ไม่พบผลการค้นหา
สืบเนื่องจากการจัดเวทีชุมนุม #ธรรมศาสตร์จะไม่ทน และการปราศรัยในวันที่ 10 ส.ค. 2563 ณ ลานพญานาค มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต เชื่อว่าข้อเสนอ 10 ประการ ของผู้ชุมนุมเป็นการใช้เสรีภาพในการแสดงออกตามรัฐธรรมนูญ

โดยในแถลงการณ์ ระบุว่า การปราศรัยครั้งนี้ถือเป็นครั้งแรกในรอบหลายปีที่มีการพูดถึงบทบาทและปัญหาของสถาบันกษัตริย์และสังคมไทยอย่างเปิดเผย โดยเสนอให้แก้ไขกฎหมายและรัฐธรรมนูญเพื่อให้เกิดความเป็นประชาธิปไตยและให้รักษาสถานภาพของพระมหากษัตริย์ในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข การปราศรัยดังกล่าวเป็นการแสดงออกซึ่งความคิดเห็นอย่างสุจริตและเป็นไปตามขอบเขตของกฎหมาย ดังบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 มาตรา 34 ระบุว่า “บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น การพูด การเขียน การพิมพ์ การโฆษณา และการสื่อความหมายโดยวิธีอื่น การจํากัดเสรีภาพดังกล่าวจะกระทำมิได้ เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ตราขึ้นเฉพาะเพื่อรักษาความมั่นคงของรัฐ เพื่อคุ้มครองสิทธิหรือเสรีภาพของบุคคลอื่น เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือเพื่อป้องกันสุขภาพของประชาชน” สอดคล้องกับหลักกฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศซึ่งรัฐไทยให้พันธกรณีอย่างกติกาสากลว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (International Covenant on Civil and Political Rights) ก็รับรองเสรีภาพในการแสดงออกภายใต้ข้อ 19

คณาจารย์จากมหาวิทยาลัยต่างๆ ทั่วประเทศ (ดังรายชื่อข้างท้ายแถลงการณ์นี้) มีความเห็นว่าการแสดงออกครั้งนี้เป็นการแสดงออกตามครรลองของกฎหมาย บนหลักการพื้นฐานของระบอบประชาธิปไตย และข้อเสนอทั้งสิบประการของผู้ชุมนุมมิได้เป็นการละเมิดกฎหมายอาญาในส่วนที่เกี่ยวข้องกับพระมหากษัตริย์ ไม่ปรากฏข้อความใดที่ถือได้ว่าเป็นการหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายต่อองค์พระมหากษัตริย์แต่อย่างใด ในทางตรงกันข้าม ข้อเสนอเหล่านี้คือข้อเสนออย่างตรงไปตรงมาในการธำรงไว้ซึ่งสถาบันกษัตริย์ในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข 

มหาวิทยาลัยในฐานะสถาบันทางวิชาการซึ่งมีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมการแสวงหาทางออกเพื่อความก้าวหน้าของสังคมไทย ควรที่จะประกาศตนเป็นพื้นที่ที่เปิดโอกาสในการแสดงความคิดเห็น โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเด็นอันเป็นประโยชน์สาธารณะ ซึ่งควรต้องยกขึ้นมาวิเคราะห์ถกเถียงในพื้นที่สาธารณะ เพื่อแก้ไขปัญหาของประเทศ มิใช่หลีกเลี่ยงหรือปิดกั้นเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นนั้น ยิ่งไปกว่านั้นมหาวิทยาลัยควรแสดงให้เห็นและสนับสนุนให้สังคมไทยเผชิญหน้ากับปัญหาอันท้าทายนี้ด้วยความอดทนอดกลั้น อันเป็นลักษณะที่สำคัญอย่างยิ่งของสังคมประชาธิปไตย แม้ว่าอาจจะมีความเห็นมากมายที่เราไม่ได้ถูกใจ แต่ตราบใดที่ความเห็นนั้นไม่ได้ยุยงปลุกปั่นให้เกิดความรุนแรงขึ้นในสังคม การยอมรับความเห็นต่างและการเปิดพื้นที่เพื่อพูดคุยต้องเป็นทางออกที่สังคมอารยะเลือกใช้ การประณามความคิดเห็นแตกต่างว่าเป็นการก้าวล่วงหรือจาบจ้วงนั้นไม่ได้ทำให้สังคมของเราเติบโตทางปัญญา การถกเถียงพูดคุยทั้งหมดจะถูกลดทอนคุณค่าว่าเป็นเพียงความคิดเห็นที่ก้าวร้าว 

คณาจารย์จากมหาวิทยาลัยต่างๆ ทั่วประเทศ (ดังรายชื่อข้างท้ายแถลงการณ์นี้) เชื่อว่าข้อเสนอของผู้ชุมนุมเป็นการใช้เสรีภาพในการแสดงออกตามรัฐธรรมนูญและตามกฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ ข้อเสนอเหล่านี้เรียกร้องความกล้าหาญในการพูดถึงประเด็นที่มีความอ่อนไหวในสังคมไทย แทนที่จะเบียดขับข้อเสนอเหล่านี้ออกไป สังคมไทยควรเรียนรู้ที่จะยกระดับเพดานความอดทนอดกลั้นและพูดคุยกันด้วยเหตุผล เพื่อความยั่งยืนของประชาธิปไตยต่อไปในสังคม

12 สิงหาคม 2563

1. ผศ.ดร. กนิษฐ์ ศิริจันทร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

2. ผศ.ดร. กรพนัช ตั้งเขื่อนขันธ์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

3. อาจารย์กฤษณ์พชร โสมณวัตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 

4. ผศ. กฤษณะพล วัฒนวันยู คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

5. อาจารย์ก่อพงศ์ วิชญาปกรณ์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

6. ผศ. กิตติกาญจน์ หาญกุล วิทยาลัยพัฒนศาสตร์ ป๋วย อึ๊งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

7. อาจารย์กุศล เลี้ยวสกุล คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

8. รศ.ดร. เก่งกิจ กิติเรียงลาภ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

9. ผศ.ดร. เกษม เพ็ญภินันท์ ภาคปรัชญา คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

10. อาจารย์คอลิด มิดำ คณะดนตรีและการแสดง มหาวิทยาลัยบูรพา

11. อาจารย์คมลักษณ์ ไชยยะ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มรภ.พระนครศรีอยุธยา

12. อาจารย์เคท ครั้งพิบูลย์ คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

13. อาจารย์งามศุกร์ รัตนเสถียร สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล 

14. นายจักเรศ อิฐรัตน์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

15. อาจารย์จักรกฤษ กมุทมาศ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

16. ดร. จิราพร เหล่าเจริญวงศ์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

17. ผศ.ดร. เฉลิมพงษ์ คงเจริญ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 

18. อาจารย์ชนม์ธิดา อุ้ยกูล คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

19. ผศ. ชล บุนนาค

20. ชยุตม์ ชำนาญเศรษฐ University of Aberdeen

21. อาจารย์ชลิตา บัณฑุวงศ์ ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ หาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

22. ชัยพงษ์ สำเนียง มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

23. ผศ.ดร. ชาญณรงค์ บุญหนุน คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

24. อาจารย์ภก. ชินวัจน์ แสงอังศุมาลี คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม

25. ผศ.ดร. เชาวฤทธิ์ เชาว์แสงรัตน์ 

26. ผศ.ดร. ไชยณรงค์ เศรษฐเชื้อ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

27. รศ.ดร. ไชยันต์ รัชชกูล มหาวิทยาลัยพะเยา 

28. ผศ. ณปรัชญ์ บุญวาศ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์วิทยาเขตปัตตานี

29. ดร. ณรุจน์ วศินปิยมงคล คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

30. ดร.ณีรนุช แมลงภู่ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร

31. ดร. ดวงยิหวา อุตรสินธุ์ 

32. อาจารย์ดรุณี ไพศาลพาณิชย์กุล คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

33. ผศ.ดร. เดโชพล เหมนาไลย คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

34. ผศ.ดร. โดม ไกรปกรณ์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

35. ผศ.ดร. เทียมสูรย์ สิริศรีศักดิ์ คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

36. อาจารย์ธนสักก์ เจนมานะ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

37. ดร ธนาวิ โชติประดิษฐ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร

38. อาจารย์ธาริตา อินทนาม คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

39. ผศ.ดร. ธิกานต์ ศรีนารา ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

40. อาจารย์ธีรพจน์ ศิริจันทร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

41. อาจารย์ธีระพล อันมัย คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

42. อาจารย์ธีรวัฒน์ ขวัญใจ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่

43. ผศ.ดร. นภนต์ ภุมมา คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

44. รศ.ดร. นงเยาว์ เนาวรัตน์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

45. อาจารย์นฤมล กล้าทุกวัน สำนักวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

46. ผศ.ดร. นฤมล ทับจุมพล คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

47. อาจารย์นัทมน คงเจริญ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

48. ผศ. นาตยา อยู่คง คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร 

49. ศ.ดร. นิธิ เอียวศรีวงศ์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

50. ผศ.ดร. นิพนธ์ ศศิภานุเดช คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

51. อาจารย์บัณฑูร ราชมณี คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

52. อาจารย์บาหยัน  อิ่มสำราญ อดีตศาสตราจารย์ คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

53. อาจารย์บุศรินทร์ เลิศชวลิตสกุล

54. อาจารย์เบญจ์ บุษราคัมวงศ์ โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ 

55. อาจารย์เบญจรัตน์ แซ่ฉั่ว สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล

56. อาจารย์ปองขวัญ สวัสดิภักดิ์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 

57. ผศ.ดร. ประจักษ์ ก้องกีรติ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

58. นางสาวปิยะนุช สิงห์แก้ว

59. อาจารย์ปิ่นแก้ว เหลืองอร่ามศรี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

60. อาจารย์พชรวรรณ บุญพร้อมกุล คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

61. อาจารย์พนมกร โยทะสอน วิทยาลัยสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

62. อาจารย์พรศิริ ชีวาพัฒนานุวงศ์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัย มหาสารคาม

63. อาจารย์พรสรร วิเชียรประดิษฐ์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 

64. อาจารย์พศุตม์ ลาศุขะ 

65. อาจารย์พสิษฐ์ วงษ์งามดี คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

66. ผศ.ดร. พรเทพ เบญญาอภิกุล คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 

67. อาจารย์พลอย ธรรมาภิรานนท์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

68. อาจารย์พัทธ์ธีรา นาคอุไรรัตน์ 

69. พิชญา บุญศรีรัตน์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

70. รศ.ดร. พิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์ อดีตอาจารย์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

71. ผศ.ดร. พิเชฐ แสงทอง คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์วิทยาเขตปัตตานี

72. ผศ. พิพัฒน์ สุยะ คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

73. ดร. พิสิษฏ์ นาสี คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 

74. อาจารย์พุทธิพงศ์ อึงคนึงเวช วิทยาลัยศาสนศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล

75. อาจารย์เพ็ญศรี พานิช สำนักวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

76. ดร. ภาสกร อินทุมาร คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

77. อาจารย์มนฑิตา โรจน์ทินกร คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

78. อาจารย์มิ่ง ปัญหา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

79. อาจารย์เมธาวี โหละสุต คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

80. อาจารย์รุสนันท์ เจ๊ะโซ๊ะ มหาวิทยาลัยมลายา

81. อาจารย์วันรัก สุวรรณวัฒนา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

82. ผศ.ดร. วันวิสาข์ ธรรมานนท์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

83. รศ.ดร. วาสนา วงศ์สุรวัฒน์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

84. อาจารย์วิโรจน์ อาลี คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

85. อาจารย์เวียงรัฐ เนติโพธิ์ รัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 

86. ผศ.ดร. ศรันย์ สมันตรัฐ ภาควิชาภูมิสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

87. ดร. ศิริพร เพ็งจันทร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

88. ผศ. ศุภวิทย์ ถาวรบุตร  คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

89. อาจารย์ษัษฐรัมย์ ธรรมบุษดี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

90. ดร. สุธิดา วิมุตติโกศล คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

91. อาจารย์สุรัช คมพจน์ สำนักวิชารัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

92. ผศ.ดร. เสาวณิต จุลวงศ์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

93. อาจารย์อนินทร์ พุฒิโชติ

94. รศ.ดร. อนุสรณ์ อุณโณ คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

95. รศ.ดร. อภิชาต สถิตนิรามัย คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

96. ผศ.ดร. อรุณี สัณฐิติวณิชย์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

97. ผศ.ดร. อรอนงค์ ทิพย์พิมล คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

98. อาจารย์อานันท์ อุชชิน คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

99. ดร. อันธิฌา แสงชัย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์วิทยาเขตปัตตานี

100. ดร. อิสระ ชูศรี สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล

101. อาจารย์อิสร์กุล อุณหเกตุ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

102. อาจารย์อุเชนทร์ เชียงเสน สำนักวิชารัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

103. ผศ.ดร. เอกพลณัฐ ณัฐพันธนันท์ คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

104. ผศ. เอกฤทัย ฉัตรชัยเดช คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ 

105. อาจารย์อำพรรณี สะเตาะ มหาวิทยาลัยรังสิต