วันที่ 14 ก.พ. เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวปาฐกถาพิเศษในหัวข้อ “จุดเปลี่ยนพลังงานไทยสู่ความยั่งยืน” ว่า พลังงานถือเป็นเรื่องสำคัญในอนาคต รวมไปถึงเรื่องเกษตร โดยจะต้องใช้พลังงานในการดึงเจ้าภาพการเกษตร โดยวานนี้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี มีการพูดคุยกันถึงเรื่องเกษตรกรรม โดยเน้นไปที่การบริหารจัดการน้ำ ซึ่งจะมีเรื่องพลังงานค่าไฟฟ้าเข้ามา โดยในเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาจากลงพื้นที่จังหวัดสระบุรี เกษตรกรสามารถขายข้าวได้ตันละ 12,000 บาทต่อตัน ซึ่งมีต้นทุนทางการผลิต
เศรษฐา ยังกล่าวถึงการหารือกับ นายกรัฐมนตรีกัมพูชา ว่า เป็นประเทศที่เรามีความสัมพันธ์กันดี มีการพูดคุยกันหลายเรื่อง และตนกับนายรัฐมนตรีกัมพูชาก็มีความสัมพันธ์อันดี มีการหารือในประเด็นชายแดน การค้า ความสัมพันธ์ระหว่างประชาชนระหว่าง 2 ประเทศ การดูแลแรงงานชาวกัมพูชาที่อยู่ในประเทศไทย ซึ่งถือเป็นกลไกสำคัญที่จะผลักดันเศรษฐกิจไทย เนื่องจากแรงงานไทยเองไม่เพียงพอ โดยนายกรัฐมนตรีกัมพูชาขอให้ไทยดูแลค่าแรงให้เหมาะสม ซึ่งเรื่องนี้ผมไปทุกเวทีก็ขอร้องวิงวอนทุกท่านว่า ขึ้นไม่ได้หากฐานรากของสังคมไม่ถูกยกขึ้นมา 300 บาทเมื่อ 10 ปีที่แล้ว วันนี้ 340 บาทขึ้นมา 12% ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา หลายคนในที่นี้ส่งลูกไปเรียนเมืองนอก 10 ปีที่แล้วเงินเดือน 30,000 บาท วันนี้เงินเดือน 34,000 ท่านรู้สึกอย่างไร
ขณะเดียวกันนายกรัฐมนตรี ยังกล่าวว่า การที่การเจรจาอีกเรื่องที่สำคัญ คือ OCA หรือพื้นที่ทับซ้อน ซึ่งมูลค่ามหาศาลขึ้นอยู่กับตัวเลขไหนที่คนพูดกันอาจพูดถึง 20 ล้านล้านบาทก็ได้แต่เราก็มีปัญหาเรื่องของชายแดนเรื่องเขตแดนอยู่เป็นเรื่องที่อ่อนไหวและหลายภาคส่วนให้ความสนใจกันอยู่ตนขอแบ่งเป็น 2 ส่วน คือพื้นที่ทับซ้อนกับเรื่องของขุมทรัพย์ที่อยู่ใต้ทะเล เรื่องนี้จะต้องมีการพูดคุยกันแลกเปลี่ยนกันซึ่งให้ความสำคัญสูงสุดกับเรื่องนี้ และจะพยายามนำสินทรัพย์เช่นนี้ออกไปใช้ได้เร็วที่สุดในการเปลี่ยนผ่าน Brown Energy ไปสู่ Green Energy ขอให้สบายใจว่าเราจะเดินหน้ากันต่อไปโดยพยายามแยกแยะระหว่างปัญหาพื้นที่ทับซ้อนและปัญหาเรื่องการแบ่งผลประโยชน์ แต่เรื่องนี้ต้องโปร่งใสและตรวจสอบได้จะส่งผลต่อเรื่องราคาพลังงาน
นายกรัฐมนตรี ยังระบุถึงอีกว่า เรื่องค่าพลังงาน มีการสอบถามกันมาว่ามีกลไกอะไรบ้าง สามารถทำอะไรได้บ้างทั้งค่า PPA การขอใช้กฤษ ของโรงงานไฟฟ้าในปัจจุบัน and iknow กลไกตลาดจะไม่สามารถทำได้ พลังงานที่ผลิตขึ้นมาจะต้องมีผู้จ่ายอยู่ดีซึ่งอาจจะเป็นเงินของพวกเราทุกคนที่โอนกลับไปจ่ายให้กับผู้ผลิต ทำให้ต้องเก็บเงินกลับคืนอยู่ดีแต่ความเชื่อมั่น และความสูญเสียที่ประเมินค่าไม่ได้ การทุบโดยไม่ต้องสนใจกลไกของการตลาด จะทำให้เกิดรัฐประหารทางเศรษฐกิจ เราอาจจะได้ค่าไฟถูกอยู่ไม่กี่วันก่อนที่จะควักเอาเงินของประชาชนมาจ่าย การลงทุนการส่งออกการจ้างงานอยู่ในใจของคนทั้งโลกไปนานนับปี ซึ่งเป็นเรื่องที่พวกเราทุกคนต้องช่วยกัน ไม่ใช่ว่าเรามีกลไกการสนับสนุนเรื่องภาษีที่ดีแล้ว มีมาตรการต่างๆที่ทำให้คนมาอยู่ในประเทศไทยอย่างมีความสุขเรื่องราคาพลังงานก็ถือเป็นเรื่องที่สำคัญ หากมองในระยะยาวเชื่อว่าประเทศไทยมีศักยภาพสูง มีเสถียรภาพทางการเมืองที่มั่นคง พร้อมที่จะดึงดูดนักลงทุนจากทั่วโลกเพื่อมาตั้งฐานการผลิต
นายกรัฐมนตรี ยังกล่าวว่า มีการตั้งคำถามว่าเหตุใดรถไฟฟ้าความเร็วสูงจึงไม่สร้าง ซึ่งจะสามารถประหยัดเวลาไปได้หลายชั่วโมง แต่ขอให้จินตนาการดูว่า ถ้าโครงการทำไปถึงหนองคาย นักธุรกิจที่นั่งอยู่นี่คงทราบว่าต้องผ่านกี่โต๊ะในการส่งสินค้าออกไปได้ กรมศุลกากร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์สาธารณสุข และแรงงาน ต้องผ้านกี่โต๊ะ กี่แสตมป์ ฉะนั้นจะสามารถทำเป็นซิงเกิ้ลวินโดซ์ ซิงเกิ้ลฟอร์มได้หรือไม่ เพราะหากลงทุนหลายแสนล้าน หรือล้านล้านก็ต้องมาเสียเวลาอยู่ดีในด่านต่าง 2-3 ชั่วโมง โดยรัฐบาลไม่ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ตนมองว่าเป็นการลงทุนที่ไม่คุ้มค่า ขณะเดียวกันต้องทำให้อำนวยความสะดวกทางธุรกิจได้ดีขึ้น หลายคนพูดถึงเรื่องกิโยตินกฎหมาย ที่พูดกันมานานเท่าไหร่แล้ว
ฟังดูแล้วมันเท่ห์ มันเก๋ แต่มันทำไม่ได้มันยังทำไม่สำเร็จ ฉะนั้นถึงเวลาหรือยังที่เราต้องพูดคุยอย่างจริงจัง ซึ่งอะไรทำได้ก็ต้องทำก่อน ตนไม่อยากใช้คำว่าควิกวิน เพราะใช้ไปแล้วก็จะถูกต่อว่า ว่าคิดแต่จะควิกวินอย่างเดียวในการเปลี่ยนโครงสร้าง ฉะนั้นหลายท่านที่เป็นนักธุรกิจก็ทราบการจะเปลี่ยนโครงสร้างต้องเปลี่ยนระยะเวลานานเท่าไหร่ในสังคมไทยอดังนั้นเรื่องอะไรที่เราทำได้เราจะทำก่อน อาทิ การขนถ่ายสินค้า ตนได้มอบให้กรมศุลกากรเป็นเจ้าภาพไปแล้ว
ส่วนเรื่องแลนด์บริดจ์ก็เกี่ยวข้องด้วยในเรื่องการกระจายสินค้า ซึ่งประชาชนเรามีไม่ถึง 70 ล้านคนด้วยแล้วก็ลดลงอีก ฉะนั้นการที่เขามาตั้งโรงงานหลาย 100 ล้านบาทหรือหลายล้านๆบาทนั้น เขาจะต้องมาตั้งเพื่อส่งออกสินค้าส่งออก ฉะนั้นถ้ามีการส่งออกแค่ท่าเรือน้ำลึก แต่ไม่มีแลนด์บริดจ์ทำให้คิวการส่งยาวใช้เวลานาน มีปัญหาเกิดขึ้น ดังนั้นถ้าโลกเราไม่มีการทำโครงสร้างพื้นฐานที่มีขนาดใหญ่มโหฬารรองรับการขนถ่ายสินค้าทั่วโลกมันจะมีปัญหา ซึ่งตนเชื่อว่าคนในประเทศไทยสนับสนุนเรื่องนี้ และจากที่ตนไปหลายประเทศก็มีคนสนใจ เพราะเขามองภาพรวมในเรื่องการขนถ่ายสินค้าของโลก
พร้อมยืนยันว่า ขณะนี้ประเทศไทยมีแผนเรื่องพลังงานสะอาดที่ชัดเจน แต่จะทำเพียงเรื่องเดียวไม่ได้ ฉะนั้นทุกเรื่องต้องทำควบคู่กันไป และวางหลักฐานกันไป ซึ่งหากไม่จบในรัฐบาลนี้ ก็ต้องเป็นรัฐบาลต่อไปที่ต้องทำเพราะเป็นความสำคัญ พร้อมย้ำว่าเป็นเวลากว่า 20 ปีแล้วที่ประเทศไทยไม่มีการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่เลย มันเป็นไปได้อย่างไร ฉะนั้นวันนี้ต้องมีการประชุมโครงสร้างพื้นฐานต่อไปควบคู่ไปกับการให้ความสำคัญเรื่องพลังงานสะอาด ชื่นชมเพราะประเทศไทยเป็นที่ชื่นชมของนานาชาติที่ทำได้ดีมาก
พร้อมย้ำว่า ภารกิจพวกเราทุกคนในฐานะนักอุตสาหกรรม นักธุรกิจระดับท็อปของประเทศ ไม่ใช่หยุดแค่พลังงานสะอาดแต่เรื่องโครงสร้างพื้นฐาน ค่าแรงขั้นต่ำ ทุกอย่างต้องทำควบคู่กันไป
ทั้งนี้มีผู้สื่อข่าวถามตนว่า สิ่งที่แปลกใจที่สุดการเป็นนายกรัฐมนตรีคืออะไร ตนจึงตอบกลับไปว่ามันมีกลไก การบริหารจัดการแผ่นดินเยอะ ซึ่งเป็นกลไกที่เราต้องการความสมัครสมานสามัคคีต้องการความร่วมมือจากทุกฝ่าย และเป็นกลไกที่เราต้องสร้างบรรยากาศที่ดีในการสำหรับการพูดคุยกันเรื่องที่เห็นต่าง
พร้อมเชื่อว่า นักธุรกิจที่มาร่วมงานในวันนี้จะทราบถึงความหวังดีของตนเอง และของ รัฐบาลที่จะผลักดันกลไกอุตสาหกรรมไปข้างหน้าควบคู่เรื่องของพลังงาน