ไม่พบผลการค้นหา
รู้จักความสำคัญและหน้าที่ของ อบจ. ก่อนเข้าคูหาเลือก "คนที่ใช่" อาทิตย์ที่ 20 ธันวาคม เมื่อศึกนี้จะเปลี่ยนแปลง หรือเท่าเดิม ? อยู่ที่คุณ

ศึกชิงเก้าอี้ นายกฯ และสมาชิกองค์การบริหารส่วนจังหวัด ครั้งแรกในรอบ 6 ปี เข้าสู่ช่วงโค้งสุดท้าย ก่อนจะเปิดคูหาให้ย่อนบัตรในวันอาทิตย์ที่ 20 ธันวาคม 

ผลการเลือกตั้ง อบจ.ทั้ง 76 จังหวัด ถูกคาดหมายว่าจะชี้ทิศทางอนาคตการเมืองไทยและวัดความนิยมรัฐบาลได้ระดับหนึ่ง เนื่องจากหลายพื้นที่เป็นการสู้กันระหว่าง 'แชมป์เก่า-คนบ้านใหญ่' กับ 'หน้าใหม่-ผู้หวังเปลี่ยนแปลง' 

ต่อไปนี้คือสิ่งที่ประชาชน “ควรรู้” ก่อนเดินทางเข้าคูหาเลือกคนที่ใช่ 


อบจ. คืออะไร 

องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) มีฐานะเป็นนิติบุคคลและเป็นราชการส่วนท้องถิ่น ถือเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มี “ขนาดใหญ่ที่สุด” มีจังหวัดละหนึ่งแห่ง ยกเว้นกรุงเทพมหานครซึ่งเป็นการปกครองรูปแบบพิเศษ 

อบจ. มีเขตพื้นที่รับผิดชอบครอบคลุมทั้งจังหวัด คอยบริการสาธารณประโยชน์ ช่วยเหลือพัฒนางานของเทศบาล และ อบต. รวมทั้งการประสานแผนพัฒนาท้องถิ่นเพื่อไม่ให้งานซ้ำซ้อน

พูดง่ายๆ บริหารงานทุกอย่างในจังหวัด ที่ไม่ซ้ำซ้อนกับเทศบาล และ อบต. เป็นไปในลักษณะของการแบ่งหน้าที่และสนับสนุนกัน

การเมือง ประเทศไทย ความขัดแย้ง ปฏิรูปสถาบัน ยุทธศาสตร์ชาติ รัฐประหาร ปรองดอง สมานฉันท์ ฉันทามติ

ประกอบด้วยใครบ้าง

โครงสร้างและองค์ประกอบของ อบจ. ประกอบด้วย 

สภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด (ฝ่าย นิติบัญญัติ) 

  • ทำหน้าที่พิจารณาและออกกฎหมายของ อบจ. เรียกว่า “ข้อบัญญัติ อบจ.” เช่น การจัดเก็บภาษีน้ำมันและยาสูบ
  • ตรวจสอบควบคุมการบริหาร อบจ. เช่น ตรวจสอบการใช้เงินในโครงการต่าง ๆ ให้ความเห็นชอบแผนพัฒนาจังหวัด
  • เห็นชอบงบประมาณรายจ่ายประจำปีซึ่งมาจากภาษีของประชาชน ทั้งทางตรงที่ อบจ. จัดเก็บ เช่น ภาษีโรงเรือนและที่ดิน หรือภาษีทางอ้อม เช่น จากการซื้อสินค้า โดยนำส่วนที่เป็นภาษีกลับคืนมาพัฒนาท้องถิ่น

นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด (ฝ่ายบริหาร)

  • กำหนดนโยบาย รับผิดชอบในการบริหารให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ ข้อบัญญัติ และนโยบาย
  • สั่ง อนุญาต อนุมัติเกี่ยวกับราชการ อบจ.
  • แต่งตั้งและถอดถอนรองนายก อบจ. เลขานุการ และที่ปรึกษา
  • วางระเบียบเพื่อให้งานของ อบจ. เป็นไปด้วยความเรียบร้อย

ส.อบจ. มี 24-48 คน

จำนวนสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด หรือ ส.อบจ. ถูกกำหนดตามจำนวนประชากร แต่ละจังหวัดตามหลักฐานทะเบียนราษฎร ที่ประกาศในปีสุดท้ายก่อนปีที่มีการเลือกตั้ง ดังนี้

  • จังหวัดใดมีคนไม่เกิน 500,000 คน มีสมาชิกสภาจังหวัดได้ 24 คน
  • จังหวัดใดมีคนเกินกว่า 500,000 คน แต่ไม่เกิน 1,000,000 คน มีสมาชิกได้ 30 คน
  • จังหวัดใดมีคนเกินกว่า 1,000,000 คน แต่ไม่เกิน 1,500,000 คน มีสมาชิกได้ 36 คน
  • จังหวัดใดมีคนเกินกว่า 1,500,000 คน แต่ไม่เกิน 2,000,000 คน มีสมาชิกได้ 42 คน
  • จังหวัดใดมีคนเกิน 2,000,000 คนขึ้นไป มีสมาชิกได้ 48 คน
  • สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดอยู่ในตำแหน่งได้คราวละ 4 ปี
โควิด19-คนไทย-ผู้หญิง พนักงานออฟฟิศ มนุษย์เงินเดือน

คุณเป็นผู้เลือก - ภาษีเราคือเงินเดือน

นายก อบจ./ส.อบจ. มีที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน ผู้สมัครไม่จำเป็นต้องสังกัดพรรคการเมือง ทั้งนี้ในการเลือกตั้งนายก อบจ. ใช้เขตจังหวัดเป็นเขตเลือกตั้ง ส่วนสมาชิก อบจ. ใช้เขตอำเภอเป็นเขตเลือกตั้ง

  • นายก อบจ. ได้รับเงินเดือนและค่าตอบแทน 75,530 บาท 
  • ส.อบจ. ได้ค่าตอบแทน 19,440 บาท 
129481405_1044686539277200_2683137537259272378_n.png
  • ระเบียบกระทรวงมหาดไทย
รายได้ 

รายได้หลักของ อบจ. มาจากการเก็บภาษีต่างๆ ในจังหวัด เช่น ภาษีบำรุงท้องที่ ภาษีโรงเรือนและที่ดิน ภาษีป้าย เป็นต้น รวมถึงเงินอุดหนุนที่ได้รับจากรัฐบาลในทุกปีงบประมาณ เพื่อขับเคลื่อนโครงการต่างๆ


บ้านใครได้เท่าไหร่ - งบประมาณแต่ละ อบจ.

พ.ร.บ.งบฯ 2564 ในส่วนงบประมาณรายจ่ายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) รัฐบาลตั้งเป็นงบอุดหนุน ส่งเสริมการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 90,978.4 ล้านบาท ในส่วนของ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ กรุงเทพมหานคร จะได้รับการอุดหนุนงบประมาณ 23,786.9 ล้านบาท เมืองพัทยา ได้รับอุดหนุน 1,899.3 ล้านบาท

พ.ร.บ.งบฯ 2564 ในส่วนงบประมาณรายจ่ายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) รัฐบาลตั้งเป็นงบอุดหนุน ส่งเสริมการกระจายอำนาจให้แก่ 76 อบจ. รวม 28,797.8 ล้านบาท ประกอบด้วย

  • ภาคกลาง 

อบจ.ชัยนาท 202.1 ล้านบาท อบจ.พระนครศรีอยุธยา 287.9 ล้านบาท อบจ.ลพบุรี 232.4 ล้านบาท อบจ.สระบุรี 211.3 ล้านบาท 

อบจ.สิงห์บุรี 118.7 ล้านบาท อบจ.อ่างทอง 153.5 ล้านบาท อบจ.นครปฐม 215.3 ล้านบาท อบจ.นนทบุรี 673 ล้านบาท อบจ.ปทุมธานี 275.5 ล้านบาท

อบจ.สมุทรปราการ 170.3 ล้านบาท อบจ.กาญจนบุรี 380 ล้านบาท

อบจ.ราชบุรี 254 ล้านบาท อบจ.สุพรรณบุรี 293 ล้านบาท

อบจ.ประจวบคีรีขันธ์ 214.9 ล้านบาท อบจ.เพชรบุรี 202.4 ล้านบาท อบจ.สมุทรสงคราม 120.5 ล้านบาท อบจ.สมุทรสาคร 183.5 ล้านบาท

เศรษฐกิจ-ค่าเงิน-การเงิน-ธนาคาร-การคลัง-ธนบัตร-แบงก์พัน
  • ภาคใต้

อบจ.ชุมพร 301.1 ล้านบาท อบจ.นครศรีธรรมราช 530 ล้านบาท อบจ.พัทลุง 338.9 ล้านบาท อบจ.สงขลา 352.1 ล้านบาท อบจ.สุราษฎร์ธานี 447.4 ล้านบาท อบจ.กระบี่ 213 ล้านบาท

อบจ.ตรัง 236.1 ล้านบาท อบจ.พังงา 166.2 ล้านบาท อบจ.ภูเก็ต 231.6 ล้านบาท อบจ.ระนอง 1.3 ล้านบาท

อบจ.สตูล 183.6 ล้านบาท อบจ.นราธิวาส 195.8 ล้านบาท อบจ.ปัตตานี 242.8 ล้านบาท อบจ.ยะลา 187.6 ล้านบาท

  • ภาคตะวันออก 

อบจ.ฉะเชิงเทรา 264.5 ล้านบาท อบจ.ชลบุรี 615.8 ล้านบาท อบจ.ระยอง 324.7 ล้านบาท อบจ.จันทบุรี 210 ล้านบาท อบจ.ตราด 137.8 ล้านบาท อบจ.นครนายก 143 ล้านบาท อบจ.ปราจีนบุรี 277.9 ล้านบาท อบจ.สระแก้ว 449.6 ล้านบาท

  • ภาคอีสาน 

อบจ.บึงกาฬ 211.9 ล้านบาท อบจ.เลย 350.8 ล้านบาท อบจ.หนองคาย 238.5 ล้านบาท อบจ.หนองบัวลำภู 233.5 ล้านบาท อบจ.อุดรธานี 625 ล้านบาท อบจ.นครพนม 288.3 ล้านบาท

อบจ.มุกดาหาร 184.4 ล้านบาท อบจ.สกลนคร 578.5 ล้านบาท อบจ.กาฬสินธุ์ 724.4 ล้านบาท อบจ.ขอนแก่น 1,044.5 ล้านบาท อบจ.มหาสารคาม 782.1 ล้านบาท อบจ.ร้อยเอ็ด 672.9 ล้านบาท อบจ.ชัยภูมิ 995.5 ล้านบาท

อบจ.นครราชสีมา 2,303.3 ล้านบาท อบจ.บุรีรัมย์ 548.3 ล้านบาท อบจ.สุรินทร์ 454.8 ล้านบาท อบจ.ยโสธร 277.6 ล้านบาท

อบจ.ศรีสะเกษ 1,342.1 ล้านบาท อบจ.อำนาจเจริญ 189.7 ล้านบาท อบจ.อุบลราชธานี 1,016.6 ล้านบาท

ป่า-ภูเขา-วิถีชีวิต-ฤดูแล้ง-เชียงใหม่-เกษตรกร
  • ภาคเหนือ

อบจ.เชียงใหม่ 695.7 ล้านบาท อบจ.แม่ฮ่องสอน 197.4 ล้านบาท อบจ.ลำปาง 357.7 ล้านบาท อบจ.ลำพูน 259.8 ล้านบาท อบจ.เชียงราย 492.4 ล้านบาท อบจ.น่าน 267.7 ล้านบาท อบจ.พะเยา 229.9 ล้านบาท อบจ.แพร่ 315 ล้านบาท อบจ.ตาก 282.5 ล้านบาท

อบจ.พิษณุโลก 375.1 ล้านบาท อบจ.เพชรบูรณ์ 300 ล้านบาท อบจ.สุโขทัย 264 ล้านบาท อบจ.อุตรดิตถ์ 263.1 ล้านบาท อบจ.กำแพงเพชร 271.4 ล้านบาท อบจ.นครสวรรค์ 363 ล้านบาท อบจ.พิจิตร 274.9 ล้านบาท และ อบจ.อุทัยธานี 176.1 ล้านบาท

  • สรุป 5 อบจ.ที่ได้รับการอุดหนุนสูงสุด 

นครราชสีมา 2,303.3 ล้านบาท

ศรีสะเกษ 1,342.1 ล้านบาท

ขอนแก่น 1,044.5 ล้านบาท

อุบล 1,016.6 ล้านบาท

ชัยภูมิ 995.5 ล้านบาท

เลือกตั้ง นครปฐม

เลือก 2 ใบ 

ผู้จะออกไปใช้สิทธิเลือกตั้ง อบจ. ต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีในวันเลือกตั้ง และมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในเขตเลือกตั้งไม่น้อยกว่า 1 ปี ขั้นตอนที่ทุกคนควรรู้คือ

  • คูหาเลือกตั้งเปิดเวลา 08.00-17.00 น. ของวันที่ 20 ธ.ค.
  • ตรวจสอบรายชื่อและลำดับ จากบัญชีรายชื่อหน้าหน่วยเลือกตั้ง
  • แสดงหลักฐานบัตรประชาชน หรือบัตรอื่นที่ราชการออกให้
  • ลงลายมือชื่อหรือพิมพ์ลายนิ้วหัวแม่มือในบัญชีรายชื่อและต้นขั้วบัตรเลือกตั้ง
  • ผู้มีสิทธิเลือกตั้งจะได้รับบัตรเลือกตั้ง 2 ใบ ใบแรก สำหรับกากบาท (X) เลือกนายก อบจ. , อีกใบ กากบาท (X) เลือกสมาชิก อบจ. 
  • หากไม่ต้องการเลือกใคร สามารถทำเครื่องหมายกากบาทในช่องไม่เลือกผู้สมัครผู้ใดก็ได้
  • นำบัตรเลือกตั้งทั้งสองใบที่พับเรียบร้อย ย่อนลงในหีบด้วยตัวเอง
  • ไม่เปิดให้มีการใช้สิทธิเลือกตั้งล่วงหน้า หรือการเลือกตั้งนอกเขตจังหวัด
ประยุทธ์ เลือกตั้ง _1F02PO.jpg

ไม่ไปเลือก เจอจำกัดสิทธิ

หากไม่สามารถไปเลือกตั้งได้ ต้องแจ้งเหตุจำเป็นต่อนายทะเบียนอำเภอ/นายทะเบียนท้องถิ่น ภายใน 7 วัน (ก่อนหรือหลังวันเลือกตั้ง) ถ้าไปด้วยตัวเองไม่ได้ ให้มอบหมายให้ผู้อื่นไปยื่นแทน หรือจัดส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียน ไม่เช่นนั้นจะถูกตัดสิทธิ ดังต่อไปนี้

1. สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือสมาชิกสภาท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่น หรือสมัครรับเลือกเป็นสมาชิกวุฒิสภา

2. สมัครรับเลือกเป็นกำนันและผู้ใหญ่บ้าน

3. เข้าชื่อร้องขอให้ถอดถอนสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น

4. ดำรงตำแหน่งข้าราชการการเมืองและข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมือง

5. ดำรงตำแหน่งรองผู้บริหารท้องถิ่น เลขานุการผู้บริหารท้องถิ่น ผู้ช่วยเลขานุการผู้บริหาร ท้องถิ่น ประธานที่ปรึกษาผู้บริหารท้องถิ่น ที่ปรึกษาผู้บริหารท้องถิ่น หรือคณะที่ปรึกษาผู้บริหารท้องถิ่น

6. ดำรงตำแหน่งเลขานุการประธานสภาท้องถิ่น ผู้ช่วยเลขานุการประธานสภาท้องถิ่น และ เลขานุการรองประธานสภาท้องถิ่น

สมชาย พิชัย เลิศพงศ์อดิศร  อบจ เชียงใหม่ ท้องถิ่น เพื่อไทย  2778.jpg

จับตาล้มแชมป์

รอบนี้มีคนลงสมัครชิงนายกฯ ทั่วประเทศ 76 จังหวัด รวม 335 คน แบ่งเป็น

  • พรรคเพื่อไทย ส่ง 25 จังหวัด
  • คณะก้าวหน้า ส่ง 42 จังหวัด
  • พรรคประชาธิปัตย์ ส่ง 2 จังหวัด
  • พรรคพลังประชารัฐ ไม่ได้ส่ง โดยอ้างว่าเกรงมีปัญหาด้านกฎหมาย แต่คาดกันว่าเป็นแบ็กอัปให้หลายราย 
  • ​ผู้สมัครอิสระที่มีพรรคการเมืองหนุนหลังและผู้สมัครอิสระอย่างแท้จริง
  • ผู้สมัครรับเลือกตั้ง ส.อบจ. จำนวน 8,186 คน

จังหวัดที่มีผู้สมัครรับเลือกตั้ง นายกและสมาชิกฯ มากที่สุด คือ บุรีรัมย์ จำนวน 352 คน ประกอบด้วย นายก อบจ. จำนวน 8 คน และสมาชิก อบจ.จำนวน 344 คน

จังหวัดที่มีผู้สมัครรับเลือกตั้งน้อยที่สุด คือ เพชรบุรี จำนวน 34 คน ประกอบด้วย นายกฯ จำนวน 1 คน และสมาชิก จำนวน 33 คน

จังหวัดที่มีผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นนายก อบจ.สูงสุด คือ จังหวัดขอนแก่น จำนวน 10 คน

จังหวัดที่มีผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นนายก อบจ. จำนวน 1 คน ได้แก่ กระบี่ เพชรบุรี และอุทัยธานี

จังหวัดที่มีผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็น ส.อบจ. เท่ากับจำนวน ส.อบจ. ที่พึงมี คือ 1 คน จำนวน 32 จังหวัด รวม 167 เขตเลือกตั้ง

ประเด็นที่น่าจับตาหลังการเลือกตั้ง คือ แชมป์เก่าบ้านใหญ่จะโดนโค่นกี่จังหวัด , พรรคเพื่อไทย จะได้เก้าอี้กี่ตัว , คณะก้าวหน้าที่ประกาศเล่นการเมืองท้องถิ่นแบบใหม่ จะสามารถเขย่า “บ้านใหญ่และตระกูลการเมือง” ได้สักกี่คน และเครือข่ายลูกทีมพลังประชารัฐ จะกวาดได้กี่ที่นั่ง 


อ่านข่าวอื่นๆ :