นับตั้งแต่การออกมาเผยแพร่ข้อมูลการถือหุ้นของอดีตลูกพรรคอนาคตใหม่ ‘นิกม์ แสงศิรินาวิน’ ที่ปัจจุบันอยู่สังกัดใหม่จากค่ายภูมิใจไทย
ตามด้วยบรรดา ‘นักร้อง’ ที่รับลูกเรียงคิวรุมยื่นคณะกรรมการเลือกตั้ง (กกต.) เพื่อสอบคุณสมบัติ ส.ส. ‘ว่าที่นายกฯ ก้าวไกล’ กระทั่งล่าสุดรายการข่าวชื่อดัง ได้ออกมาเผยแพร่ข้อมูลซึ่งเป็นคลิปการประชุมผู้ถือหุ้นไอทีวีที่อาจทำให้คดีพลิก
‘วอยซ์’ ขมวดปมตั้งแต่จุดเริ่มต้น ว่าสายพานแห่งความยุ่งเหยิงนี้มีความเป็นมาอย่างไรบ้าง
“นักการเมืองที่กำลังถือหุ้น ITV เตรียมตัวประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี และมอบตัว กกต. ด้วยนะครับ หัวหน้าพรรคหนึ่งถือ 42,000 หุ้น” เฟซบุ๊กนิกม์ระบุก่อนวันประชุมผู้ถือหุ้นไอทีวี
ในบันทึกการประชุม ‘ภาณุวัฒน์ ขวัญยืน’ ผู้ถือหุ้นที่ได้รับโอนหุ้นมาจากนิกม์ ตั้งคำถามว่าประธานการประชุมว่าไอทีวียังดำเนินการเกี่ยวกับสื่อหรือไม่ ซึ่งในบันทึกระบุคำพูดของผู้บริหารไอทีวีว่า
“ปัจจุบันบริษัทยังดำเนินกิจการตามวัตถุประสงค์ของบริษัท และมีการส่งงบการเงินและยื่นแบบภาษีเงินได้นิติบุคคลตามปกติ”
มือกฎหมายจากพรรคพลังประชารัฐยื่นตรวจสอบพิธา ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 98 (3) และมาตรา 42 (3) พ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. จากเรื่องการถือหุ้นไอทีวี ว่าเข้าข่ายถือหุ้นสื่อ ซึ่งเป็นลักษณะต้องห้าม
เปิดหลักฐานเพิ่มเติม หาก กกต.และศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัย อาจต้องพ้นจากตำแหน่งหัวหน้าพรรคด้วย เนื่องจากข้อบังคับของพรรคก้าวไกล ยึดตามรัฐธรรมนูญ นอกจากนี้อาจกระทบถึงการส่งผู้สมัคร ส.ส.ของพรรคก้าวไกล ต้องโมฆะไป เนื่องจากพิธาไม่มีคุณสมบัติเป็นหัวหน้าพรรค ที่จะลงนามรับรองผู้สมัครรับเลือกตั้งได้
-
-
-
-
จตุรงค์ สุขเอียด อดีต บก.ข่าวไอทีวี โพสต์เฟซบุ๊กตั้งข้อสังเกตอีกครั้ง หลังพูดคุยกับอดีตเพื่อนร่วมงาน ในคดีไอทีวี และ สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (สปน.) บอกเลิกสัญญาไอทีวีไม่ชอบด้วยกฎหมาย และศาลตัดสินให้ทั้งสองฝ่ายจ่ายค่าทดแทนและค่าเสียหายเท่ากัน จำนวน 2,890 ล้านบาท แต่ สปน.ไม่เห็นพ้อง จึงยื่นอุทธรณ์คำสั่งต่อศาลปกครอง เมื่อปี 2564 และคดียังอยู่ระหว่างการพิจารณา ซึ่งคาดว่าจะมีคำสั่งในเดือน มิ.ย.นี้ ทำให้เขาแปลกใจทำไมคำพิพากษาจะบังเอิญออกมาในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อทางการเมืองพอดี
ในช่วงเวลานี้เรืองไกร เข้าให้ข้อมูล กกต.เพิ่มเติมอีก ขณะที่สนธิญาได้ยื่นขอให้ยุบพรรคก้าวไกลจากการถือหุ้นสื่อ ด้านกลุ่ม 24 มิถุนาประชาธิปไตย นำโดย ‘สมยศ พฤกษาเกษมสุข’ ยื่นหนังสือให้ กกต. เร่งประกาศรับรองผลการเลือกตั้ง และไม่รับคำร้องสอบคุณสมบัติต้องห้ามของพิธา
เหตุผลที่ กกต.ไม่รับคำร้องของเรืองไกร และคนอื่นๆ เนื่องจากเลยกรอบเวลา 7 วันหลังวันประกาศรายชื่อผู้สมัคร ส.ส.ที่จะยื่นเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับคุณสมบัติได้ แต่ยังคงดำเนินการตามม.151 พ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส.
เปิดคลิปการประชุมผู้ถือหุ้นเมื่อวันที่ 26 เม.ย.ในรายการข่าวสามมิติ เป็นช่วงที่ภาณุวัฒน์สอบถามว่าไอทีวียังดำเนินกิจการสื่อหรือไม่ คิมห์ สิริทวีชัย ประธานที่ประชุมตอบว่า “ตอนนี้บริษัทยังไม่มีการดำเนินการใด ๆ นะครับ ก็รอผลคดีความให้สิ้นสุดก่อนนะครับ”
คิมห์เป็นทั้งกรรมการผู้อำนวยการอินทัช และเป็นประธานที่ประชุมผู้ถือหุ้นไอทีวี คนเดียวกับที่ให้คำตอบ ‘ภาณุวัฒน์’ ในบันทึกการประชุม
ชัยธวัชระบุว่า พฤติการณ์เช่นนี้อาจเข้าข่ายกระทำการอันเป็นเท็จ เพื่อกลั่นแกล้งให้ผู้สมัคร ส.ส. ถูกเพิกถอนสิทธิรับเลือกตั้ง ซึ่งมีความผิดตาม ม.143 ของ พ.ร.ป. ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส.
เรืองไกรยังเปิดหลักฐานใหม่ในการโอนหุ้นของพิธา เมื่อวันที่ 25 พ.ค. และเปิดเอกสารงบการเงิน ที่หมายเหตุบ่งชี้ว่าบริษัทมีการทำธุรกิจสื่ออยู่ ซึ่งระบุในข้อ 10 ระบุว่า
‘เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2566 บริษัทมีการนำเสนอการลงสื่อให้กับกิจการที่เกี่ยวข้องกัน และเมื่อวันที่ 28 เมษายน 2566 ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท ครั้งที่ 2/2566 มีมติรับทราบรูปแบบการดำเนินธุรกิจของบริษัท โดยเป็นผู้ให้บริการลงสื่อโฆษณา’
อนึ่ง ITV ก่อตั้งเมื่อปี 2539 เป็นผลลัพธ์จากการต่อสู้ในช่วงพฤษภา 2535 ที่มีการเรียกร้อง ‘สื่อเสรี’ ต่อมาวันที่ 6 มี.ค. 2550 ที่คณะรัฐมนตรีมีมติให้ ITV ยุติออกอากาศ วันที่ 7 มี.ค. 2550 เนื่องจาก ไอทีวีไม่สามารถจ่ายค่าปรับและค่าสัมปทานค้างได้ และ สปน.ได้มีหนังสือลงวันที่ 7 มี.ค. 2550 ซึ่งมีผลให้ไอทีวี หยุดดำเนินการธุรกิจโทรทัศน์ และถือว่าไม่ได้ประกอบกิจการสื่อมวลชนมาตั้งแต่ปี 2550 อีกทั้งยัง ได้ถอนชื่อออกจากตลาดหลีกทรัพย์ปี 2557
พิธาถือหุ้น ไอทีวีตั้งแต่ปี 2551 เป็นผู้ถือหุ้นแทนทั้งหมด 42,000 หุ้น คิดเป็น 0.0035% มีมูลค่า 56,910 บาท โดย พิธา เปิดเผยว่า มีการโอนหุ้นไปให้ ทายาท บุคคลในครอบครัวตั้งแต่ ปลายเดือนพฤษภาคม2566
14 ม.ค. 2559 คณะอนุญาโตตุลาการมีคำชี้ขาดให้ สปน. ต้องชำระค่าเสียหายให้แก่ไอทีวีเป็นจำนวนเงินประมาณ 2,890 ล้านบาท และ ไอทีวี ต้องชำระค่าผลประโยชน์ตอบแทนหรือค่าตอบแทนส่วนต่างพร้อมดอกเบี้ยให้แก่ สปน. เป็นจำนวนเงินเท่ากัน แต่ สปน. ไม่เห็นพ้องด้วย
จึงยื่นฟ้องขอเพิกถอนคำชี้ขาดดังกล่าวต่อศาลปกครองกลางวันที่ 29 เม.ย. 2559 ณ วันที่ ธ.ค. 2564 ศาลปกครองกลางยกเลิกคำร้องของ ศปน. ล่าสุด แต่ สปน. ได้ยื่นอุทธรณ์ต่อศาลปกครองสูงสุดเมื่อวันที่ 15 ม.ค. 2564 ปัจจุบัน อยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลปกครองสูงสุด
อ้างอิง
https://www.isranews.org/article/isranews-scoop/119122-inves0999-15.html
https://www.facebook.com/joyjaturong/posts/6432756000078147?ref=embed_post
https://www.posttoday.com/politics/695758
https://www.voicetv.co.th/read/tFQjc3N-b