ไม่พบผลการค้นหา
Wake Up News - เอาผิด CSI LA ไม่ใช่แก้เกี้ยวนาฬิกาหรู - Short Clip
Wake Up News - ผู้ว่าฯกทม. ไม่ตรวจน้ำท่วม เพราะกลัวรถติด - Short Clip
Wake Up News - 'จาตุรนต์' ชี้ 'สุเทพ' โดนด่าเพราะไม่รักษาคำพูด แจงยังไม่ถูกทาบทามคุมหาเสียง - Short Clip
Wake Up News - 'ธนาธร' ลุยสยามหาเสียง ไม่หวั่นคดีถูกเร่งรัด - Short Clip
Wake Up News - อ.นิด้า ชี้ ครม.ใหม่ ยิ่งอยู่นาน ภาพลักษณ์ยิ่งแย่ - Short Clip
Wake Up News - อดีตขุนคลัง ตั้ง 3 ข้อสงสัยทำไมรับอนุมัติ 'ไฮสปีดเรล' - Short Clip
Wake Up News - อยากฝาก 'เฌอปราง' ถามอะไร นอกจากตัดงบการศึกษา - Short Clip
Wake Up News - 'อภิสิทธิ์' ประกาศไม่หนุน 'ประยุทธ์' นั่งนายกฯ - Short Clip
Wake Up News - โค้งสุดท้ายหาเสียง 'พรรคเพื่อไทย' ออกนโยบาย 'หวยบำเหน็จ' - Short Clip
Wake Up News - ทำไมคนยังคิดถึงแต่ 'ทักษิณ' - Short Clip
Wake Up News - อะไรคือกรอบในการวิจารณ์ คนนามสกุลเดียวกัน - Short Clip
Wake Up News - ป.ป.ช. ไม่รับใบสั่งใครเร่งคดี 'ชัชชาติ' - Short Clip
Wake Up News - 'ประวิตร' ให้ตำรวจคุย 'นิพิฏฐ์' แฉแหกตาคืนโฉนด - Short Clip
Wake Up News - 'บิ๊กตู่' ย้ำ เหลื่อมล้ำข้อมูลเก่า ขออย่าแชร์ - Short Clip
Wake Up News - แค่จะจ่ายค่าน้ำ – ไฟ 'จาตุรนต์' ก็ต้องขอคสช. - Short Clip
Wake Up News - 'ธนาธร' ปัดเสนอพา 'ทักษิณ' กลับบ้าน - Short Clip
Wake Up News - 'อุตตม' ยัน ทำแน่ลดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา - Short Clip
Wake Up News - น้ำท่วมบางเขน เพราะกุญแจเปิดเครื่องระบายน้ำหาย - Short Clip
Wake Up News - 'วีระ' ยัน สาว ธ.ก.ส.ร้องทุจริตจำนำข้าวไม่ได้บ้า - Short Clip
Wake Up News - 'ทักษิณ' ใส่นาฬิกาหรูกระทบ 'บิ๊กป้อม' - Short Clip
Wake Up News - 'สุริยะใส' ชู ธรรมาธิปไตยโค่นล้มทุนสามานย์ - Short Clip
Sep 24, 2018 06:05

นายสุริยะใส กตะศิลา ได้โพสต์ข้อความผ่านแฟนเพจเฟซบุ๊ก ระบุว่า เมื่อวานนี้ (23 ก.ย.61) ผมได้รับเชิญจาก โรงเรียนการเมืองของพรรครวมพลังประชาชาติไทย (รปช.) (อยู่ระหว่างการพิจารณารับรองจาก กกต.) ไปบรรยายให้กับ นักศึกษารุ่นที่ 1 ซึ่งส่วนใหญ่ เป็นผู้ร่วมจัดตั้งพรรคประมาณ 70 คน

ผมได้รับมอบหมายให้บรรยายในหัวข้อการเมืองไทยร่วมสมัยร่วมกับรศ.ดร.จักษ์ พันธ์ชูเพชร โดย อ.จักษ์ ได้บรรยายถึงประวัติศาสตร์การเมืองไทยมาจนถึงช่วงรัฐธรรมนูญ 2540 ส่วนผมรับผิดชอบบรรยายช่วงความขัดแย้งทาง การเมืองตั้งแต่ปี 2548 มากระทั่งปัจจุบัน

ผมพยายามชี้ชวนให้นักศึกษาถอดบทเรียนความขัดแย้งทางการเมืองและช่วยกันหาทางออก ไปในคราวเดียวกันด้วย ห้องเรียนห้องนี้ค่อนข้างเห็นตรงกันว่าประเทศเราแม้จะดูสงบเรียบร้อยมากขึ้นแต่ดูเหมือนยังไม่ปลอดภัยจนวางใจเสียทีเดียว

ในขณะเดียวกันภารกิจของประชาชนผู้รักชาติบ้านเมืองก็ดูเหมือนยังไม่จบยังมีงาน ที่เราต้องทำกันต่อ

นักศึกษาต่างเห็นตรวกันว่าการคั้งพรรคการเมืองที่เป็น “พรรคของประชาชน” อย่างแท้จริงให้ประชาชนร่วมกำหนดนโยบายกำหนดคณะผู้บริหารพรรค กำหนดผู้ลงสมัครของพรรค หรือกำหนดชะตากรรมของพรรคได้โดยตรง น่าจะเป็นความจำเป็นในสถานการณ์ปัจจุบันและอยู่ในเงื่อนไขที่พลังของความเสียสละในน้ำมวลมหาประชาชนสามารถร่วมแรงร่วมใจกันได้มากที่สุด

ในห้องเรียนยังมองว่า วิกฤติปัญหาที่ทำให้การเมืองไทยล้มเหลวและเกิดความขัดแย้งแตกแยก ส่วนสำคัญส่วนหนึ่งนั้นปฎิเสธไม่ได้ว่าเกิดจากทุนผูกขาดสามานย์และนักเลือกตั้งบางส่วนเข้ามายึดอำนาจรัฐและกอบโกยเอาประโยชน์จนเกิดการทุจริตคอรัปชั่นอย่างมโหฬาร

พลังของประชาชนอาจจะขับไล่ โค่นล้มได้ในบางครั้งบางครา แต่ความชั่วร้ายเหล่าเรานั้นก็ไม่ได้หายไปเสียทีเดียว ถ้าเราไม่ไปแก้ที่ต้นเหตุโดยเฉพาะการ พยายามทำให้ระบอบประชาธิปไตยมีรูปแบบและเนื้อหาที่สอดคล้องกับบริบทของสังคมไทยให้มากที่สุดไม่ใช่นำเข้าจากฝรั่งตะวันตกโดยไร้การกลั่นกรอง ส่งผลทำให้คุณค่าของประชาธิปไตยถูกลดทอนหรือแค่การเลือกตั้งและเรื่องของเสียงข้างมาก ที่กลายเป็นอำนาจเด็ดขาดไม่ได้คำนึงถึงความถูกต้องชอบธรรมแต่อย่างใด

นี่เองเป็นเหตุผลหนึ่งที่คำว่า “ธรรมาธิปไตย” ได้กลายเป็นอุดมการณ์หนึ่งของพรรครวมพลังประชาชาติไทยและดูเหมือนได้รับความสนอกสนใจในห้องเรียนครั้งนี้

“ธรรมาธิปไตย” คือความพยายามจะพลิกเปลี่ยนการเมืองไทยจากประชาธิปไตยที่มีลักษณะเอาอำนาจเอาเสียงข้างมากนำทาง เปลี่ยนมาเป็นเอาความชอบธรรม ความดีความถูกต้องมานำทาง

นี่น่าจะเป็นลักษณะประชาธิปไตยที่มีความสอดคล้องเหมาะสมสังคมไทยที่สุด


จริงๆในห้องเรียนมีการแลกเปลี่ยนกันอย่างเข้มข้นเพราะนักเรียนส่วนใหญ่เป็นผู้ผ่านประสบการณ์เคลื่อนไหวแนะนำมวลมหาประชาชนมาแล้ว

ผม คิดว่าโรงเรียนการเมืองของพรรครวมพลังประชาชาติไทย (รปช.) ถือเป็น “นวัตกรรมทางการเมือง” ที่น่าสนใจอย่างยิ่ง ที่พรรคการเมืองให้ความสำคัญกับการพัฒนาและยกระดับผู้ปฏิบัติงานเจ้าหน้าที่พรรค กรรมการบริหารกรรมการสาขาพรรค กระทั่งผู้ที่จะสมัคร ส.ส. ก็ต้องผ่านหลักสูตรต่างๆที่ได้มีการออกแบบไว้แล้วเป็นรุ่นๆไป

“โรงเรียนการเมือง” มิเพียงแต่ เป็นที่บ่มเพาะและสรรค์สร้างนักการเมืองรุ่นใหม่ใหม่เพื่อทำงานให้บ้านเมืองเท่านั้น แต่นี่จะเป็นเวทีสำคัญในการระดมการมีส่วนร่วมของประชาชนทั้งที่เป็นสมาชิกพรรคและไม่ได้เป็นให้มีเวทีถกแถลง ร่วมกันเสนอทางออกเสนอนโยบายและแนวทางในการแก้ปัญหา เพื่อพัฒนาบ้านเมืองต่อไป

นี่แหละคือหัวใจของ “พรรคการเมืองของประชาชน” อย่างแท้จริง



Voice TV
กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี
184Article
76559Video
0Blog