ไม่พบผลการค้นหา
จิราพร' ตอก 'ประยุทธ์' ยื้อเวลา-ขายชาติ เซ่นค่าโง่ 'เหมืองทองอัครา' หวั่นดีลใต้โต๊ะส่อผิด กม. ระหว่างประเทศ ลั่น 'เพื่อไทย' กัดไม่ปล่อย

เมื่อเวลา 09.00 น. วันที่ 18 ก.พ. 2565 ที่รัฐสภา ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พิจารณาเรื่องด่วน ญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อซักถามข้อเท็จจริงหรือเสนอแนะปัญหาต่อคณะรัฐมนตรี ตามที่ นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว ส.ส.น่าน พรรคเพื่อไทย ในฐานะผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร กับคณะ ส.ส. 173 คนเป็นผู้เสนอ ซึ่งเป็นการประชุมต่อเนื่องวันที่สอง

จิราพร สินธุไพร ส.ส.ร้อยเอ็ด พรรคเพื่อไทย อภิปรายทั่วไปแบบไม่ลงมติ ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 152 ในประเด็น 'เหมืองทองอัครา' ซึ่ง จิราพร ระบุว่า พรรคเพื่อไทยได้เคยอภิปรายในประเด็นนี้มาถึง 3 ครั้งแล้ว แต่ไม่เคยได้รับคำตอบที่ชัดเจนจาก พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีกระทรวงกลาโหม ทำให้กลายเป็นคดีระหว่างประเทศที่ดำมืด และอาจจะส่งผลร้ายแรงต่อประเทศไทย วันนี้ต้นขอมาอภิปรายเป็นครั้งที่ 4 เพื่อทวงถามทุกข้อสงสัยจาก พล.อ.ประยุทธ์ ในฐานะผู้นำรัฐบาล 

"เมื่อวานดิฉันได้ฟัง ท่านนายกฯ ตอบคำถามสภาผู้แทนราษฎร ทำให้ดิฉันเพิ่งทราบว่า พล.อ.ประยุทธ์ นอกจากจะหลงในอำนาจแล้วก็ยังหลงตัวเอง กล้าเอาตัวเองไปเปรียบกับพระรามในวรรณคดีไทย ดิฉันว่า พล.อ.ประยุทธ์ ก็คงจะเชื่ออย่างนั้นจริงๆ เพราะพระรามมีสมุนเป็นลิง ลิงก็ต้องเลี้ยงด้วยกล้วย สถานการณ์อาจจะคล้ายกับที่ พล.อ.ประยุทธ์ เผชิญอยู่ จึงเอาตัวเองไปเปรียบเทียบแบบนั้น" 

จิราพร สินธุไพร เพื่อไทย ประชุมสภา สภา อภิปรายทั่วไป  DC8-D88DE535D714.jpeg

จิราพร เผยว่า ที่ผ่านมาคดีเหมืองทองอัคราถูกเลื่อนการชี้ขาดอย่างน้อย 3 ครั้ง ครั้งล่าสุด 31 ม.ค. 2565 แต่กลับถูกเลื่อนไปอีกจะไม่มีกำหนด คำถามแรกที่ตนอยากจะถาม พล.อ.ประยุทธ์ คือการเลื่อนในแต่ละครั้งใครเป็นคนขอ เรื่องเพราะอะไร เลื่อนไปแล้วใครเสียประโยชน์หรือได้ประโยชน์ เพราะทุกครั้งที่มีการเลือกอ่านคำชี้ขาด ไม่นานประเทศไทยก็จะทยอยคืนสิทธิ์ในการทำเหมือง เพิ่มพื้นที่สำรวจแร่ทองคำ และให้สิทธิ์อื่นๆ เกือบทั้งหมด หลังจากบริษัทคิงส์เกตฟ้องร้องประเทศไทย รัฐบาลไม่เคยรายงานและชี้แจงต่อประชาชนเลยว่า บริษัทคิงส์เกตเรียกร้องต่อในประเด็นใดบ้าง และถ้าหากแพ้คดีประเทศไทยต้องจ่ายค่าเสียหายขั้นต่ำอยู่ที่เท่าไหร่ 

การตอบคำถามสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรซึ่งเป็นตัวแทนอำนาจนิติบัญญัติ คือเป็นหน้าที่ตามกฎหมายไม่ว่าอย่างไร พล.อ.ประยุทธ์ ไม่สามารถบ่ายเบี่ยงตอบคำถามได้ นอกจากนี้การที่อนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศ มีคำสั่งให้กระบวนการพิจารณาเป็นความลับ หมายถึงกระบวนการในการไต่สวน แต่กระบวนการเหล่านั้นได้เสร็จสิ้นลงไปแล้ว ตอนนี้อนุญาโตตุลาการพร้อมอ่านคำชี้ขาดแต่ได้มีการขอเลื่อนไปเรื่อยๆ พล.อ.ประยุทธ์ ต้องตอบคำถาม ไม่อาจบ่ายเบี่ยงหลีกเลี่ยงได้อีกต่อไป อย่าลืมว่าผู้ใช้มาตรา 44 คือ พล.อ.ประยุทธ์ หัวหน้าคณะรัฐประหาร แต่บริษัทคิงส์เกตไม่ได้ฟ้องแค่ พล.อ.ประยุทธ์ แต่ฟ้องประเทศไทย นั่นหมายถึงฟ้องคนไทยทุก ส.ส. ทุกท่านที่นั่งอยู่ที่นี่ รวมทั้งท่านประธานสภา ล้วนตกเป็นจำเลยร่วมกัน ทั้งๆ ที่ไม่ได้รู้เรื่องอะไรด้วย 

จิราพร ตั้งคำถามว่า สรุปแล้วรัฐบาล พล.อ. ประยุทธ์ กับบริษัทคิงส์เกตจะขอยกเลิกกระบวนการอนุญาโตตุลาการ แล้วเดินหน้าเจรจากัน หรือเลือกที่จะไปเจรจาแต่จะสู้คดีกันจนถึงที่สุด หากเป็นเช่นนั้น ไทยมีโอกาสแพ้คดีสูงมาก และไม่ว่าอย่างไรก็ต้องจ่าย 'ค่าโง่' ทั้งในรูปแบบเงิน ทองคำ หรือทรัพยากรประเทศ คำถามที่พี่น้องประชาชนทั้งประเทศอยากทราบคำตอบที่สุดคือ คนที่ต้องรับผิดชอบคือ ประยุทธ์หรือประเทศ พล.อ. ประยุทธ์ ที่เคยประกาศว่าจะรับผิดชอบเองนั้นจะควักกระเป๋าตัวเองจ่าย หรือจะเอางบประมาณแผ่นดินของไทยไปจ่าย เพราะแค่ค่าทนายสู้คดีกว่า 700 กว่าล้านบาท ก็ใช้งบประมาณแผ่นดินแล้ว 

จิราพร ระบุว่า ขอให้พลเอกประยุทธ์ตอบอย่างตรงไปตรงมาว่า การเปิดทางให้บริษัทคิงส์เกตนำผงเงินส่งทองคำที่ถูกอายัดไว้ออกขาย ให้สิทธิ์สำรวจแรกเกือบ 40 ไร่ ให้ติดต่อประธานบัตร 4 แปลง ส่วนหนึ่งของการเจรจาประนีประนอมยอมความหรือไม่ หากไม่ใช่ เหตุใดคดียังไม่ถึงที่สุด กลับไปเปิดเหมืองให้เขาทำต่อแล้ว เท่ากับว่าต้องใช้สมบัติชาติเจียด 1 ล้านไร่ เพื่อสังเวยค่าโง่ต่อการใช้มาตรา 44 สั่งปิดเหมืองทองอัครา เป็นไปได้อย่างไร คำตอบอยู่ในแถลงการณ์ของบริษัทคิงส์เกตต่อตลาดหลักทรัพย์ของออสเตรเลีย ซึ่งระบุว่า คิงส์เกตและรัฐบาลไทยได้ร่วมกันร้องขอให้คณะอนุญาโตตุลาการชะลอคำชี้ขาดไปจนถึงวันที่ 31 ต.ค. 2564 เพื่อขยายเวลาสั้นๆ ให้ทั้งสองฝ่ายได้เจรจาหาข้อยุติข้อพิพาทร่วมกัน จึงชัดเจนว่ามีการประนีประนอมยอมความกัน สิ่งที่ประเทศไทยต้องเสียให้กับบริษัทคิงส์เกตในครั้งนี้อาจจะเรียกได้ว่ามหาศาล มากกว่าเป็นเงินและทองคำที่ต้องชดใช้ในกรณีที่แพ้คดีเสียอีก 

ระหว่างการอภิปรายประเด็นนี้นั้น สัมฤทธิ์ แทนทรัพย์ ส.ส.ชัยภูมิ พรรคพลังประชารัฐ ลุกขึ้นประท้วงผู้อภิปรายว่า ขัดต่อข้อบังคับข้อที่ 69 ว่าด้วยการห้ามไม่ให้นำเอกสารใดๆ มาอ่านให้ที่ประชุมฟังโดยไม่จำเป็น ศุภชัย โพธิ์สุ ประธานสภาฯ วินิจฉัยว่า เอกสารที่ผู้อภิปรายอ่านนั้นมาจากความเห็นชอบของประธานและเจ้าหน้าที่เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ส่วนเนื้อหาจะจริงไม่จริงอย่างไร ต้องพิสูจน์กันในโอกาสต่อไป ถ้าอย่างนี้ไม่สามารถพิสูจน์ได้ จากนั้น จิราพร ได้ชี้แจงว่า เอกสารที่ตนอ่านได้นำมาจากเว็บไซต์ของบริษัทคิงส์เกต หากมีเวลาว่างก็สามารถเข้าไปอ่านได้ 

นอกจากนี้ จิราพร กล่าวต่อว่า การมอบประทานบัตรทำเหมืองนั้น อาจขัดต่อพระราชบัญญัติเหมืองแร่ มาตรา 17 วรรค 4 กำหนดว่าพื้นที่ทำเหมืองต้องไม่ใช่พื้นที่ในเขตอุทยานแห่งชาติ เพราะพื้นที่ซึ่งบริษัทคิงส์เกตขอประทานบัตรทำเหมืองนั้น มีพื้นที่ซ้อนทับกับป่าสงวนแห่งชาติป่าลุ่มน้ําวังทองฝั่งซ้าย และอุทยานแห่งชาติทุ่งแสลงหลวง ที่ผ่านมามีการพยายามยื้อเวลา และรัฐบาลค่อยๆ แล่เนื้อเถือแผ่นดินให้บริษัทคิงส์เกตไปเรื่อยๆ ยิ่งยืดเวลาออกไปนานบริษัทคิงส์เกตก็ยิ่งได้ แต่ประเทศไทยมีแต่เสียกับเสีย อีกทั้งข้อตกลงที่ใช้ในการประนีประนอมยอมความนั้นอยู่นอกเหนือจากข้อพิพาทซึ่งถือเป็นเรื่องผิดปกติ จุดศูนย์กลางของปัญหาอยู่ที่พลเอกประยุทธ์ใช้ อำนาจตามมาตรา 44 ออกคำสั่งให้ระงับการทำเหมืองแร่ทองคำของบริษัทอัครา ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับข้อตกลงที่ไทยและคิงส์เกตประนีประนอมกันอยู่ 

หากไทยกับคิงส์เกต มีการประนีประนอมยอมความจนนำไปสู่การถอนฟ้อง อนุญาโตตุลาการไม่ได้มีคำชี้ขาดออกมา คำถามสำคัญคือรายการต่างๆ ที่มีการเจรจาแลกเปลี่ยนกันนั้น ถูกต้องตามกระบวนการกฎหมายของไทยหรือไม่ หากผิดต่อกฎหมาย คู่กรณีทั้งสองจะเข้าข่ายสมคบคิดฉ้อฉลทำผิดต่อกฎหมายของอีกประเทศหนึ่ง ขัดต่ออนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการต่อต้านการทุจริต ซึ่งทั้งไทยและออสเตรเลียเป็นประเทศภาคีอยู่ เรื่องนี้จึงต้องถูกตรวจสอบจากเข้มข้นและถึงที่สุด 

จิราพร สินธุไพร เพื่อไทย ประชุมสภา สภา อภิปรายทั่วไป  8-B952712050C8.jpegศุภชัย อภิปรายทั่วไป ประชุมสภา 87D-F8A566C4DFAF.jpegจิราพร สินธุไพร เพื่อไทย ประชุมสภา สภา อภิปรายทั่วไป  EEC6E306.jpegจิราพร สินธุไพร เพื่อไทย ประชุมสภา สภา อภิปรายทั่วไป  ศรัณย์ D09ED1C12D3.jpeg

"การพยายามเจรจาประนีประนอมยอมความโดยการเอาทรัพย์สินสมบัติชาติในประเทศให้กับ บริษัทเอกชนต่างชาติเพื่อให้ตัวเองเสียตัวเงินเป็นทองคำเพื่อชดใช้ความผิดแทน พล.อ.เอกประยุทธ์ ว่าเลวร้ายแล้ว ที่ลึกไปกว่านั้นก็คือ มีการเจรจาประนีประนอมยอมความเพื่อนำไปสู่การถอนฟ้อง พบ พล.อ.ประยุทธ์ ไม่อยากให้มีการตัดสินมาตรา 44 ใช่หรือไม่ หากอนุญาโตตุลาการพิเศษออกคำชี้ขาดออกมา ต้องตัดสินประเด็นข้อพิพาท ซึ่งคือตัดสินว่าการใช้มาตรา 44 ของ พล.อ.ประยุทธ์ หัวหน้าคสช. ในขณะนั้น ว่าขัดต่อความตกลง ความตกลงการค้าเสรีไทย-ออสเตรเลีย (Thailand - Australia Free Trade Agreement - TAFTA) หรือไม่ อนุญาโตตุลาการจะต้องชี้สถานะทางกฎหมายของมาตรา 44 ซึ่งคงไม่มีอภินิหารตามกฎหมายใดในโลกนี้ ที่จะทำให้การใช้มาตรา 44 เป็นสิ่งที่ถูกต้องชอบธรรมในเวทีสากลโลก เพราะมาตรา 44 เป็นกฎหมายเถื่อน กำหนดโทษทางอาญาโดยไม่ผ่านรัฐสภา ออกโดยคณะรัฐประหารที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งของประชาชน" 

จิราพร ยังกล่าวต่อว่า ถ้าคณะอนุญาโตตุลาการที่สถานะของมาตรา 44 ว่าไม่มีสถานะเป็นกฎหมาย มันจะกลายเป็นสึนามิที่สะเทือนไปสู่ผู้ที่ออก และร่วมออกมาตรา 44 ทั้งหมด การสืบค้นหาประยุทธ์จันทร์โอชาและคณะรัฐประหาร จากการตรวจสอบเบื้องต้นจากผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายต่างประเทศ ให้ความเห็นตรงกันว่าพฤติการณ์ของ พล.อ.ประยุทธ์ และคณะรัฐประหาร ใช้มาตรา 44 ที่กระทำต่อบริษัทคิงส์เกต มีองค์ประกอบเข้าข่ายเป็นกลุ่มองค์กรอาชญากรรม และอาจส่งผลให้คณะรัฐประหารต้องขึ้นศาลอาญาระหว่างประเทศ 

"หากวันนี้เราไม่สามารถแสวงหาความจริงจากปาก พล.อ.ประยุทธ์ ได้ ก็ขอให้ทุกคำถามที่ดิฉันได้ถามไปในวันนี้ ประทับอยู่ในหัวใจของคนไทยทั้งประเทศ ขอให้ทุกท่านได้รับรู้ว่าพรรคเพื่อไทยจะไม่มีวันลืมเรื่องนี้ จะแสวงหาข้อเท็จจริงจากทุกช่องทางการติดตามให้ถึงที่สุด... ข้อแนะนำเดียวของดิฉันในวันนี้ คือขอให้ท่านเตรียมทีมทนายความทั้งในประเทศและต่างประเทศไว้ให้ดี" จิราพร ทิ้งท้าย