วันที่ 25 พ.ค. 2565 จิราพร สินธุไพร ส.ส.ร้อยเอ็ด พรรคเพื่อไทย โพสต์เฟซบุ๊ก ระบุถถึงการประชุมสุดยอดผู้นำเอเปค 2022 (APEC 2022) ที่ไทยเป็นเจ้าภาพส่อเค้าล้มเหลวตั้งแต่เริ่ม เกิดความขัดแย้งจน 21 เขตเศรษฐกิจ ไม่สามารถออกแถลงการณ์ร่วมได้ โดยระบุว่า การประชุมความร่วมมือทางเศรษฐกิจในเอเชีย-แปซิฟิค (Asia-Pacific Economic Cooperation: APEC) หรือ เอเปค มี ความสำคัญในด้านเศรษฐกิจการค้า เป็นอย่างมาก เอเปคมีสมาชิกทั้งสิ้น 21 เขต เศรษฐกิจ ประกอบด้วยประเทศมหาอำนาจทางการเมืองและเศรษฐกิจท่ีสำคัญ เช่น สหรัฐอเมริกา รัสเซีย จีน และญี่ปุ่น รวมทั้งสมาชิกอาเซียนจำนวนหนึ่ง รวมถึงประเทศแปซิฟิคต่างๆ โดยกลุ่มเศรษฐกิจเอเปคมีประชากรครอบคลุมมากกว่า 38% ของประชากรโลก และมีผลิตภัณฑ์มวลรวมหรือ GDP รวมกันมากกว่า 60% ของ GDPโลก
ประเทศไทยเคยเป็นเจ้าภาพการประชุมเอเปคมาแล้ว 2 ครั้ง ครั้งล่าสุดไทยเป็นเจ้าภาพในปี 2546 ในสมัยรัฐบาลพรรคไทยรักไทย นำโดย ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็นรัฐบาลท่ีสง่างาม เพราะมาจากการเลือกตั้งของประชาชนอย่างแท้จริง ในขณะนั้นสามารถบริหารจัดการ การประชุมประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างย่ิงไทยสามารถผลักดันให้เกิดความคืบหน้าในการเจรจาการค้าพหพุภาคีรอบโดฮา ภายใต้องค์การการค้าโลกได้ ในปีนี้เป็นโอกาสท่ีไทยได้เป็นเจ้าภาพการประชุมเอเปคในรอบเกือบ 20 ปี แต่เป็นท่ีน่าเสียดายว่า การประชุมครั้งนี้กลับถูกดำเนินการภายใต้รัฐบาลเผด็จการสืบทอดอานาจ ที่ขาดวิสัยทัศน์และไร้ภาวะผู้นำ
การจัดการประชุมเอเปคที่ไทยเป็นเจ้าภาพส่อเค้าจะล้มเหลวตั้งแต่เริ่มต้น เนื่องจากผลจากการประชุมระดับรัฐมนตรีการค้าเอเปค 2022 (APEC Ministers Responsible for Trade Meeting 2022) ซึ่งมีรัฐมนตรีการค้า จาก 21 เขตเศรษฐกิจเข้าร่วมการประชุม ระหว่างวันท่ี 19-22 พ.ค. ท่ีผ่านมาที่กรุงเทพมหานคร นั้น ประเทศไทยในฐานะประธานไม่ทำหน้าที่บริหารการประชุม อย่างมีประสิทธิภาพ ปล่อยให้ประเทศสมาชิกปล่อยปละละเลยประเด็นการค้าที่ไทยผลักดัน แต่กลับหยิบยกประเด็นข้อขัดแย้งด้านการเมืองระหว่างประเทศขึ้น หารือในท่ีประชุม ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจการค้าของเอเปคโดยตรง จนในท่ีสุดทำให้การประชุม ไม่สามารถออกแถลงการณ์ร่วม ของทั้ง 21 ประเทศได้
ทำให้ไทยในฐานะประธานต้องแก้เก้อออกแถลงการณ์เพียงคนเดียว บ่งชี้ถึงศักยภาพของไทยในการทำหน้าท่ีประธานท่ีล้มเหลว เพราะไทยในฐานะประธานเอเปคขาดวิสัยทัศน์ ขาดทักษะในการประนีประนอม และไม่ใส่ใจที่จะหาข้อสรุปร่วมกัน
จิราพร กล่าวว่า การที่รัฐบาลได้ออกมาแถลงข่าวแก้เกี้ยวว่า นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่การประชุม เอเปคไม่สามารถออกแถลงการณ์ร่วมได้ เป็นคำอธิบายท่ีไม่ครบถ้วน เพราะการประชุมในอดีตท่ีผ่านมาท่ีไม่สามารถออกแถลงการณ์ร่วมได้ เกิดจากข้อขัดแย้งที่ เก่ียวกับเศรษฐกิจการค้าเท่านั้น เช่น การประชุมเอเปคที่เวียดนามและปาปัวนิวกินี ตอนนั้นสมาชิกเอเปคมีความเห็นต่างในเนื้อหาเกี่ยวกับการเปิดเสรีทางการค้าและการปกป้องตลาด จึงไม่มีแถลงการณ์ร่วมออกมา ซึ่งสมาชิกทราบกันดีเพราะเป็นความขัดแย้งในประเด็นที่เกี่ยวกับเศรษฐกิจการค้าการลงทุน ต่างจากกรณีที่เกิดขึ้นกับระเทศไทยที่ #ปล่อยให้ประเด็นการเมืองมาเป็นข้อต่อรองในการประชุม จนทำให้สมาชิกทั้ง 21 เขตเศรษฐกิจ ไม่สามารถออกแถลงการณ์ร่วมในประเด็นด้านเศรษฐกิจการค้าได้
จิราพรร ระบุว่า ยิ่งไปกว่านั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้เสนอร่างแถลงการณ์ร่วมการประชุมเอเปค และ ร่างแถลงการณ์ประธานการประชุมเอเปคให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาในคราวเดียวกัน นั่นคือสัญญานที่แสดงให้เห็นว่า นายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรี ได้รับทราบแต่แรกแล้วว่า การประชุมระดับรัฐมนตรีการค้าเอเปค จะมีปัญหาจนอาจเกิดเหตุการณ์ที่ไม่สามารถหาฉันทมติร่วมกันได้ เสมือนปล่อยให้ประเด็นเศรษฐกิจการค้าที่จำเป็นต่อเวทีเอเปคมาเป็นตัวประกันเพื่อต่อรองกับประเด็นทางการเมือง แทนที่คณะรัฐมนตรีจะให้แนวทางและมอบนโยบายให้เจ้าหน้าที่อาวุโสหาทางออกเพื่อให้การประชุมรัฐมนตรีการค้านำไปสู่เป้าหมายท่ีไทยต้องการผลักดันให้ได้ แต่กลับเพิกเฉย
"หากการประชุมเอเปคนับจากนี้ ไทยไม่สามารถนำการประชุมกลับสู่กลไกการประชุมปกติได้ คาดการณ์ว่าการประชุมสุดยอดผู้นำเอเปคในช่วงปลายปีจะไม่ประสบความสำเร็จตามที่รัฐบาลตั้งเป้าไว้ และไม่สามารถใช้เวทีเอเปคเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อเศรษฐกิจของบรรดาสมาชิกเอเปคได้อย่างแน่นอน" จิราพร ระบุ