แพทย์หญิงคุณหญิงพรทิพย์ โรจนสุนันท์ อดีตผู้อำนวยการสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ กล่าวถึงกรณีการเสียชีวิต ของนาย ภคพงค์ ตัญกาญจน์ หรือ เมย นักเรียนเตรียมทหาร ชั้นปีที่1 ที่เสียชีวิต ว่า
การเสียชีวิตของน้องเมย เป็นการเสียชีวิตแบบผิดปกติเป็นการตายแบบกระทันหัน ตายไม่ปรากฏสาเหตุ
ขั้นตอนในการสัญสูตรพลิกศพต้องทำแบบพยาธิแพทย์ และนิติเวช ควบคู่กันไป แต่กระบวนการที่มีการผ่าพิสูจน์น้องเมย เป็นแบบพยาธิเท่านั้นคือการตัดอวัยวะนำไปแช่ฟอร์มาลีนเพื่อหาสาเหตุการเสียชีวิต โดยไม่ได้แจ้งญาติ ถึงขั้นตอนต่างๆ
ส่วนการผ่าแบบนิติเวชเป็นการนำชิ้นส่วน ที่ต้องการผ่าตัดเพื่อหาสาเหตุการตาย ออกจากร่างกายต้องมีการแจ้งญาติ ด้วยวาจาเพราะถือเป็นวัตถุพยานหลังผ่าเสร็จจะต้องมีการนำชิ้นส่วนกลับใส่ในร่างกายเพื่อมอบให้กับญาติ โดยขั้นตอนการผ่าพิสูจน์ น้องเมย ตนเองไม่ติดใจ แต่ติดใจสาเหตุการเสียชีวิตว่าเสียชีวิตที่ใด อย่างไร ทั้งนี้เชื่อว่าปัญหาดังกล่าวเกิดขึ้นจากการสื่อสารไม่ตรงกันระหว่างแพทย์ ที่ผ่าพิสูจน์ กับญาติ จึงอยากให้แพทย์ออกมาชี้แจงเพื่อให้สังคมหายข้องใจ
ทั้งนี้ สหประชาชาติได้กำหนด Minnesota Protocol ว่า การตายที่อยู่ในความรับผิดชอบของหน่วยงานรัฐ ต้องมีกระบวนการตรวจสอบพิสูจน์โดยหน่วยงานอิสระ ถ้าผู้ดำเนินการทุกส่วนไม่อิสระ แต่ในประเทศไทยยังไม่มีการดำเนินการกำลังอยู่ เมื่อประมาณกลางปีที่ผ่านมามีการนำเสนอเรื่องนี้มายังกระทรวงยุติธรรมเพื่อเข้ากระบวนการปฎิรูปกระบวนการยุติธรรม
ส่วนเรื่องการดำเนินคดี ตนเองติดใจว่าผู้ที่ดำเนินการ ดำเนินการได้อย่างอิสระเต็มที่ไหม ถ้าผู้ดำเนินการทุกส่วนไม่อิสระ ถ้าขึ้นต้นกระบวนการรวบรวมหลักฐานไม่อิสระ ศาลอะไรก็ไม่สามารถให้ความเป็นธรรมได้