ไม่พบผลการค้นหา
'ภูมิธรรม' เผย คณะอรหันต์ทำประชามติ จ่อให้สภาถกแก้ประชามติ ส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความ

วันนี้ (24 พย.) ภูมิธรรม เวชชยชัย รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.พาณิชย์ ในฐานะประธานคณะกรรมการศึกษาแนวทางการทำประชามติแก้รัฐธรรมนูญ กล่าวว่า วันนี้เป็นวาระการประชุมคณะกรรมการชุดใหญ่การทำประชามติ ซึ่งคณะอนุกรรมการฯ มารายงานความคืบหน้า เรื่องการรับฟังความคิดเห็นประชาชนซึ่งคืบหน้าไปพอสมควร ซึ่งเหลืออีก 2 ขั้นตอน คือการรับฟังความคิดเห็น กลุ่มชาติพันธุ์ในภาคเหนือ และ กลุ่มมุสลิมในภาคใต้ ส่วนสภาถ้ามีการเปิดสมัยประชุมในเดือนธันวาคม จะมีการเปิดการรับฟังความคิดเห็นของ สส. ในเรื่องนี้ด้วย เพื่อเพื่อให้ครบถ้วนในการรับฟังความคิดเห็น และ เป็นข้อสรุปของคณะกรรมการ ส่งเรื่องไปยังที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ด้วย

ส่วนคณะอนุกรรมการศึกษาเกี่ยวกับการทำประชามตินั้น จะทำประชามติกี่ครั้ง จะแก้มาตรา 256 หรือไม่ มีความคิดเห็นที่แตกต่างกันมาก แต่จะพยายามเชื่อมโยงในข้อกฎหมาย โดยใช้กฎหมายการทำประชามติ ยึดหลัก สามารถทำให้การแก้รัฐธรรมนูญให้เกิดประโยชน์ และเป็นประชาธิปไตยตามที่ประชาชนอยากเห็นมากที่สุด และการทำประชามติจะเป็นเครื่องมือที่ทำให้เกิดรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ และทำให้รัฐธรรมนูญทันสมัยขึ้น ซึ่งกำลังมองไปถึงกฎหมายประชาติที่สามารถเปิดอำนาจให้มีการ ทำประชามติร่วมกับการเลือกตั้งท้องถิ่นได้ ซึ่งไม่เคยมีความชัดเจนในกฎหมายมาก่อน ซึ่งจะให้คณะอนุกรรมการไปหาข้อสรุปที่เหมาะสมมาก่อน

ทั้งนี้ที่ประชุมได้มีมติ ให้ตนทำจดหมายถึงคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เพื่อสอบถามความคิดเห็นนี้ แล้วต้องการทำให้เป็นทางการและสามารถบังคับใช้ได้ตามกฎหมาย แล้วทำให้เกิดความชัดเจนมากยิ่งขึ้น

ภูมิธรรม ยังระบุว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งนี้มีปัญหาเรื่องการตีความ ว่าใครมีอำนาจส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความ จึงมีการเสนอให้ประธานสภาผู้แทนราษฎร ยื่นศาลรัฐธรรมนูญในการตีความเรื่องนี้ แต่เป็นเรื่องที่นอกเหนืออำนาจของคณะกรรมการ จึงเสนอให้พรรคการเมืองที่อยู่ในที่ประชุม ไปปรึกษาหารือ เพื่อให้มีการเสนอผ่านสภาฯ และให้สภาฯ ยื่นต่อศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อให้เกิดความชัดเจนมากยิ่งขึ้น คาดว่าจะมีข้อสรุปให้ได้ภายในสิ้นปีนี้ โดยให้ไปหาข้อสรุปกันในสภาฯ หากมีข้อขัดแย้งสภาก็จะเป็นผู้เสนอส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญเป็นผู้ตีความ

ส่วนเรื่องการแก้กฎหมายประชาตินั้น ที่ถือว่าเป็นกับดัก 2 ชั้น ภูมิธรรม กล่าวว่า ต้นมอบหมายให้คณะอนุกรรมการไปศึกษาเรื่องนี้ ซึ่งเราอยากเห็น ประชามติ ที่กว้างกว่าการแก้รัฐธรรมนูญ และการเลือกตั้งของฝ่ายการเมืองที่มีความต้องการ แต่กฎหมายประชามติยังไม่เคยถูกใช้ จึงอยากเห็นว่าการใช้กฎหมายประชามติ จะใช้ในการเลือกตั้ง และ กฎหมายอื่นๆได้หรือไม่ 

ทั้งนี้ คณะทำงานทั้งหมดเรามุ่งมั่น ตามไทม์ไลน์เดิมทั้งหมดที่ประกาศไป และดำเนินการตามเงื่อนไขให้ได้ ตามที่นายกรัฐมนตรีได้บอกไว้ ทำไม่ได้ไม่มี มีแต่จะทำยังไงให้มันได้ ถ้าถึงจุดสุดท้ายแล้วและมันมีปัญหาอะไร เราก็ต้องชี้แจงประชาชนว่ามีเหตุผลข้อจำเป็น ข้อจำกัดที่ฟังได้ และตนเชื่อว่าประชาชนก็เข้าใจ รัฐบาลตั้งใจจะทำให้สำเร็จ เพราะคิดว่าเป็นประโยชน์โดยรวมทั่วไปของประชาชน ทุกส่วน และรัฐบาลเองก็ต้องการ จากการรับฟังเสียงของประชาชนทุกคนก็อยากได้รัฐธรรมนูญ ที่มีความเป็นประชาธิปไตยมากขึ้นทั้งนั้น อยากได้บรรยากาศใหม่ และข้อกติกาใหม่ ที่จะทำให้เกิดการแก้ไขปัญหา ต่างๆได้มากยิ่งขึ้น ยืนยันรัฐบาลไม่ดึงเพื่อให้เกิดการความล่าช้าตามที่หลายฝ่ายกังวล