เวลา 18.00 น. วันที่ 6 พ.ค. 2565 ที่ Parco Condo & Hotel by Bonanza Khaoyai พรรคร่วมฝ่ายค้านนำโดย นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว ส.ส.น่าน หัวหน้าพรรคเพื่อไทย ในฐานะผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร ชัยธวัช ตุลาธน เลขาธิการพรรคก้าวไกล วิรัตน์ วรศสิริน ส.ส.แบบบบัญชีรายชื่อ พรรคเสรีรวมไทย นิคม บุญวิเศษ หัวหน้าพรรคพลังปวงชนไทย เทวกฤต พรหมมา รองหัวหน้าพรรคเพื่อชาติ ร่วมออกแถลงการณ์ “ขีดเส้นใต้ความล้มเหลว ขีดเส้นตายรัฐบาลที่สิ้นสภาพ”
โดย นพ.ชลน่าน อ่านแถลงการณ์ว่า วันนี้พรรคร่วมฝ่ายค้านอันประกอบด้วยพรรคเพื่อไทย พรรคก้าวไกล พรรคเสรีรวมไทย พรรคประชาชาติ พรรคเพื่อชาติ พรรคพลังปวงชนไทย มารวมตัว ณ ที่แห่งนี้ ในช่วงเวลาที่สำคัญยิ่งของการเมืองไทย เวลาที่สำคัญยิ่งสำหรับประเทศไทย ประเทศไทยวันนี้เรากำลังอยู่ในจุดที่ต่ำที่สุด เผชิญวิกฤตในทุกมิติ “วิกฤตตัวผู้นำ” นายกรัฐมนตรีที่ไร้ศักยภาพ ขาดความน่าเชื่อถือ นำพาประเทศมาถึงทางตัน เป็นรัฐบาล “หมดสภาพ” ในการบริหารราชการแผ่นดิน
อีกทั้งยังจะ “สิ้นสภาพ” ในมิติความถูกต้องตามตัวบทกฎหมายด้วยปมวาระนายกรัฐมนตรี 8 ปี “วิกฤตเศรษฐกิจ” ที่สร้างความทุกข์ยากแก่พี่น้องประชาชนอย่างแสนสาหัส ทำลายสถิติการเพิ่มขึ้นของคนจน หนี้สาธารณะ หนี้ครัวเรือน การตกงาน การขาดดุลงบประมาณ สูงสุดในประวัติศาสตร์ชาติภายใต้การบริหารของรัฐบาล “วิกฤตสาธารณสุข” ที่คร่าชีวิตประชาชนต้องนอนตายกลางถนนเป็นจำนวนมาก กลายเป็นประเทศที่ติดเชื้อลำดับต้นๆ ของโลก สาเหตุจากการบริหารและมาตรการที่ผิดพลาด ควบคุมโรคระบาดแบบไร้ทิศทาง กระทำเสมือนชีวิตของประชาชนนั้นไร้ค่า ไร้ความหมาย “วิกฤตการเมือง” เผด็จการในคราบประชาธิปไตย ได้สร้างประวัติศาสตร์ที่เลวร้ายทิ้งไว้ให้ประเทศอย่างต่อเนื่องยาวนาน ด้วยรัฐธรรมนูญฉบับ “วางยาพิษ” รวมถึงระบบนิติบัญญัติของเสียงข้างมากที่ล้มเหลว สภาอันทรงเกียรติกลายเป็นสภาที่ซื้อได้ด้วยเงิน
นพ.ชลน่าน ระบุว่า “วิกฤตผู้นำ วิกฤตเศรษฐกิจ วิกฤตสาธารณสุข วิกฤตการเมือง” ทั้ง 4 วิกฤตที่ปะทุขึ้นพร้อมกันในปัจจุบัน เป็นอันตรายอย่างยิ่งต่อประเทศชาติ และนำความทุกข์ยากมาสู่ประชาชนอย่างมากมายมหาศาล
พรรคร่วมฝ่ายค้านมีความเห็นร่วมกันว่า หากปล่อยให้สถานการณ์เหล่านี้ดำเนินต่อไป จะสร้างความเสียหายจนไม่อาจเยียวยาแก้ไขได้ พรรคร่วมฝ่ายค้านจึงมีมติร่วมกัน “ขีดเส้นตาย” ให้รัฐบาลที่ “หมดสิ้นสภาพ” นี้ นับตั้งแต่การเปิดประชุมสภาสมัยสามัญ 22 พ.ค. 2565 เป็นต้นไป ในการดำเนินการของพรรคร่วมฝ่ายค้านใน 4 วาระสำคัญ ได้แก่
1. การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ในช่วงเดือนพ.ค.-มิ.ย. 2565
2. การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ (พ.ร.ป.) ว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กับร่าง พ.ร.ป.ว่าด้วยพรรคการเมือง ในเดือนมิ.ย. 2565
3. การอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลตามมาตรา 151
4. การดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี รวมกันแล้วไม่เกิน 8 ปี ของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ในเดือน ส.ค. 2565
พรรคร่วมฝ่ายค้านขอประกาศว่า วันนี้ เรารวมพลังเพื่อยุติ “รัฐบาลที่สิ้นสภาพ” โดยการ “ขีดเส้นตาย” การทำงานของรัฐบาลนี้ ทำหน้าที่ได้ไม่เกินเดือน ส.ค.ที่จะถึง
พรรคร่วมฝ่ายค้านเห็นว่า “ถึงเวลาแล้วที่ต้องคืนอำนาจ คืนชีวิต คืนความกินดีอยู่ดี คืนประชาธิปไตย ให้กับประชาชนทุกคน”
จากนั้น ชัยธวัช ตุลาธน เลขาธิการพรรคก้าวไกล กล่าวว่า เส้นตายของรัฐบาลชุดนี้มีความสำคัญมากต่อประชาชน เราพรรคร่วมฝ่ายค้านจะทำงานเต็มที่ไม่เพียงแต่อภิปรายงบประมาณและอภิปรายไม่ไว้วางใจ และเป็นเส้นตายที่ พล.อ.ประยุทธ์ จะดำรงตำแหน่งนายกฯ ครบ 8 ปี ตามรัฐธรรมนูญที่ คสช.ได้บัญญัติไว้เอง คือดำรงตำแหน่งมา 8 ปีไม่สามารถตีความอย่างอื่นหรือยกเว้นได้ หรือมีบทเฉพาะกาลยกเว้นได้ ไม่มีทางตีความเป็นอย่างอื่นเพื่อให้ พล.อ.ประยุทธ์ ดำรงตำแหน่งได้เกินเดือน ส.ค.นี้ เวลารัฐบาลอ้างว่า พล.อ.ประยุทธ์ ไม่ต้องยื่นบัญชีทรัพย์สินเพราะอยู่ในตำแหน่งต่อเนื่องมาแต่ปี 2557 จะมาอ้างว่าพ้นตำแหน่งจะไม่ได้ดำรงตำแหน่งต่อเนื่องไม่ได้
ชัยธวัช ระบุว่า ตอนนี้เกิดฉันทามติว่าหมดเวลา พล.อ.ประยุทธ์แล้ว แต่ขณะเดียวกันมีการโยนหินถามทางให้ พล.อ.ประวิตรมาเป็นนายกฯ คนใหม่แทน พล.อ.ประยุทธ์ โดยอาศัยช่องว่างตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 272พรรคก้าวไกลเห็นว่าการใช้กลไลรัฐธรรมนูญให้ พล.อ.ประวิตรมาเป็นนายกฯ ไม่ใช่ทางออกของวิกฤต และรัฐบาลนี้ 4 ไม่ คือ ไม่มีความชอบธรรม ไม่มีวิสัยทัศน์ ไมมีประสิทธิภาพ ไม่มีความรับผิดชอบต่อประชาชน ถ้านายกฯ เป็น พล.อ.ประวิตร จะเป็นรัฐบาลไม่รู้ ไม่สามารถนำพาประเทศพ้นวิกฤตได้ ทางออกที่ชอบธรรมคือยุบบสภาฯ เท่น้ัน จุดยืนของพรรคก้าวไกลไม่ต้องการเห็น พล.อ.ประวิตร เป็นนายกฯ หลังเดือน ส.ค.นี้
วิรัตน์ วรศสิริน ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ พรรคเสรีรวมไทย กล่าวว่า ภาวะน้ำมันแพงไม่ใช่เพิ่งเกิดขึ้น พล.อ.ประยุทธ์เป็นนายกฯ มา 8 ปี ตามรัฐธรรมนูญบอกห้ามเป็นนายกฯ เกิน 8 ปีมิได้ ตามมาตรา 158 ของรัฐธรรมนูญที่อาจทำให้เกิดวิกฤตการเมืองได้ ถ้า พล.อ.ประยุทธ์ อยู่เกิน 8 ปี ตนเห็นว่า พล.อ.ประยุทธ์ ควรใช้โอกาสนี้ลาออกจากตำแหน่งเพื่อความสง่างาม
พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง กล่าวว่า ยุค พล.อ.ประยุทธ์ มีการคอร์รัปชันสุดซอย ถ้าบริหารในลักษณะนี้ยากที่ประชาชนจะอยู่ดีกินดี รัฐบาลบริหารประเทศโดยใช้ทรัพยากรไปสู่การทุจริต โดยเฉพาะการประมูลน้ำในอีอีซี ถ้าฝ่ายค้านได้อภิปรายไม่ไว้วางใจจะทำให้ประชาชนเห็น ส่วนการมีมือในสภาฯเป็นมือที่ผ่านกฎหมาย แต่ไม่ใช่มือที่สนับสนุนการทุจริตคอร์รัปชัน เห็นว่ารัฐบาลไม่ควรอยู่สร้างภาระให้กับประชาชน
นิคม บุญวิเศษ กล่าวว่า 8 ปีแห่งความหายนะ ของประเทศชาติบ้านเมืองไม่มีรัฐบาลยุคใดทำประเทศชาติได้บรรลัยมากกว่ารัฐบาลชุดนี้ เพราะบรรลัยตั้งแต่เป็น คสช. จนถึงปัจจุบัน และบรรลัยไปถึงอนาคต ถ้ายังปล่อยให้ พล.อ.ประยุทธ์เป็นนายกฯ ต่อไปแม้แต่วันเดียว ความบรรลัยก็จะเพิ่มขึ้น หนี้สินจะเพิ่มขึ้น เป็นรัฐบาลที่เหมือนวัชพืชที่มาคอยแย่งอาหาร ทั้งนี้ แม้นายกฯ ไม่ลาออก แต่รัฐมนตรีต่างพรรคจะกล้าอยู่กับรัฐบาลหรือไม่ อยากฝากให้พรรคร่วมรัฐบาลพิจารณาด้วย ตนเห็นด้วยให้ พล.อ.ประยุทธ์ หมดวาระแล้วก็ลาออก ถ้าไม่ลาออก ฝ่ายค้านและประชาชนจะไล่ออก
ขณะที่ สุุทิน คลังแสง ส.ส.มหาสารคาม พรรคเพื่อไทย ในฐานะประธานวิปฝ่ายค้าน กล่าวว่าญัตติยื่นอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีเป็นรายบุคคล จะยื่นหลังผ่านวาระที่ 3 ของการผ่านกฎหมายลูก จะยื่นนายกฯเป็นจำเลยที่ 1 จะยื่น 7กรอบการบริหารล้มเหลว ทุุจริตเอื้อต่อพวกพ้อง ฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย คุกคามเสรีภาพ ไม่ปฏิบัติตามนโยบาย ทำลายระบบประชาธิปไตยในระบบรัฐสภา
สุทิน กล่าวว่า เป็นครั้งแรกพรรคร่วมรัฐบาลไม่เป็นเอกภาพและมีท่าทีตรงข้ามกับพรรคร่วมรัฐบาล ในบรรดาข้อมูลประชาชนส่งมา ผมได้ส่งรัฐมนตรีแต่ละพรรคและที่ส่งมามากที่สุดคือรัฐมนตรีจากพรรคภูมิใจไทยมากที่สุด ใกล้เคียงคือพรรคพลังประชารัฐ และพรรคประชาธิปัตย์ก็ใกล้เคียง อีกทั้งในวาระ 8 ปีของนายกฯ ไม่มีคำอธิบายใดที่จะอยู่ต่อได้ ถ้า พล.อ.ประยุทธ์ จะพ้นตำแหน่งนายกฯ ก็ควรพ้นหลังอภิปรายไม่ไว้วางใจ ซึ่งก็ควรพ้นตำแหน่งหลังฝ่ายค้านอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกฯ ตามมาตรา 151
วาง ก.ค.ยื่นตีความคุณสมบัติ 'ประยุทธ์' นั่งนายกฯ 8 ปีติดต่อกัน
ผู้สื่อข่าวถามว่า จะคว่ำตั้งแต่ พ.ร.บ.งบฯ หรือไม่ ที่จะทำให้รัฐบาลอยู่ต่อไม่ได้ นพ.ชลน่าน กล่าวว่า คำถามแรงมาก สองฉบับหลังคือกฎหมายลูก พรรคฝ่ายค้านต้องสนับสนุนให้ผ่านรัฐสภาในวาระที่ 2-3 ซึ่งเป็นการประชุมร่วมรัฐสภา น่าจะได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภา ส่วนเรื่องของร่าง พ.ร.บ.งบประมาณฯ ฝ่ายค้านยังไม่ได้มีมติร่วมกันในเรื่องนี้ เรื่องงบฯ เป็นรายจ่ายสำคัญต่อบ้านเมือง แต่เมื่อเทียบบกับผู้ที่นำงบฯไปใช้ ต้องชั่งใจจะเกิดประโยชน์สูงสุดหรือไม่ ถ้าจะนำงบฯไปใช้ให้เกิดประโยชน์ ทางฝ่ายค้านคงหารือในโอกาสต่อไป แต่ให้เป็นสิทธิของแต่ละพรรค ไม่มีการละเมิดสิทธิแต่ละพรรคในการออกเสียง
ส่วนกรณีคุณสมบัติของ พล.อ.ประยุทธ์ ที่จะดำรงตำแหน่งในวาระเกิน8 ปีติดต่อกันไม่ได้จะยื่นเมื่อใด นพ.ชลน่าน กล่าวว่า เวลาที่เหมาะสมที่ที่สุุดของพรรคฝ่ายค้านที่ปรึกษาทางด้านกฎหมายและคณะทำงานของผู้นำฝ่ายค้านฯ ก็ได้ข้อแนะนำได้ข้อยุติพอสมควร โดยฝ่ายค้านจะมีมติงยื่นญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจเป็นเงื่อนไขหลัก โดยจะเมื่อกฎหมายลูกผ่านทันที คาดว่ากฎหมายลูกจะผ่านกลางเดือน มิ.ย. คาดว่าอภิปรายไม่วางใจในต้น-กลางเดือน ก.ค. และเป็นเวลาที่เหมาะสมจะเข้าชื่อ ส.ส.ยื่นคำร้องต่อประธานสภาฯ เพื่อส่งศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตรวจสอบคุณสมบัตินายกฯ เพราะหากยื่นช้ากว่านี้อจ แต่อาจมีปัญหาหากวินิจฉัยหลัง 23 ส.ค.นี้
ถ้าเกิดอุบัติเหตุดัน 'ชัยเกษม' แคนดิเดตนายกฯ
ถามว่า ถ้าเกิดมีการตั้งรัฐบาลใหม่ในระหว่างนี้ ด้วยวิธีการเลือก นายกฯ คนใหม่ พรรคเพื่อไทยจะเสนอใครเป็นนายกฯ และจะจัดตั้งรัฐบาลอย่างไร นพ.ชลน่าน กล่าวว่า พรรคเพื่อไทยมีสิทธิเสนอแคนดิเดตนายกฯ ของพรรคเพื่อไทย คือ ชัยเกษม นิติสิริ ประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์และทิศทางการเมืองพรรคเพื่อไทย ที่เป็นแคนดิเดตนายกฯ อยู่ในบัญชีของพรรคเพื่อไทย แต่จะต้องปรึกษาหารือก่อน และพรรคเพื่อไทยก็มีสิทธิชอบธรรมจะเสนอนายกฯในบัญชีพรรคการเมืองให้เป็นตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญได้