ไม่พบผลการค้นหา
'เพื่อไทย' พร้อมผ่าตัดเปลี่ยนโครงสร้างภาคการเกษตร พลิกฟื้นรายได้เกษตรกรเพิ่ม 3 เท่า ด้วยนวัตกรรมเกษตรก้าวหน้า

วันที่ 28 ก.พ. 2566 ที่พรรคเพื่อไทย ในการเสวนา “สร้างรายได้เกษตรกรอย่างไร เพื่อไทยมีคำตอบ” นำโดย กิตติรัตน์ ณ ระนอง อดีตรองนายกรัฐมนตรี น.สพ.ชัย วัชรงค์ นักวิชาการด้านเกษตร และสกุณา สาระนันท์ ส.ส. สกลนคร พรรคเพื่อไทย 

ช่วงแรกของการเสวนา กิตติรัตน์ ระบุว่า หลักคิดของเพื่อไทยในการแก้ปัญหาราคาสินค้าเกษตร คือการเพิ่มความต้องการในสินค้าเกษตร ไปพร้อมกับการ ‘ปรับ’ ปริมาณการผลิต เช่น พืชอาหารสัตว์ ข้าวโพด ถั่วเหลือง ยังเพิ่มการปลูกได้อีกมาก ไม่ล้นตลาดเพราะยังเป็นคงเป็นที่ต้องการ ส่วนปริมาณข้าวในปัจจุบันมีปริมาณที่ปลูกมากกว่าที่บริโภคเอง การเพิ่มความต้องการใช้ คือ บริหารจัดการจัดการในเรื่องของเมนูอาหาร ซึ่งจะเพิ่มอุปสงค์รวมไปถึง เรื่องของการส่งออก การทำงานด้านการตลาด สนับสนุนผู้ส่งออกปัจจุบันให้เข้าไปแข่งขันในตลาดที่มีความต้องการได้มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นข้าวคุณภาพสูง หรือ ข้าวคุณภาพรอง ส่วนข้าวโพดนั้น ยังมีความต้องการมากต่อเนื่อง 

จึงควรมีการส่งเสริมปศุสัตว์และทำไปพร้อมๆ กัน ส่วนยางพาราสามารถสนับสนุนการใช้ประโยชน์อื่นนอกเหนือจากการทำผลิตภัณฑ์ยางการทำถนนพาราซอยซีเมนต์ ซึ่งในยุคท้ายของรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ได้มีการดำเนินการให้เห็นแล้วว่าได้ผลดี การขยายผลให้น้ำยางมาใช้ในวัตถุประสงค์อื่นสามารถเพิ่มความต้องการการใช้ได้ นอกจากนี้ การลดต้นทุนจะสามารถโยงกับเรื่องการลดราคา หากเราเพิ่มความต้องการการใช้และขยายตลาดไปได้หลายๆสินค้าได้

ส่วนกรณีมีวิพากษ์วิจารณ์เรื่องข้าว ว่าโรงสีกำไรเยอะ ผู้ส่งออก ผู้ค้าข้าว กำไรมาก แต่คนปลูกขาดทุน หากวิเคราะห์ข้อมูลจะพบว่าอาจไม่จริงทั้งหมด เกษตรกรที่เป็นชาวนาเป็นผู้ถือหุ้นของโรงสี และโรงสีก็มีเงินทุนเพียงพอจากการที่ภาครัฐจะช่วยสนับสนุน ให้เกษตรกรเป็นผู้ถือหุ้น ภาคธนาคารจะมีความมั่นใจ ระบบบัญชีโปร่งใสมากขึ้น และการใช้สินเชื่อสำหรับโรงสีก็ดีขึ้น ต้นทุนในการกู้เงินก็จะต่ำลง โรงสีสามารถเข้าถึงผู้ค้า ไม่ว่าจะเป็นในประเทศหรือแม้เสริมพลังให้กับผู้ส่งออกให้เข้มแข็งมากขึ้น ฉะนั้นชาวนาจึงได้รับผลตอบแทนตั้งแต่การเป็นผู้ปลูกไปจนถึงที่เป็นส่วนหนึ่งของเป็นผู้ถือหุ้น การค้าข้าว และการส่งออกด้วย

1007821.jpg

“นโยบายราคาสินค้าเกษตรขึ้นยกแผง ตามที่พรรคเพื่อไทยประกาศเอาไว้เป็นสิ่งที่ทำได้แน่นอน และเมื่อราคาเพิ่มขึ้นไปคูณกับปริมาณผลผลิตที่เพิ่มขึ้นคำว่าผ่าตัดภาคการเกษตรเป็นคำสำคัญ หลักคิดของพรรคเพื่อไทยคือเพิ่มรายได้ ลดรายจ่าย และขยายโอกาส เป็นหลักการใหญ่ที่เราใช้มาโดยตลอดตั้งแต่สมัยพรรคไทยรักไทย ด้วยแนวคิด “ตลาดนำ นวัตกรรมเสริม เพิ่มรายได้” กิตติรัตน์ กล่าว 

ด้าน สกุณา กล่าวว่า พรรคเพื่อไทยเป็นต้นตำรับการทำนโยบายตอบโจทย์ประชาชนมาตั้งแต่พรรคไทยรักไทย สมัย ดร.ทักษิณ ชินวัตร ที่มีทัวร์นกขมิ้น นำนักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญด้านการเกษตรลงไปสัมผัสพื้นที่จริง รับฟังเสียงของพี่น้องประชาชน เพื่อนำไปออกแบบนโยบายที่มีเป้าหมายชัดเจน ตอบโจทย์พี่น้องประชาชน ซึ่งหลังจากที่ตนได้ลงพื้นที่ พี่น้องประชาชนเข้ามาขอความช่วยเหลือวาา ตั้งแต่มีรัฐบาลมา ยังไม่ได้ใช้หนี้ ธกส. แม้แต่บาทเดียว คำบ่นเหล่านี้แสดงให้เห็นประชาชนมีรายรับไม่พอรายจ่าย มีหนี้เดิมไม่ได้ใช้ หนี้ใหม่ก็มา ขณะที่รัฐบาลนี้แก้ปัญหาหนี้ด้วยการสร้างหนี้ใหม่ แต่พรรคเพื่อไทยจะแก้หนี้ด้วยการสร้างรายได้ และรายได้นั้นเป็นรายได้ใหม่ด้วย เพราะการสร้างความอยู่ดีกินดีของพี่น้องประชาชนไม่สามารถแก้แบบเดิมได้ เป็นที่มาของแคมเปญคิดใหญ่ ทำเป็น จึงแก้ปัญหาได้ 

สกุณา กล่าวอีกว่า ปัจจุบันภาคเกษตรกรอยู่ในภาคแรงงาน 40% มีรายได้จากภาคเกษตร 8% ของ GDP ขณะที่พื้นที่เกษตร 140 ล้านไร่ ทำรายได้เพียง 10,000 บาทต่อไร่ เมื่อเทียบกับประเทศพัฒนาแล้วที่มีรายได้ 50,000 บาทต่อไร่ พรรคเพื่อไทย จึงมีเป้าหมายเพิ่มรายได้เกษตรกร 3 เท่าภายในปี 2570 เปลี่ยนการเกษตรเป็นเกษตรสมัยใหม่ ด้วยการใช้ตลาดนำ นวัตกรรมเสริม เพิ่มรายได้

1007830.jpg

พรรคเพื่อไทยเห็นว่า ทางออกที่ดีกว่าการชดเชยรายได้ที่ต้องอาศัยงบประมาณ คือการเพิ่มผลผลิตต่อไร่ เช่น ปัญหาข้าว ที่มีผลผลิต 200-300 กิโลกรัมต่อไร่ มันสำปะหลัง ได้เพียง 2 ตันจากที่ควรได้ 8 ตันต่อไร่ ต้องเอานวัตกรรมเข้าไปแก้ เพื่อไทยได้ลงไปทำงานร่วมกับเกษตรกร ทดลองเพิ่มผลผลิตในสวนยางพารา จากเดิมราคายางพาราราคา 17-18 บาท รายได้ไม่เพียงพอ แต่เมื่อใส่ปุ๋ยถูกสูตร ใช้นวัตกรรมถูกเวลา ทำให้ผลผลิตเพิ่ม 2 เท่าใน 1-2 เดือน ซึ่งถ้าได้ผลผลิตเท่านี้ ในราคาเท่านี้ก็อยู่ได้ หรือสมุนไพรฟ้าทะลายโจนที่มีการใช้งานอย่างมากในช่วงโควิด เกษตรกรเคยขายได้ 30-50 บาทต่อกิโลกรัม แต่เมื่อนำนวัตกรรมไปช่วย ทำให้ได้สารสำคัญแอนโตรกาโฟไลด์ ในปริมาณสูง ทำให้ขายได้ในราคาที่ดีขึ้น 200 บาท หรือทำแคปซูล ก็เพิ่มไปถึง 2000 บาทต่อกิโลกรัม

ขณะที่ น.สพ.ชัย วัชรงค์ นักวิชาการด้านเกษตร กล่าวว่า เกษตรกรไทยทั่วประเทศมี 8 ล้านครัวเรือน มีแค่ 3% ที่ร่ำรวยมาก ขณะที่ภาคเกษตร 97% ถูกทิ้งไว้ข้างหลัง และเป็นเกษตรกรแบบล้าหลัง ดั้งเดิม คือ มีโครงสร้างผลิตที่ไม่ใช้หลักการตลาดนำ โดยแรงงานทั้งระบบ เป็นภาคการเกษตร 40% ส่วนพื้นที่การเกษตร 46% จากที่ดินทั้งประเทศ 140 ล้านไร่ สร้างมูลค่า 1.4 หมื่นล้านล้านบาท เฉลี่ยแล้วสร้างมูลค่าที่ผลิตได้ 10,000 บาทต่อไร่ต่อปี ขณะที่ราคาข้าวเปลือก 6,000 บาทต่อไร่ต่อปี กำไรไม่ถึง 20% เหลือกำไรไร่ละ 1,000 บาท ขณะที่ญี่ปุ่นอยู่ที่ 85,000 บาทต่อไร่ต่อปี มากกว่าไทย 8.5 เท่า ไต้หวัน 5 เท่า เนเธอร์แลนด์ 10 เท่า 

ทั้งนี้ สินค้าเกษตรหลายยังมีโอกาสตลาดอีกมากมาย เช่น ข้าวโพด นำเข้า 3.5 ล้านตัน ไทยมีพื้นที่ปลูกข้าวที่สามารถแปลงมาปลูกข้าวโพดได้ ถ้าปลูกแบบเกษตรก้าวหน้า กำไรจะอยู่ 6,000 - 8,000 บาท ส่วนถั่วเหลืองนำเข้า 4.5 ล้านตัน ทำเงินดีกว่าปลูกข้าว 3-4 เท่า ผลไม้ เช่น ทุเรียน อีก 10-20 ปีสดใสมาก เพราะจีนกินทุเรียน คนละ 7 ขีด หากส่งเสริมปลูกทุเรียนสัก 2 ล้านไร่ เหลือทำเงินเข้ากระเป๋าไร่ละ 1.5 -2 แสน 

1007824.jpg

ประเทศไทยใช้เทคโนโลยีในการผลิตต่ำมาก รอน้ำฝนเป็นหลัก จึงควรนำเทคโนโลยีมาใช้เพิ่มขึ้น เห็นได้จากนาปรังใช้น้ำจากชลประทานที่สามารถคาดการณ์ปริมาณน้ำได้ ทำให้ผลผลิตดีกว่าข้าวนาปีที่ปลูกโดยไม่คำนึงถึงดินฟ้าอากาศ นอกจากนี้ ภาคเกษตรมีแรงงานที่อายุ 50 ขึ้นไป จึงควรส่งเสริมนักการเกษตรรุ่นใหม่ด้วย รัฐบาลมีแผนเพิ่มพื้นที่ชลประทานจาก 35 ล้านไร่ เป็น 51 ล้านไร่ ภายในปี 2580 ถือว่าช้ามาก และยังต่ำเมื่อเทียบกับเวียดนาม จึงควรทำในอัตราเร่งกว่านี้เพราะการทำเกษตรในพื้นที่ชลประทานจะได้ผลผลิตดีกว่าพื้นที่นอกชลประทาน 3 เท่า

“เราต้องผ่าตัดโครงสร้างเกษตร พลิกให้เป็นเกษตรก้าวหน้าแม่นยำ พลิกฟื้นรายได้เกษตรกร ถ้าไว้ใจพรรคเพื่อไทย ส่งเสริมการเปลี่ยนผ่านสินค้าเกษตร ปลูกข้าวโพด ถั่วเหลือง โดยลดพื้นที่ปลูกข้าวลงและชดเชยให้ไร่ละ 3,000 บาท จากที่เคยได้ไร่ละพัน ส่งเสริมสินค้าเกษตรที่ตลาดเอื้อ และทำให้ราคาข้าวปรับเพิ่มขึ้นด้วย” น.สพ.ชัย กล่าว