ไม่พบผลการค้นหา
ประเมินนโยบายต่างประเทศรัฐบาลเพื่อไทย สอบผ่านหรือสอบตก
สัมภาษณ์ศาตราจารย์พิเศษ ดร. ชาญวิทย์ เกษตรศิริ
ปูพรมแดงเชิญพม่าเข้าร่วม Cobra Gold
สตรีเหล็กบอกลาโลก แต่เปียงยางยังไม่บอกลานิวเคลียร์
ยิ่งลักษณ์เยือนสหรัฐฯ สาระมาก่อนเสื้อผ้าหน้าผม
จากวอชิงตันถึงเปียงยาง ผู้นำใหม่ ปัญหาเก่า
'โอบามา' ปฏิเสธ เข้าร่วมการประชุมสุดยอดอาเซียนอาทิตย์นี้
การเมืองจีน : ฆาตรกรรม ชิงอำนาจ และผู้นำใหม่
ญี่ปุ่นบุกพม่า ไทยพร้อมจะบุกแล้วหรือไม่?
เยือน เยือน เยือน สัปดาห์แห่งการเยือนของผู้นำเอเชีย
ออสเตรเลียต้องการสาธารณรัฐ อภิสิทธิ์ต้องการแก้ต่างที่ BBC
งานหย่าร้างในรัสเซียและการฉลองครบรอบการอภิเษกสมรสในญี่ปุ่น
Go Global : รำลึก 2 ปีสึนามิญี่ปุ่น ความเศร้าที่ยังคงอยู่
ราชินีเบียทริกซ์สละพระราชบัลลังก์ เปิดทางให้กษัตริย์รุ่นใหม่ขึ้นครองราชย์
ยิ่งลักษณ์เยือนเอเชียกลาง หารือความสัมพันธ์รอบด้าน
เปรียบเทียบระบบราชการไทยและญี่ปุ่น
การเมืองของ 3 มหาอำนาจ - สหรัฐฯ จีน รัสเซีย
สิ่งท้าทายของนโยบายต่างประเทศไทยในปี 2556 ตอนที่ 1
มิเชล โอบาม่าหลบไป... เป็ง ลี่หยวนมาแล้ว
ยิ่งลักษณ์สยบผู้นำญี่ปุ่น เรียกร้องให้มาลงทุนในไทยมากขึ้น
ตระกูลที่ทรงอิทธิพลทางการเมืองอินเดียหวนคืนสังเวียน?
Jan 27, 2013 11:47

รายการ Go Global ประจำวันที่ 27 มกราคม 2556

 

นายบารัค โอบามา ได้เข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ สมัยที่สองอย่างเป็นทางการเมืองวันที่ 20 มกราคมที่ผ่านมา โดยมีการจัดงานใหญ่อย่างสมเกียรติ และในระหว่างการกล่าวสุนทรพจน์นั้น นายโอบามาได้กล่าวถึงความจำเป็นในการสร้างชาติสหรัฐฯ แบบใหม่ที่ตั้งอยู่บนวิถีคิดแบบเก่า นั่นคือ การย้ำถึงความเท่าเทียมกันและโอกาสของชาวอเมริกัน นอกจากนี้ ยังพูดถึงจุดเปลี่ยนผ่านที่สำคัญท่งประวัติศาสตร์ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการส่งเสริมสิทธิพลเมือง บทบาททางการเมืองของสตรี ความเท่าเทียมกันของกลุ่มรักร่วมเพศ เป็นต้น

นางซอนญ่า คานธี มารดาของนายราหุล คานธี ได้แต่งตั้งให้บุตรชายตัวเองขึ้นดำรงตำแหน่งรองประธานพรรคคองเกรสซึ่งเป็นพรรคที่เก่าแก่ที่สุดของอินเดีย เพื่อเตรียมพร้อมในการเลือกตั้งที่จะมีขึ้นในปีหน้า เป็นการปูทางไปสู่การเป็นนายกรัฐมนตรีคนต่อไปของอินเดีย และนับว่าเป็นการหวนคืนสู่สังเวียนทางการเมืองของตระกูลที่ทรงอิทธิพลทางการเมืองที่สุดของประเทศ นับตั้งแต่นายกรัฐมนตรีเนห์รู นางอินทิราและนายราจีฟ แต่ทั้งนี้ นายราหุลยังขาดประสบการณ์ทางการเมือง แม้ว่าจะได้รับเสียงสนับสนุนจากกลุ่มคนรุ่นใหม่ชาวอินเดียก็ตาม

ติมอร์ตะวันออกกำลังเผชิญกับการแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจ หลังจากที่กองกำลังรักษาสันติภาพขององค์การสหประชาชาติได้ถอนออกไปแล้วตั้งแต่ช่วงปลายปีที่ผ่านมา ภารกิจหลักของติมอร์ตะวันออกอยู่ที่การลดปัญหาความยากจนและความต้องพึ่งพาการน้ำเข้าน้ำมันที่มีจำนวนมหาศาล โดยส่วนหนึ่งนำไปใช้ในการสร้างสาธารณูปโภคใหม่ๆ ซึ่งถูกทำลายในช่วงที่อินโดนีเซียเข้ายึดครองติมอร์ตะวันออกเป็นเวลานานถึง 24 ปี นอกจากนี้ ปัญหาเรื่องการขาดแคลนอาหารก็สำคัญและเป็นสิ่งท้าทายรัฐบาลชุดปัจจุบัน

Voice TV
กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี
184Article
76559Video
0Blog