอยู่ต่างประเทศ! คลิกฟังเลยครับ!
นายไพบูลย์ นิติตะวัน ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ ในฐานะรองหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ กล่าวถึงการแก้ไขรัฐธรรมนูญว่า ตอนนี้รอให้มีการเสนอเรื่องเข้าสู่ที่ประชุมสภาและส.ส.อภิปรายก่อน ซึ่งจะมีประเด็นมากมายและพรรคพลังประชารัฐจะจัดตั้งคณะทำงานขึ้นมาหลังจากนั้นทันที
ผู้สื่อข่าวถามว่า ได้มีการพูดคุยถึงแนวทางคร่าวๆหรือไม่ โดยเฉพาะควรจะมีการตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญ(สสร.)ขึ้นมาร่างรัฐธรรมนูญใหม่หรือไม่ นายไพบูลย์ กล่าวว่า เราจะไม่พูดหรือไม่ตั้งอะไรไว้ทั้งสิ้น อยากให้ทุกอย่างเป็นไปตามขั้นตอนก่อน คือการนำเข้าสู่สภา แล้วส.ส.ได้อภิปรายก่อน
เมื่อถามว่าหากไม่เตรียมไว้ก่อนเมื่อถึงเวลาอาจจะตั้งรับไม่ทัน นายไพบูลย์ กล่าวว่า ไม่มีปัญหาเพราะกรรมาธิการเวลาเสนอประเด็นต่างๆจะเขียนไว้ครบถ้วนอยู่แล้ว เพียงแค่มาอภิปรายกันภายในพรรค หรือในพรรคร่วมรัฐบาลว่า จะเอาประเด็นไหนบ้างจากรายงานของคณะกรรมาธิการเท่านั้น โดยในส่วนของกรรมาธิการมีประเด็นกว้างขวางมาก ตั้งแต่หมวดสิทธิเสรีภาพ ซึ่งมีประเด็นที่ต้องแก้ไขทุกหมวด
ทั้งนี้ในส่วนของกรรมาธิการฯ เมื่อส.ส.อภิปรายกันครบถ้วนแล้วก็จะรวบรวมส่งรายงานไปให้รัฐบาล จากนั้นรัฐบาลก็จะนำไปศึกษา ซึ่งในระหว่างนี้พรรคร่วมรัฐบาลก็จะมาคุยกันว่าจุดยืนจะเป็นอย่างไร
“ผมเชื่อว่าสมัยประชุมนี้ซึ่งปิดสมัยประชุมวันที่ 18 กันยายน และจะเปิดใหม่วันที่ 1 พ.ย.ซึ่งอีกแค่ 40 วัน โดยผมเห็นว่าในวันที่ 1 พ.ย.ก็น่าจะเป็นเวลาที่เหมาะสมของรัฐสภาที่จะมีการยกเรื่องของญัตติร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับใดฉบับหนึ่งหรือหลายฉบับขึ้นมาพิจารณาซึ่งผมเชื่อว่าต้นเดือนพฤศจิกายน น่าจะได้เห็นการพิจารณาแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญ”
นายคำนูณ สิทธิสมาน สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) ระบุผ่านเฟฐบุ๊ค ว่า วันนี้ขอพูดอย่างไม่อ้อมค้อมว่า ผู้คนกำลังกังวลกันถึงแนวโน้มของเหตุการณ์ 14 ตุลารอบ 2 หรือไม่ก็ 6 ตุลารอบ 2 ทำอย่างไรจะยับยั้งได้ เพราะถ้ายับยั้งไม่ได้แล้วเกิดขึ้นทับซ้อนบนมหาวิกฤตเศรษฐกิจครั้งใหญ่ในรอบ 100 ปี จินตการไม่ออกเลยว่าจะทุกข์ยากแสนสาหัสกันขนาดไหน
ความขัดแย้งร้อนแรงคุกรุ่นรอบด้าน และพัฒนาเร็วมากอย่างนี้ ความเห็นเบื้องต้นของผม ทั้งในฐานะสมาชิกวุฒิสภาคนหนึ่งและในฐานะคนไทยคนหนึ่งที่จะขออนุญาตเสนอต่อนายกรัฐมนตรีก็คือ โดยหลักแล้วต้องพยายามประคองสถานการณ์ให้ได้รับการแก้ปัญหาให้ได้มากที่สุดในเวทีรัฐสภา โดยกลไกของรัฐสภา และกลไกของรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน เพราะไม่ว่าจะต้องการแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับนี้กันอย่างไร รายประเด็น หรือตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญกันอีกครั้ง ก็ต้องเริ่มต้นด้วยการใช้วิธีการที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้เป็นปฐม ซึ่งทำให้ไม่ว่าจะรังเกียจวุฒิสภาชุดนี้กันอย่างไร หรือจะรีบร้อนไล่ส่งกันอย่างไร แต่ก็ต้องใช้เสียงของสมาชิกวุฒิสภาอย่างน้อย 84 เสียงก่อนในการลงมติเห็นด้วยกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งวาระ 1 และวาระ 3 พยายามใช้รัฐสภาเป็นเวทีประนอมอำนาจก่อนดีกว่า
นายกรัฐมนตรีริเริ่มได้ โดยใช้อำนาจตามรัฐธรรมนูญมาตรา 165 เสนอต่อประธานรัฐสภา ขอให้เรียกประชุมรัฐสภา เพื่อเปิดอภิปรายทั่วไปเป็นการแลกเปลี่ยนข้อมูลและความคิดเห็นระหว่าง นายกรัฐมนตรีกับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา และอาจจะจบลงด้วยการเสนอตั้งคณะกรรมาธิการร่วมกันของรัฐสภา จะชุดเดียวหรือมากกว่าก็ได้ ให้เวลาจำกัดไว้ ไปร่วมแสวงหาหนทางในรายละเอียดต่อไป ไม่เว้นแม้แต่หนทางในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ที่จะเป็นฉันทมติร่วมกัน และแน่นอนรวมทั้งหนทางอื่น ๆ ในการประสานความคิดที่แตกต่างให้สามารถเดินร่วมกันได้สารัตถะของมาตรา 165 มีดังนี้
“มาตรา 165 ในกรณีที่มีปัญหาสำคัญเกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดินที่คณะรัฐมนตรีเห็นสมควรจะฟังความคิดเห็นของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา นายกรัฐมนตรีจะแจ้งไปยังประธานรัฐสภาขอให้มีการเปิดอภิปรายทั่วไปในที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภาก็ได้ ในกรณีเช่นว่านี้ รัฐสภาจะลงมติในปัญหาที่อภิปรายมิได้” ทำเสียแต่วันนี้ ยังไม่สายหรอกครับ