ดีแทค และกระทรวงดีอี ร่วมกันวางแนวทาง และเปิดช่องทางให้เด็ก-เยาวชน ที่ถูกกลั่นแกล้งทางไซเบอร์ ส่งเรื่องร้องเรียน และขอคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญ ขณะที่งานวิจัยพบว่า พฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตของเด็กไทย สุ่มเสี่ยงให้เกิดกลั่นแกล้งทางไซเบอร์
'Child Chat Line' เป็นบริการห้องแชท สำหรับเด็กและเยาวชน ที่ต้องการร้องเรียน หรือขอคำปรึกษาเมื่อถูกกลั่นแกล้งทางไซเบอร์ (Cyberbullying) บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด(มหาชน) หรือ DTAC (ดีแทค) เปิดให้บริการนี้มาตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2560 พบว่า มีผู้ขอคำปรึกษา 278 คน
แถลงเลิฟแคร์ไม่รังแกกันนี่เป็นบริการหนึ่งในโครงการ 'Safe Internet' ซึ่ง ดีแทค จัดทำขึ้นตั้งแต่ปี 257 เพื่อสนับสนุน และส่งเสริมการสร้างสภาพแวดล้อมทางอินเทอร์เน็ตที่ปลอดภัยต่อเด็กและเยาวชน นอกจากนี้ ยังจัดเดินสายไปให้ความรู้แก่นักเรียนประถมปลายกว่า 50 แห่ง รวม 27,000 คน เพื่อสอนวิธีรับมือหากถูกกลั่นแกล้งทางไซเบอร์
ขณะที่ในปีนี้ (2561) กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) ได้เข้ามาร่วมสนับสนุนการลดปัญหานี้ จัดตั้งโครงการ "Stop Bullying เลิฟแคร์ไม่รังแกกัน" พร้อมเปิดตัวบริการให้คำปรึกษาและช่วยเหลือเด็ก-เยาวชนผ่าน 'Stop Bullying Chat Line' ในช่วงเวลา 16.00 - 22.00 น. โดยประสานกองบังคับการปราบปรามการกระทำผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (ปอท.)
ผลการวิจัยเรื่อง 'การกลั่นแกล้งบนโลกไซเบอร์ในนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น' พบ 1 ใน 3 ของเด็กไทยมีประสบการณ์กลั่นแกล้ง และถูกกลั่นแกล้งบนโลกออนไลน์ โดยผู้ตอบแบบสำรวจ ร้อยละ 34.6 เคยแกล้งคนอื่น , ร้อยละ 37.8 เคยถูกกลั่นแกล้ง และร้อยละ 39 เข้าร่วมในเหตุการณ์กลั่นแกล้งด้วย ส่งผลให้พฤติกรรมนี้ขยายวงกว้าง
ส่วนสิ่งที่น่ากังวลคือ ร้อยละ 65 เคยให้เพื่อนใช้โทรศัพท์มือถือขณะที่ยังล็อกอินอยู่บนโซเชียลมีเดีย , ร้อยละ 28 เคยลืมล็อกเอาท์หลังจากใช้คอมพิวเตอร์สาธารณะ และร้อยละ 48 มีคนอื่นรู้รหัสผ่านของตัวเอง โดยส่วนใหญ่เป็นเพื่อน