รายการคิดเล่นเห็นต่างกับคำผกา ประจำวันเสาร์ที่ 23 ก.พ.2556
จากบทความ "วัยรุ่นอยู่ที่ไหนในภาพยนตร์ไทย"ของ ดรสะรณ โกวิทวณิชชา ได้บอกไว้ว่า ตลอดระยะเวลาที่ยาวนานกว่า 85 ปีของหนังไทย หนังวัยรุ่นได้แปรเปลี่ยน เป็นหนังตัวเลือกหรือความเสี่ยง สำหรับนักลงทุนสร้างหนัง ที่ทุกวันนี้แทบแยกไม่ออกจากวัฒนธรรมหนังไทยไปซะแล้ว และเป็นเรื่องแปลกที่บางช่วงหนังวัยรุ่นออกมาเกลื่อน และถูกมองว่าไร้สาระ แต่ในความไร้สาระมีการสะท้อนอะไรบางอย่างอยู่
ภาพยนตร์ไทยในยุคแรก จะเป็นหนัง 16 ม.ม มีพระเอก มิตร ชัยบัญชา เป็นพระเอก ในช่วงนั้นไม่มีการแสดงหนังเสมือนจริงได้ โดยเฉพาะก่อน 14 ตุลาปี 2516 ทั้งนี้เป็นเพราะสังคมอยู่ภายใต้ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ จอมพลถนอม กิตติขจร เนื้อหาของหนังไทยจะถูกควบคุมมาก เนื้อหาของหนังจะเป็นในแนวชีวิตของคนร่ำรวย ทายาทรับมรดก หรือแนวจักรๆวงศ์ๆ จนคนดูรู้สึกเบื่อ ซ้ำซาก และมองว่าหนังไทยน้ำเน่า
กลุ่มคนที่เรียกตนเองว่าปัญญาชนจะไม่ดูหนังประเภทนี้ แต่ชอบหนังต่างประเทศมากกว่า และรับเอาวัฒนธรรมอเมริกันเข้ามาแพร่หลายในวัยรุ่น โดยในยุค 14 ตุลาจะมีพวก 5 ย.เข้ามาคือผมยาว เสื้อยืด กางเกงยีนส์ รองเท้ายาง สะพายย่าม
จุดเปลี่ยนของหนังไทยคือในช่วงปลาย 2515 เมื่อมีหนังแหกขนบธรรมเนียมออกมาคือเรื่อง "ชู้"ของเปี๊ยก โปสเตอร์ ,"ตลาดพรหมจารี" ของสักกะ จารุจินดา และหลังเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 หนังได้มีเนื้อหา จริงมากขึ้น หนังแนวคุณครูเริ่มออกมาเช่น คุณครูคนใหม่ (2518) สวัสดีคุณครู (2520) สวัสดีไม้เรียว (2525)
ส่วนหนังของวัยรุ่น ที่สื่อเรื่องการเกเร ยาเสพติดหลัง 14 ตุลา มี ข้าวนอกนา(2518) สาวสิบเจ็ด(2517)ทางโค้ง ( 2518)
แต่ภาพยนตร์ที่เป็นจุดกำเนิดวัยรุ่นคือ วัยอลวน พระเอกคู่พระ คู่นาง ไพโรจน์-ลลนา ที่เข้าฉาย1วันหลังเหตุการณ์ 6 ตุลา 19 รักทะเล้น (2521) ซึ่งตอนนี้ได้มีหลักสูตรการศึกษา เรื่อง มานี มานะ ชูใจ
ส่วนนิยายรักศึกษา ผู้กำกับ คือศุภักษร มีการนำแนวคิดการแต่งเพลงประกอบภาพยนตร์เรื่อง"รักทะเล้น" และทำรายได้ 2 ล้านบาท แล้วมีการสร้างภาคต่อ"ปริญญาครึ่งใบ(2522) และถึงแม้จะมีการวิพากษ์วิจารณ์ว่าหนังศุภักษร ทำลายอุดมการณ์ วิถีปัญญานักศึกษาแต่นั่นเป็นจุดเริ่มต้นของการนำวัฒนธรรมของนักศึกษา เช่น ค่ายอาสามาสู่จอเงิน