ไม่พบผลการค้นหา
คำถาม?... หลังจากน้ำลด
จักรพรรดิกับประชาธิปไตย
จากOVOP สู่ OTOP กับการพัฒนาที่ยั่งยืน
ประวัติศาสตร์ว่าด้วย..ของต้องห้าม!! ในสังคมไทย
การเมืองในแบบเรียนประวัติศาสตร์ไทย
การบ้านของเด็กควรลด หรือ ยกเลิก
นิตยสารเกย์ ในเมืองไทย
ประวัติศาสตร์ว่าด้วย..ของต้องห้าม!! ในสังคมไทย ตอน 2
อาหารเกียวโต... วัฒนธรรมไร้รูป มรดกโลก
วรรณกรรมต้องห้ามในร้านหนังสือ
โรงอาบน้ำสาธารณะคืออะไร...และอย่างไร?
ยุทธศาสตร์เปลี่ยน 'วัฒนธรรม' เป็น 'สินค้า' บทเรียนจากญี่ปุ่น
การเมืองในแบบเรียนประวัติศาสตร์ไทย ตอน 2
'ทำไม...คนไทยไม่สวมหมวก'
ประวัติศาสตร์การรับน้องและระบบ Sotus ในประเทศไทย (ตอนจบ)
ความขาว การเมือง เชื้อโรค
แนวความคิดอนุรักษ์ มาจากไหน?
ความหมายและหน้าที่ของพิพิธภัณฑ์ (ตอนจบ)
"New Year Resolutions"
วิชาสร้างพลเมืองแบบไทยๆ 'สร้าง' หรือ 'ทำลาย' พลเมือง
ความเป็นไทย...ใน Lonely Planet
Dec 8, 2013 12:59

รายการ คิดเล่นเห็นต่าง กับ คำผกา ประจำวันที่ 8 ธันวาคม 2556
 

จากบทความ "เรื่องเล่านักเดินทาง ภาพแทนและดินแดนเอ็กโซติก: การประกอบสร้าง "ไทย" ในหนังสือ Lonely Planet  ของ อ.นัทธนัย ประสานนาม  ที่ได้กล่าวถึงมโนทัศน์เรื่องวาทกรรมถูกประยุกต์ใช้อย่างกว้างขวางในวงการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์  "เอ็ดเวิร์ด ดับเบิลยู ซาอิด"  ซึ่งเป็นนักคิดอีกคนหนึ่งที่ใช้แนวคิดของฟูโกต์มาอธิบายสิ่งที่เขาเรียกว่า บูรพคดีนิยม( Orientalism) บูรพคดีนิยมนี้จะโยงใยไปเป็นระบบของการ "รับรู้" และ "การนำเสนอภาพแทน"ในโลกตะวันออก 

"ซาอิด" ได้กล่าวถึงบูรพคดีนิยมในฐานะที่เป็นวาทกรรมชุดหนึ่งได้สร้างตะวันออกขึ้นมา โดยที่ตะวันออกดำรงอยู่จริง สำหรับตะวันตกในตัวบทนั้นๆและบูรพคดีนิยมหรือความเป็นอื่นของตะวันออกเมื่อซ้ำมากเข้า ก็กลายเป็นความจริงขึ้นมาในความคิดของผู้อ่าน

วรรณกรรมการเดินทาง(Travel writing)ของชาวตะวันตกที่มาเยือนประเทศไทย นั้นมีจำนวนมากที่เขียนถึงประเทศไทยทั้งในลักษณะหนังสือนำเที่ยวและบันทึกการเดินทาง เช่นเรื่อง "ภาษา" ที่ใช้สื่อการท่องเที่ยว เป็นวาทกรรมที่มีรูปแบบเฉพาะที่มีความพยายาม ชักจูง เชิญชวน หลอกล่อ ให้ผู้ที่มีความคิดที่จะท่องเที่ยวออกเดินทางไปยังดินแดนต่างๆ โดยแบ่งออกเป็น  4 มุมมองคือ 1.ความเป็นจริงแท้ 2.ความแปลกต่าง 3.การละเล่น ที่สร้างความตื่นตาตื่นใจ แต่งเติมเสริมแต่งเกินความเป็นจริง 4.ความขัดแย้ง เป็นการนำเสนอภาพลักษณ์ ดินแดนที่นักท่องเที่ยวอยากจะเดินทางมาท่องเที่ยวไม่เหมือนกับความเป็นจริงทางสังคมและวัฒนธรรมของดินแดนนั้นๆและสร้างให้ดินแดนนั้นเป็นสิ่งที่ตื่นตา ตื่นใจ โดยไม่คำนึงถึงองค์ประกอบทางสังคม วัฒนธรรมของถิ่นนั้นๆ

ในหนังสือ Lonely planet  หรือนักเดินทางผู้โดดเดี่ยว และยังหมายถึง ราคาถูก สามารถเดินทางในระยะยาวได้หนึ่งปี แสวงหาของแท้ ดั้งเดิม ของพื้นเมืองและเดินทางอย่างใกล้ชิดกับคนท้องถิ่นมากกว่านักท่องเที่ยวทั่วไป กลุ่มนักเดินทางแบบสะพายเป้  ที่เริ่มงานเขียนใน  Lonely planet  คือโทนีและมอรีน วีลเลอร์ (Tony and Maureen Wheeler)ที่หลอมรวมประสบการณ์การเดินทาง ของนักเดินทางคนอื่นๆอีก  เช่นการเขียนถึงประเทศไทย ส่วนแรกให้ความรู้ภาพกว้างของประเทศ และส่วนที่สองเป็นการให้รายละเอียดที่เจาะจง เฉพาะแต่ละจังหวัด

การกล่าวถึงกรุงเทพฯ Lonely planet   ยังได้เสนอภาพที่น่าพิศวง เช่นความร้อน คนร้องขายของ และชายหญิงขายบริการ กรุงเทพฯได้กลายเป็นสวนสัตว์ยามค่ำคืน เช่นจะได้เห็นช้างเดินตามถนน มีไฟท้ายติดอยู่นอกจากนี้ความทรงจำที่ดีที่สุดเกี่ยวกับประเทศไทย เช่นกลิ่นหอมและเสียงระฆัง เสียงร้องเหมือนห่านของรถโดยสารประจำทาง  ผ้าสีผูกตามต้นไม้ กลิ่นพริกโชยจากร้านอาหารริมทาง หรือไก่ย่างจนเกรียมเป็นต้น รายละเอียดการสื่อถึงดินแดนเอ็กโซติกในส่วนอื่นๆนั้น ติดตามได้ในรายการ

Voice TV
กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี
185Article
76559Video
0Blog