ไม่พบผลการค้นหา
World Trend - 'เจฟฟ์ เบซอส' ประกาศพาคนไปดวงจันทร์ปี 2024 - Short Clip
World Trend - มหาเศรษฐีโลกรวยขึ้นวันละ 2,500 ล้านดอลลาร์ - Short Clip
World Trend - ​อดีตภรรยา 'เบซอส' บริจาคเงิน 50% ให้การกุศล - Short Clip
World Trend - 'เจฟฟ์ เบซอส' แห่ง Amazon รวยกว่า 48 ประเทศรวมกัน - Short Clip
World Trend - นักแสดงผิวสีจัดฉากโดนทำร้าย หวังขึ้นค่าตัว - Short Clip
World Trend - ทรัมป์ค้านฝรั่งเศสเก็บภาษีบริษัทไอที - Short Clip
World Trend - รีอานนากับโมเดลธุรกิจ 'ขายตรงให้แฟนๆ'
World Trend - ญี่ปุ่นมุ่งแก้ปัญหาฆ่าตัวตายอย่างจริงจัง - Short Clip
World Trend - คำสั่งเสียง AI ทำให้เกิดอคติทางเพศสภาพ - Short Clip
World Trend - CNN ตั้งราคาโฆษณาดีเบตการเมือง 9.3 ล้านบาท - Short Clip
World Trend - อังกฤษเตรียมแบนขนมหวานหน้าแคชเชียร์ - Short Clip
World Trend - 'ห่อกลับ' ลดปริมาณขยะจริงหรือ? - Short Clip
World Trend - ​'ลา ลีกา' ถูกปรับหลังดักฟังสมาร์ตโฟนผู้ชม - Short Clip
World Trend - ชาวต่างชาติในจีนส่งลูกเรียนรร.รัฐมากขึ้น - Short Clip
World Trend - ​'ชุดตรวจดีเอ็นเอสุนัข' ขึ้นแท่นสินค้าฮิตแอมะซอน - Short Clip
World Trend - 'สปอติฟาย' กับการก้าวให้ทันบริษัทเทคโนโลยีแถวหน้า - Short Clip
World Trend - 5 บริการสุดแปลกในจีนที่เงินซื้อได้ - Short Clip
World Trend - เน็ตฟลิกซ์ขึ้นราคาทำลูกค้ารายได้น้อยเลิกดู - Short Clip
World Trend - อังกฤษปรับ 'เพศศึกษา' ให้ครอบคลุมกว้างกว่าเดิม - Short Clip
World Trend - ออปโป้จดสิทธิบัตรดีไซน์ 'จอซ้อนจอ' - Short Clip
World Trend - แอมะซอนกับการปรับค่าแรงเอาชนะคู่แข่ง - Short Clip
Oct 4, 2018 16:31

การปรับขึ้นค่าแรงถือเป็นการเพิ่มต้นทุนที่หลายบริษัทไม่ต้องการ แต่ล่าสุด กับการปรับขึ้นค่าแรงของบริษัทระดับโลกอย่าง แอมะซอน กลับทำให้นักวิเคราะห์ออกมาชี้ว่า นี่คือกลยุทธ์ในการตัดคู่แข่งที่ชาญฉลาด

แอมะซอน บริษัทอีคอมเมิร์ซรายใหญ่จากสหรัฐฯ ประกาศเตรียมปรับค่าแรงขั้นต่ำให้กับพนักงานเป็น 15 ดอลลาร์ หรือราว 490 บาทต่อชั่วโมง ซึ่งจะครอบคลุมถึงพนักงานประจำ พนักงานพาร์ตไทม์ ลูกจ้างชั่วคราว และลูกจ้างตามฤดูกาลในสหรัฐฯ กว่า 250,000 คน หลังจากที่มีการร้องเรียนและรายงานข่าวออกมาอย่างต่อเนื่อง ถึงสภาพความเป็นอยู่ของลูกจ้างแอมะซอน ที่ไม่ได้ดีสอดรับกับผลประกอบการของบริษัท และจำนวนหนึ่งต้องพึ่งพา 'อากรอาหาร' หรือ Food Stamp สวัสดิการแลกรับอาหารของรัฐ ในการใช้ชีวิต

ทั้งนี้ การปรับขึ้นค่าแรงจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 พฤศจิกายนนี้ และจะครอบคลุมถึงลูกจ้างตามฤดูกาลที่ยังไม่ได้รับการว่าจ้างอีก 100,000 คน ในช่วง Holiday Season หรือ วันหยุดต่อเนื่องคริสต์มาสและปีใหม่ โดยแอมะซอนระบุด้วยว่า จะล็อบบีให้รัฐบาลกลางสหรัฐฯ ปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำให้มาอยู่ที่ 15 ดอลลาร์ต่อชั่วโมงเท่ากัน ซึ่งถือเป็นเรตที่ลูกจ้างบริษัทค้าปลีกและพนักงานฟาสต์ฟู้ดทั่วประเทศเรียกร้องกันมานาน หลังจากที่คองเกรสไม่ได้ลงคะแนนปรับค่าแรงขั้นต่ำมาเป็นเวลาเกินทศวรรษ และค่าแรงขั้นต่ำกลางของสหรัฐฯ ยังอยู่ที่ 7.25 ดอลลาร์ หรือ 240 บาทต่อชั่วโมง

จากรายงานนี้ทำให้ The Atlantic เขียนบทวิเคราะห์ถึงการปรับขึ้นค่าแรงดังกล่าว โดยชี้ว่าเป็นกลยุทธ์ธุรกิจที่ง่าย แต่ชาญฉลาดของ เจฟฟ์ เบซอส ซีอีโอของแอมะซอน ในการช่วยเหลือพนักงาน แซงหน้าคู่แข่ง และหยุดเสียงวิจารณ์ลงได้ในคราวเดียว ซึ่งบทความล่าสุดโดย ดีเรก ทอมป์สัน ชี้ว่า ทฤษฎีที่แวดล้อมการขึ้นค่าแรงครั้งนี้มีอยู่อย่างน้อย 3 ทฤษฎีด้วยกัน

1. ทฤษฎีซื้อใจประชาชน นั่นคือ แอมะซอนต้องการลดแรงกดดันจากนักวิจารณ์ ที่ระบุว่าบริษัทร่ำรวยมหาศาล และมีผู้บริหารที่ได้รับค่าจ้างมากกว่าคนทั่วไปหลายเท่า แต่กลับมีพนักงานที่ต้องรับสวัสดิการจากรัฐอย่างต่อเนื่องมากกว่า 500 คน ซึ่งในการประกาศขึ้นค่าแรงครั้งนี้นั้น เบซอสได้ระบุในแถลงการณ์ว่า 'เรารับฟังนักวิจารณ์เสมอ และเราก็คิดอย่างหนักว่าควรทำอย่างไรต่อไป ซึ่งเราก็ตัดสินใจได้ว่าต้องเป็นผู้นำในการขึ้นค่าแรงครั้งนี้'

2. ทฤษฎีปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจ นั่นคือ แอมะซอนปรับขึ้นค่าแรงไม่ใช่เพราะแรงกดดันทางการเมือง แต่เพราะแรงกดดันด้านเศรษฐกิจ โดยในตลาดที่มีอัตราการว่างงานน้อยกว่า 4 เปอร์เซ็นต์อย่างในสหรัฐฯ เช่นนี้ เป็นการยากต่อทุกบริษัทในการจ้างงานด้วยค่าจ้างที่ต่ำมาก ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งงานในโกดังสินค้า ที่หนักและกินระยะเวลานาน ซึ่งค่าแรงในธุรกิจประเภทนี้มักเพิ่มรวดเร็วกว่าค่าเฉลี่ยของทั้งประเทศอยู่แล้ว

โดยแอมะซอนไม่ใช่บริษัทเดียวที่ปรับขึ้นค่าแรงหลังจากที่อัตราการว่างงานต่ำขนาดนี้ ในช่วงไม่กี่ปีมานี้ วอลมาร์ต ทาร์เก็ต และแก๊ป ก็ปรับขึ้นค่าแรงมาแล้วเช่นกัน แม้จะไม่มีใครปรับขึ้นมาถึงระดับ 15 ดอลลาร์ต่อชั่วโมงอย่างแอมะซอนก็ตาม

3. ทฤษฎีความอัจฉริยะของเบซอส (Bezos-galaxy-brain Theory) นั่นคือ การปรับขึ้นครั้งนี้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการประกาศทำเลสำนักงานแห่งที่สองของบริษัท ซึ่งหลายฝ่ายคาดว่าจะเป็นในกรุงวอชิงตัน ดีซี ซึ่งจะทำให้แอมะซอนกลายเป็นหนึ่งในองค์กรที่มีสิทธิ์วิพากษ์วิจารณ์การทำงานของรัฐบาลโดยตรง และนี่อาจเป็นช่องทางของเบซอสในการย้ายสำนักงานไปยังเมืองหลวงให้ราบรื่นที่สุด

ยิ่งไปกว่านั้น หากบริษัทเดินหน้าล็อบบีให้มีการปรับค่าแรงกลางเป็น 15 ดอลลาร์ต่อชั่วโมงจริง คู่แข่งรายอื่น ๆ ในตลาดที่ไม่มีทุนพอจะปรับขึ้นค่าแรงก็จะค่อย ๆ หมดหนทางแข่งขันไปเอง และบริษัทที่มีเทคโนโลยีจักรกลทุนแรงราคาสูงพร้อมใช้อย่าง แอมะซอน จะเป็นเพียงหนึ่งในไม่กี่บริษัทที่อยู่ได้ในธุรกิจต่อไป เท่ากับว่าเป็นการตัดคู่แข่งได้ทางหนึ่ง ซึ่งเหตุผลที่แท้จริงของเบซอสอาจมาจากทั้งสามปัจจัยที่ว่านี้ก็เป็นได้

อย่างไรก็ตาม หลังการประกาศปรับขึ้นดังกล่าว ยังคงมีกระแสวิพากษ์วิจารณ์แอมะซอนอยู่บ้าง หลังจากบริษัทเลือกที่จะปรับลดทางเลือกการซื้อหุ้นของพนักงาน และตัดโบนัสจูงใจการทำงานออก สำหรับลูกจ้างบางประเภท ซึ่งแอมะซอนยืนยันว่า การเลือกค่าแรงขั้นต่ำเป็นประโยชน์ต่อพนักงานมากกว่า

ก่อนหน้านี้ แอมะซอนมีแผนกหุ้นพนักงาน ที่เรียกว่า RSUs ซึ่งเป็นรูปแบบหนึ่งของการชดเชยค่าจ้างให้กับพนักงานรายชั่วโมงในโกดังและฝ่ายบริการลูกค้า ซึ่งทางเลือกนี้จะการันตีว่าพนักงานเหล่านี้มีสิทธิ์จะได้ถือหุ้นแอมะซอน เมื่อราคา Individual Shares มากกว่า 1,950 ดอลลาร์ หรือ 64,000 บาท และการการันตีนี้จะไม่อยู่ในข้อตกลงอีกต่อไปเมื่อปรับค่าแรงในเดือนพฤศจิกายน ขณะที่โบนัสรวมรายเดือนสำหรับพนักงานโกดังเมื่อทำยอดการผลิตได้ตามเป้าก็จะหมดไปด้วยเช่นกัน

สิ่งสำคัญที่สุดที่ต้องจับตาดู คือ ท่าทีของรัฐบาลกลางสหรัฐฯ หลังจากนี้ ว่าจะมีการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำทั่วประเทศหรือไม่ และจะส่งผลอย่างไรต่อเศรษฐกิจโดยรวมของสหรัฐฯ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในช่วงที่ต้องทำสงครามการค้ากับจีน ซึ่งเป็นประเทศคู่ค่ารายใหญ่ไปด้วยเช่นนี้


Voice TV
กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี
185Article
76559Video
0Blog