ไม่พบผลการค้นหา
เครือข่ายนักวิชาการเพื่อสิทธิพลเมืองออกแถลงการณ์มหาวิทยาลัยต้องเป็นพื้นที่ตั้งคำถามและแสวงหาทางออกร่วมกันอย่างสันติ เรียกร้อง 3 ข้อ ผู้บริหารมหาวิทยาลัยต้องอนุญาตนิสิต-นศ.ใช้พื้นที่จัดกิจกรรมทางการเมืองโดยสงบ-สังคมพิจารณาข้อเรียกร้องด้วยเหตุด้วยผล-รัฐต้องเคารพในสิทธิและเสรีภาพของปชช.

เครือข่ายนักวิชาการเพื่อสิทธิพลเมือง (คนส.) เผยแพร่แถลงการณ์ เรื่อง มหาวิทยาลัยต้องเป็นพื้นที่สำหรับการตั้งคำถามและแสวงหาทางออกร่วมกันอย่างสันติของสังคมโดยระบุว่า มหาวิทยาลัยไม่ได้มีบทบาทหน้าที่เพียงฝึกคนให้มีความรู้ความชำนาญในการประกอบอาชีพ ไม่ได้เป็นโรงงานผลิตแรงงานตามความต้องการของตลาด และไม่ได้เป็นหน่วยงานหล่อหลอมเจ้าหน้าที่ตามการบงการของรัฐ

หากแต่เป็นแหล่งบ่มเพาะสมาชิกที่มีคุณภาพให้กับสังคม ซึ่งไม่ได้หมายถึงทักษะในการท่องจำสิ่งที่สืบทอดกันมาในตำรา แต่หมายถึงความสามารถในการคิด ตั้งคำถาม และวิพากษ์วิจารณ์อย่างอิสระ เพราะสังคมจะไม่สามารถเผชิญวิกฤติ ความเปลี่ยนแปลง หรือความท้าทายใหม่ๆ ได้ หากสมาชิกปราศจากคุณสมบัติเหล่านี้ จะมีก็แต่ผู้ที่ต้องการแช่แข็งสังคมหรือฝืนการเปลี่ยนแปลงเท่านั้นที่ไม่ต้องการให้มหาวิทยาลัยมีบทบาทหน้าที่เช่นนี้

สังคมไทยกำลังเผชิญการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่อย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นในประวัติศาสตร์ บทบาทของมหาวิทยาลัยในการบ่มเพาะสมาชิกที่มีความสามารถในการคิด ตั้งคำถาม และวิพากษ์วิจารณ์จึงยิ่งทวีความสำคัญตามไปด้วย

นอกจากนี้ บทบาทดังกล่าวไม่ได้จำกัดเฉพาะการจัดการเรียนการสอนให้กับนิสิตนักศึกษาในสถาบัน หากแต่หมายรวมถึงการเป็นพื้นที่ให้สมาชิกกลุ่มอื่นในสังคมได้มีโอกาสร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้บนข้อเท็จจริง ด้วยเหตุด้วยผล โดยมีประโยชน์ของสังคมเป็นที่ตั้ง โดยเฉพาะในช่วงเวลาที่สังคมไทยมีความขัดแย้งทางความคิด ความเชื่อ และอุดมการณ์เช่นนี้ ไม่มีสถานที่ใดเหมาะสมไปกว่ามหาวิทยาลัยสำหรับการให้สมาชิกในสังคมได้ตั้งคำถามและแสวงหาคำตอบร่วมกันอย่างสันติ

ข้อเรียกร้องของการชุมนุมของนักเรียน นิสิต นักศึกษา ในช่วงที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็นการหยุดคุกคามประชาชน การยุบสภา หรือการร่างรัฐธรรมนูญใหม่ เป็นการตั้งคำถามและพยายามพาสังคมไทยไปให้พ้นจากวิกฤติทางการเมืองที่สั่งสมมากว่าทศวรรษ เช่นเดียวกับข้อเสนอ 10 ข้อของ "แนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม" ในการชุมนุมเมื่อวันที่ 10 ส.ค. 2563 ที่ผ่านมา ที่นับเป็นการตั้งคำถามและพยายามหาทางออกให้กับความขัดแย้งในสังคมและการเมืองไทยอย่างสันติเช่นเดียวกัน

ฉะนั้น ผู้บริหารมหาวิทยาลัยจึงไม่ควรพุ่งเป้าไปที่ประเด็นการปราศรัยเกินกว่าที่แจ้งไว้ ด่วนตัดสินเอาเองว่าการปราศรัยไม่เหมาะสมขัดศีลธรรม หรือจะไม่อนุญาตให้มีการจัดกิจกรรมทางการเมืองในมหาวิทยาลัยต่อไป หากแต่ควรคำนึงถึงบทบาทหน้าที่ของมหาวิทยาลัยภายใต้สภาวการณ์เช่นนี้เป็นหลัก

เครือข่ายนักวิชาการเพื่อสิทธิพลเมือง (คนส.) พร้อมผู้มีรายชื่อแนบท้าย จึงเรียกร้องไปยังผู้บริหารมหาวิทยาลัยรวมถึงภาคส่วนต่างๆ ในสังคมและรัฐดังนี้

1.ผู้บริหารมหาวิทยาลัยต้องอนุญาตให้นิสิตนักศึกษารวมถึงประชาชนได้ใช้พื้นที่ในการจัดกิจกรรมทางการเมืองโดยสงบ สันติ และปราศจากอาวุธ ไม่หวาดกลัวต่ออำนาจอธรรม ความไม่ถูกต้อง ไม่ว่าจะมาในรูปแบบใด รวมทั้งต้องไม่ถือว่าการจัดกิจกรรมทางการเมืองดังกล่าวเป็นความผิด เพราะการอนุญาตให้ใช้พื้นที่ในการจัดกิจกรรมในการตั้งคำถามและเสนอทางออกให้กับสังคมนอกจากจะเป็นบทบาทหน้าที่ของมหาวิทยาลัย ยังเป็นการป้องกันนิสิตนักศึกษาจากความเสี่ยงและอันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้หากผลักไสให้พวกเขาไปจัดกิจกรรมด้านนอก 

2.ภาคส่วนต่างๆ ในสังคมพึงพิจารณาข้อเรียกร้องของนิสิตนักศึกษาอย่างมีสติ ด้วยเหตุด้วยผล ไม่ว่าจะเห็นด้วยหรือไม่อย่างไร โดยมีประโยชน์ของสังคมเป็นตัวตั้ง พร้อมกับแสวงหาทางออกร่วมกันอย่างสันติ มิใช่ปฏิเสธที่จะรับฟังด้วยอคติ ใส่ร้ายป้ายสีหรือยุยงปลุกปั่นให้เกิดความเกลียดชังและนำไปสู่การใช้ความรุนแรงต่อกัน หรือสร้างเงื่อนไขให้เจ้าหน้าที่รัฐใช้ความรุนแรงกับนิสิตนักศึกษาและประชาชน  

3.รัฐต้องเคารพในสิทธิและเสรีภาพในการแสดงความเห็นโดยสันติของประชาชนที่ได้รับการรับรองทั้งในรัฐธรรมนูญและกติการะหว่างประเทศ ต้องไม่ขัดขวางการจัดกิจกรรมทางการเมืองในสถานศึกษา ต้องบังคับใช้กฎหมายตามหลักนิติรัฐนิติธรรม ไม่ตั้งข้อหาหรือดำเนินคดีกับนักเรียน นิสิต นักศึกษา รวมทั้งประชาชนที่มาชุมนุมอย่างสันติและแสดงความเห็นโดยสุจริต รวมถึงต้องอำนวยความสะดวกและรักษาความปลอดภัยให้กับผู้ร่วมชุมนุม และป้องกันไม่ให้มีการประทุษร้ายนิสิตนักศึกษาเพียงเพราะพวกเขาแสดงความเห็นเกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ในครรลองระบอบประชาธิปไตย  

รายชื่อแนบท้าย

1. Hara Shintaro นักวิชาการอิสระ

2. Sho Fukutomi นักวิชาการอิสระ/นักแปล  

3. กนกรัตน์ สถิตนิรามัย คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรมหาวิยาลัย

4. กนกวรรณ มะโนรมย์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

5. กนิษฐ์ ศิริจันทร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

6. กรพนัช ตั้งเขื่อนขันธ์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 

7. กรวิทย์ เกาะกลาง ภาควิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะศิลปะศาสตร์และวิทยากร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี

8. กฤดิกร วงศ์สว่างพานิช

9. กฤตพล วิภาวีกุล GSAPS, Waseda University

10. กฤติยา สิทธิเชนทร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ 

11. กฤษณ์พชร โสมณวัตร คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

12. กษมาพร แสงสุระธรรม

13. ก่อพงศ์ วิชญาปกรณ์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

14. กาญจนา เหล่าโชคชัยกุล มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

15. กิ่งกาญจน์ สำนวนเย็น คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

16. กิตติ วิสารกาญจน รัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

17. กิตติกาญจน์ หาญกุล มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

18. กิตติมา จารีประสิทธิ์

19. กิติมา ขุนทอง คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

20. กุลธีร์ บรรจุแก้ว คณะมนุษศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา

21. กุลลดา เกษบุญชู มี้ด

22. กุสุมา กูใหญ่ คณะวิทยาการสื่อสาร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี 

23. เกรียงศักดิ์ ธีระโกวิทขจร นักวิชาการสถาบันแรงงานและเศรษฐกิจที่เป็นธรรม

24. เกศศิรินทร์ มัธยทรัพย์ โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล

25. เกษม เพ็ญภินันท์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

26. เกียรติศักดิ์ บังเพลิง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม  

27. เกื้อ ฤทธิบูรณ์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

28. ขจรศักดิ์ สิทธิ สาขาวิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

29. คงสัจจา สุวรรณเพ็ชร คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

30. คมกฤช อุ่ยเต็กเค่ง คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

31. คมลักษณ์ ไชยยะ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนครศรีอยุธยา 

32. คอลิด มิดำ คณะดนตรีและการแสดง มหาวิทยาลัยบูรพา

33. คารินา โชติรวี

34. เคท ครั้งพิบูลย์

35. งามวัลย์ ทัศนียานนท์ นักวิชาการอิสระ 

36. งามศุกร์ รัตนเสถียร สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล

37. จักรกริช ฉิมนอก คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย

38. จักรกริช สังขมณี รัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

39. จันจิรา สมบัติพูนศิริ สถาบันเอเชีย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ German Institute for Global and Area Studies

40. จันทรา ธนะวัฒนาวงศ์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

41. จิรธร สกุลวัฒนะ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

42. จิรยุทธ์ สินธุพันธ์ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 

43. จิรสิริ เกษมสินธุ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

44. จิราพร เหล่าเจริญวงศ์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 

45. จิรายุทธ์ สีม่วง คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

46. จุไรพร จิตพิทักษ์ 

47. เจะอับดุลเลาะ เจ๊ะสอเหาะ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

48. เฉลิมเกียรติ ตะดวงดี หัวหน้างานกิจกรรมนักศึกษา วิทยาลัยพัฒนศาสตร์ ป๋วย อึ๊งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

49. เฉลิมพล โตสารเดช

50. ชยุตม์ ชำนาญเศรษฐ สาขาวิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยแอเบอร์ดีน

51. ชลนภา อนุกูล นักวิชาการอิสระ

52. ชลิตา บัณฑุวงศ์ ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

53. ชวาลิน เศวตนันทน์ Macquarie University, Australia

54. ชัชวาล ปุญปัน ข้าราขการบำนาญ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

55. ชัญญา ปัญญากำพล นักวิจัย Centre for Trade and Economic Integration, the Graduate Institute, Geneva

56. ชัยพงษ์ สำเนียง มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

57. ชัยยนต์ ทองสุขแก้ง คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

58. ชาญคณิต อาวรณ์ มหาวิทยาลัยพะเยา 

59. ชาญชัย ชัยสุขโกศล นักวิชาการอิสระ

60. ชาญณรงค์ บุญหนุน คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

61. ชาญวิทย์ เกษตรศิริ อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 

62. ชานันท์ ยอดหงษ์

63. ชิงชัย เมธพัฒน์ นักวิชาการอิสระ

64. เชาวฤทธิ์ เชาว์แสงรัตน์

65. ไชยณรงค์ เศรษฐเชื้อ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม  

66. ไชยันต์ รัชชกูล คณะรัฐศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา

67. ซัมซู สาอุ คณะวิทยาการอิสลาม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

68. ฐิติรัตน์ สุวรรณสม คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

69. ฐิรวุฒิ เสนาคำ สำนักวิชารัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

70. ณภคดล กิตติเสนีย์ Ph.D. student, University of Wisconsin-Madison

71. ณภัค เสรีรักษ์

72. ณรงค์ อาจสมิติ สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล

73. ณรงค์ฤทธิ์ สุมาลี มหาวิทยาลัยนครพนม 

74. ณรุจน์ วศินปิยมงคล คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

75. ณัฏฐา มหัทธนา อาจารย์พิเศษ

76. ณัฐนันท์ คุณมาศ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  

77. ณัฐพล ตันตระกูลทรัพย์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

78. ณัฐพล พินทุโยธิน คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 

79. ณิชภัทร์ กิจเจริญ สาขาวิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

80. ณิชา แย้มละม้าย คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร 

81. ณีรนุช แมลงภู่ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร

82. ดนชิดา วาทินพุฒิพร 

83. ดนัย พลอยพลาย นักวิชาการอิสระ

84. ดรุณี ไพศาลพาณิชย์กุล คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

85. ดลวัฒน์ บัวประดิษฐ์ วิทยาลัยสหวิทยาการ ธรรมศาสตร์

86. ดวงมน จิตร์จำนงค์

87. ดวงยิหวา อุตรสินธุ์

88. ดวงหทัย บูรณเจริญกิจ สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล

89. ดารารัตน์ คำเป็ง คณะรัฐศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา

90. เดโชพล เหมนาไลย คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

91. ตวงทิพย์ พรมเขต คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

92. ต่วนรุสดี จะนือรง นักวิชาการศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

93. ตะวัน วรรณรัตน์ คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

94. ติณณภพจ์ สินสมบูรณ์ทอง คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

95. ถนอม ชาภักดี ขอนแก่นแมนิเฟสโต้ และอุบล อาเจนด้า

96. ทวีลักษณ์ พลราชม สำนักวิชาพหุภาษาและการศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

97. ทวีศักดิ์ ปิ

98. ทับทิม ทับทิม 

99. ทัศนัย เศรษฐเสรี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

100. ทินกฤต สิรีรัตน์ นักศึกษาปริญญาเอก

101. ธงชัย วินิจจะกุล University of Wisconsin, Madison 

102. ธนพงศ์ จิตต์สง่า ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

103. ธนพร ศรีสุขใส 

104. ธนพฤกษ์ ชามะรัตน์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

105. ธนภาษ เดชพาวุฒิกุล สำนักวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

106. ธนรัตน์ มังคุด สำนักวิชารัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

107. ธนศักดิ์ สายจำปา สาขาวิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

108. ธนสักก์ เจนมานะ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

109. ธนาพล ลิ่มอภิชาต คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

110. ธนาวิ โชติประดิษฐ์ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัย


อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม ที่นี่