ไม่พบผลการค้นหา
จับตา 5 กลุ่ม ส.ว. อาทิ กลุ่มตำรวจ-ทหาร, กลุ่มแพทย์, กลุ่มสายอาชีพ, กลุ่มเคยโหวคปิดสวิตซ์ตัวเอง, และกลุ่มที่ประกาศโหวต 'พิธา' เป็นนายกฯ เพื่อวิเคราะห์แนวโน้มในการโหวตนายกฯ วันที่ 13 พ.ค. 66 นี้
ตำรวจ - ทหาร 104 คน 

ในบรรดารายชื่อสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) 250 คน  พบว่ามีทั้งทหาร ตำรวจ (ยศ พล.อ.,  พล.ท., พล.ต.อ., พล.ต.ต., พล.อ.ต., พล.อ.อ., พล.ร.อ., ร.อ.) ทั้งหมดรวม 104 คน หรือเกือบครึ่งของ ส.ว. ทั้งหมด โดยในจำนวนนี้มีผู้ที่เป็น ส.ว. โดยตำแหน่ง 6 คนตามโควตาของผู้บัญชาการเหล่าทัพและปลัดกระทรวงกลาโหม 

นอกจากนี้ ยังมี ส.ว. สายตรง คสช. ทั้งอดีตรัฐมนตรี อดีตรองหัวหน้าคสช. อดีตนายทหารที่ทำงานให้กับรัฐบาลของ พล.อ.ประยุทธ์ และคสช. และ เพื่อนร่วมรุ่นพล.อ.ประยุทธ์ รวมถึงเหล่าทหาร - ตำรวจที่มีความสัมพัน์ใกล้ชิดกับพลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ อาทิ เพื่อนร่วมรุ่นเตรียมทหารรุ่น 6 

ยังมีชื่อ พล.อ.ปรีชา  จันทร์โอชาอดีต สนช. และอดีตปลัดกระทรวงกลาโหม ซึ่งเป็นน้องชายของพล.อ.ประยุทธ์ และยังมีคู่เขยของ พล.อ.ประยุทธ์ คือ พล.ต.ท.วิบูลย์ บางท่าไม้  อดีตผู้บัญชาการตำรวจตรวจคนเข้าเมืองรวมอยู่ด้วย

ในบรรดา ส.ว. ที่มียศทั้งหลาย มีอยู่ 7 คนที่มาจาก ส.ว. กลุ่มอาชีพ 

จากข้างมูลข้างต้น จึงอาจคาดการณ์ได้ว่า ส.ว. 104 คนกลุ่มนี้ มีแนวโน้มที่จะไม่โหวต พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ เป็นนายกรัฐมนตรี แต่ก็ไม่แน่ว่า ในวันที่ 13 ก.ค. นี้ เราอาจเห็น ส.ว. สายทหาร - ตำรวจ แตกแถวก็เป็นได้ 

  1. พล.อ.พหล สง่าเนตร
  2. พล.ต.กลชัย สุวรรณสมบูรณ์
  3. พล.ท.จเรศักดิ์ อานุภาพ
  4. พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์
  5. พล.ต.ท.ณัฏฐวัฒน์ รอดบางยาง
  6. พล.อ.จิรพงศ์ วรรณรัตน์
  7. พล.อ.จีระศักดิ์ ชมประสพ
  8. พล.อ.ฉัตรเฉลิม เฉลิมสุข
  9. พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ
  10. พล.อ.ต.เฉลิมชัย เครืองาม
  11. พล.อ.ชยุติ สุวรรณมาศ
  12. พล.ต.อ.ชัชวาลย์ สุขสมจิตร์
  13. พล.อ.อ.อลงกรณ์ วัณณรถ
  14. พล.ร.อ.ชัยวัฒน์ เอี่ี่ยมสมุทร
  15. พล.อ.ชาตอุดม ติตถะสิริ
  16. พล.อ.สมศัักดิ์ นิลบรรเจิดกุล
  17. พล.อ.ชูศักดิ์ เมฆสุวรรณ์
  18. พล.อ.เชวงศักดิ์ ทองสลวย
  19. พล.ร.อ.ฐนิธ กิตติอำพน
  20. พล.ร.อ.ณรงค์ พิพัฒนาศัย
  21. พล.อ.สนิธชนก สังขจันทร์
  22. พล.อ.ดนัย มีชูเวท
  23. พล.ต.อ.เดชณรงค์ สุทธิชาญบัญชา
  24. พล.ต.ท.ตรีทศ รณฤทธิวิชัย
  25. พล.อ.อ.ตรีทศ สนแจ้ง
  26. รศ.พล.อ.ไตรโรจน์ ครุธเวโช
  27. พล.อ.อ.ถาวร มณีพฤกษ์
  28. พล.อ.ทวีป เนตรนิยม
  29. ศ.ร้อยเอก ทินพันธุ์ นาคะตะ
  30. พล.อ.เทพพงศ์ ทิพยจันทร์
  31. พล.อ.ธงชัย สาระสุข
  32. พล.อ.ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร
  33. พล.อ.ธวัชชัย สมุทรสาคร
  34. พล.อ.ธีรเดช มีเพียร
  35. พล.ร.อ.นพดล โชคระดา
  36. พล.อ.นพดล อินทปัญญา
  37. พล.อ.นาวิน ดำริกาญจน์
  38. พล.อ.นิวัตร มีนะโยธิน
  39. พล.อ.บุญธรรม โอริส
  40. พล.อ.บุญสร้าง เนียมประดิษฐ์
  41. พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง
  42. ร.อ.ประยุทธ เสาวคนธ์
  43. พล.อ.ประสาท สุขเกษตร
  44. พล.ต.ต.ปรัชญ์ชัย ใจชาญสุขกิจ
  45. พล.อ.ปรีชา จันทร์โอชา
  46. พล.อ.ปัฐมพงศ์ ประถมภัฏ
  47. พล.อ.โปฎก บุนนาค
  48. พล.อ.เฉลิมพล ศรีสวัสดิ์
  49. พล.ร.อ.พะจุณณ์ ตามประทีป
  50. พล.ร.อ.พัลลภ ตมิศานนท์
  51. พล.อ.พิศณุ พุทธวงศ์
  52. พล.ต.ท.พิสัณห์ จุลดิลก
  53. พล.อ.พิสิทธิ์ สิทธิสาร
  54. พล.อ.ไพชยนต์ ค้าทันเจริญ
  55. พล.อ.ไพโรจน์ พานิชสมัย
  56. พล.อ.มารุต ปัชโชตะสิงห์
  57. พล.อ.ยอดยุทธ บุญญาธิการ
  58. พ.ต.อ.ยุทธกร วงเวียน
  59. พล.ร.อ.เชิงชาย ชมเพิงแพทย์
  60. พล.อ.เลิศรัตน์ รัตนวานิช
  61. พล.อ.เลิศฤทธิ์ เวชสวรรค์
  62. พล.อ.วรพงษ์ สง่าเนตร
  63. พล.อ.วราห์ บุญญะสิทธิ์
  64. พล.อ.วลิต โรจนภักดี
  65. พล.อ.วสันต์ สุริยมงคล
  66. พล.อ.วัฒนา สรรพานิข
  67. พล.อ.วิชิต ยาทิพย์
  68. พล.อ.วินัย สร้างสุขดี
  69. พล.ต.ท.วิบูลย์ บางท่าไม้
  70. พล.อ.วีรัณ ฉันทศาสตร์โกศล
  71. พล.ร.อ.ศักดิ์สิทธิ์ เชิดบุญเมือง
  72. พล.ต.ท.ศานิตย์ มหถาวร
  73. พล.ร.อ.ศิษฐวัชร วงษ์สุวรรณ
  74. พล.อ.ศุภรัตน์ พัฒนาวิสุทธิ์
  75. พล.อ.สกนธ์ สัจจานิตย์
  76. พล.ร.ท.สนธยา น้อยฉายา
  77. พล.อ.สนธยา ศรีเจริญ
  78. พล.อ.สนั่น มะเริงสิทธิ์
  79. พล.อ.สมเจตน์ บุญถนอม
  80. พล.ต.ท.สมบัติ มิลินทจินดา
  81. พล.ต.ท.สมหมาย กองวิสัยสุข
  82. พล.อ.สมหมาย เกาฎีระ
  83. พล.อ.สราวุฒิ ชลออยู่
  84. พล.อ.สสิน ทองภักดี
  85. พล.อ.สำเริง ศิวาดำรงค์
  86. พล.อ.สิงห์ศึก สิงห์ไพร
  87. พล.อ.อ.สุจินต์ แช่มช้อย
  88. พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์
  89. พล.อ.สุรพงษ์ สุวรรณอัตถ์
  90. พล.อ.สุรศักดิ์ กาญจนรัตน์
  91. พล.อ.อกนิษฐ์ หมื่นสวัสดิ์
  92. พล.อ.อ.อดิศักดิ์ กลั่นเสนาะ
  93. พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว
  94. พล.อ.อนันตพร กาญจนรัตน์
  95. พ.ต.อ.จรุงวิทย์ ภุมมา
  96. พล.อ.ณรงค์พันธ์ จิตต์แก้วแท้
  97. พล.อ.อักษรา เกิดผล
  98. พล.อ.อาชาไนย ศรีสุข
  99. พล.ท.อำพน ชูประทุม
  100. พล.ร.อ.อิทธิคมน์ ภมรสูต
  101. พล.อ.อุดมชัย ธรรมสาโรรัชต์
  102. พล.อ.อู้ด เบื้องบน
  103. พล.ต.โอสถภาวิไล
  104. พล.ต.โอสถ ภาวิไล
ส.ว. สายแพย์ 10 คน 

10 กรกฎาคม 2566 ชมราแพทย์ชนบทเปิดรายชื่อสมาชิกวุฒิสภาสายแพทย์ 12 คน โดยระบุว่า ถึงความเชื่อมั่นและคาดหวังให้ ส.ว. ที่อยู่ในวิชาชีพแพทย์เหล่านี้ โหวตเลือกให้แคนดิเดตจากพรรคที่ได้อันดับ 1 เป็นนายกรัฐมนตรีตามครรลองประชาธิปไตย

รายชื่อมีดังนี้   ศ.เกียรติคุณ นายแพทย์ไกรสิทธิ์ ตันติศิรินทร์ / นายแพทย์เจตน์ ศิรธรานนท์ / พลอากาศตรี นายแพทย์เฉลิมชัย เครืองาม / ผู้ช่วยศาสตราจารย์นายแพทย์เฉลิมชัย บุญยะลีพรรณ / นายแพทย์ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ / พลเอก นายแพทย์ไตรโรจน์ ครุธเวโช / นายแพทย์ทวีวงษ์ จุลกมนตรี

8.นายแพทย์ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ / แพทย์หญิงคุณหญิงพรทิพย์ โรจนสุนันท์ / นายแพทย์พลเดช ปิ่นประทีป / นายแพทย์อำพล จินดาวัฒนะ / ศ.คลินิก เกียรติคุณนายแพทย์อุดม คชินทร

เนื่องจาก นพ.นายแพทย์ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ และศ.คลินิก เกียรติคุณนายแพทย์อุดม คชินทร ได้ลาออกจาก ส.ว.แล้ว  ส.ว. สายแพทย์ที่เหลือจึงมีเพียง 10 คน เท่านั้น 

ส.ว. สายอาชีพ 50 คน 

ในกระบวนการสรรหา ส.ว. 250 คน แบ่งเป็น  6 คนโดยตำแหน่ง 194 คนมาจากกระบวนการคัดเลือกของ คสช. และมีอีก 50 คน คสช. คัดเลือกจากรายชื่อที่สรรหาจาก 10 กลุ่ม ‘สายอาชีพ’ 

ส.ว.สายอาชีพ มีที่มาจากการเลือกกันเองของบุคคลที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ ประสบการณ์ อาชีพหรือทำงานในด้านต่างๆ 10 กลุ่มอาชีพ เริ่มต้นที่จำนวน 200 คน มีทั้งสมัครเองและมาจากการนำแนะขององค์กรต่างๆ จากนั้นส่งให้ คสช. คัดเลือกเหลือ 50 คน ดังนี้

  1. กำพล เลิศเกียรติดำรงค์
  2. เกียว แก้วสุทอ
  3. ขวัญชาติ วงศ์ศุภรานันต์
  4. จิรดา สงฆ์ประชา
  5. เฉลา พวงมาลัย
  6. เฉลิมชัย เฟื่องคอน
  7. เฉลียว เกาะแก้ว
  8. ชลิต แก้วจินดา
  9. ฐนิธ กิตติอำพน
  10. ถาวร เทพวิมลเพชรกุล
  11. ทัศนา ยุวานนท์ฃ
  12. นิอาแซ ซีอุเซ็ง
  13. บุญมี สุระโครต
  14. บุญส่ง ไข่เกษ
  15. เบญจรัตน์ จริยธาราสิทธิ์
  16. ประภาศรี สุฉันทบุตร
  17. ประมาณ สว่างญาติ
  18. ประยูร เหล่าสายเชื้อ
  19. ปัญญา งามเลิศ
  20. เพ็ญพักตร์ ศรีทอง
  21. ไพฑูรย์ หลิมวัฒนา
  22. ไพโรจน์ พ่วงทอง
  23. ภัทรา วรามิตร
  24. ยุทธกร วงเวียน
  25. รณวริทธิ์ ปริยฉัตรตระกูล
  26. เลิศรัตน์ รัตนวานิช
  27. วงศ์สยาม เพ็งพานิชภักดี
  28. วิไลลักษณ์ อรินทมะพงษ์
  29. วีระศักดิ์ ภูครองหิน
  30. ศรีศักดิ์ วัฒนพรมงคล
  31. ศักดิ์ไทย สุรกิจบวร
  32. ศุภชัย สมเจริญ
  33. สกุล มาลากุล
  34. สมเดช นิลพันธุ์
  35. สราวุฒิ ชลออยู่
  36. สาธิต เหล่าสุวรรณ
  37. สำราญ ครรชิต
  38. สำเริง ศิวาดำรงค์
  39. สุจินต์ แช่มช้อย
  40. สุชัย บุตรสาระ
  41. สุนี จึงวิโรจน์
  42. สุรเดช จิรัฐิติเจริญ
  43. สุรสิทธิ์ ตรีทอง
  44. อนุศักดิ์ คงมาลัย
  45. อมร นิลเปรม
  46. ออน กาจกระโทก
  47. อุดม วรัญญูรัฐ
  48. โอสถ ภาวิไล
  49. อภิชาติ โตดิลกเวชช์
  50. ประสิทธิ์ ปทุมารักษ์

โดย 50 ส.ว.สายอาชีพเหล่านี้ พบว่า มีอดีตสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ(สปท.) จำนวน 3 คน สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) จำนวน 4 คน สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) จำนวน 2 คน

ไอลอว์ตั้งข้อสังเกตว่า จากประกาศของสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่องรายชื่อผู้ได้รับคะแนนสูงสุดในแต่ละกลุ่มจากระบบการคัดเลือกกันเองในกลุ่มอาชีพทั้งสิบกลุ่ม เมื่อเข้ารอบสุดท้ายแล้วกลับไม่ได้รับการคัดเลือกจาก คสช.ให้ดำรงตำแหน่ง ส.ว. เลยแม้แต่คนเดียว

อีกประการคือ พบว่า ส.ว. หลายคนไม่ได้มีความเกี่ยวข้องกับกลุ่มอาชีพตามที่คณะกรรมการการเลือกตั้งกำหนดไว้ เช่น กลุ่มของผู้ประกอบอาชีพด้านสิ่งแวดล้อม ผังเมือง ฯลฯ แต่รายชื่อของ ส.ว. ที่ได้รับเลือกจากกลุ่มนี้กลับเป็น พลเอก สราวุฒิ ชลออยู่ ซึ่งเคยเป็นตุลาการศาลทหารสูงสุด หรือกรณีของ ทรงเดช เสมอคำ ที่เคยเป็นประธานฝ่ายเทคนิคสโมสรฟุตบอลสุโขทัย แต่กลับได้รับเลือกจากกลุ่มอาชีพที่เกี่ยวกับการศึกษาและการสาธารณสุข ส่วนสุนี จึงวิโรจน์ ที่เคยเป็นทันตแพทย์ กลับอยู่ในกลุ่มอาชีพอื่นๆ

ส.ว. เคยโหวตปิดสวิตซ์ตัวเอง 63 คน 

ในรัฐบาลของพลเอกประยุทธ์ มีการแก้รัฐธรรมนูญที่มีการเสนอให้ปิดสวิตช์ ส.ว. ทั้งหมด 6 ฉบับ โดยมีความแตกต่างไปในข้อเสนอ ตั้งแต่การยกเลิก ส.ว. ไปเลย ไปจนถึงข้อเสนอเดียวประเด็นเดียวอย่าง ยกเลิกอำนาจ ส.ว. เลือกนายกรัฐมนตรีเท่านั้น ทว่าไม่มีครั้งใดเลยที่ข้อเสนอนี้ผ่านมติของสภา 

แต่หากเราลองไปดูรายชื่อ ส.ว. ที่เคยโหวตรับร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งต่างๆ และที่เคยโหวตสนับสนุนการยกเลิก มาตรา 272 ที่ให้อำนาจ ส.ว. เลือกนายกฯ  ในช่วง 2563-2565 พบว่ามี ส.ว.โหวตสนับสนุนถึง 63 คน ดังนี้ 

กล้านรงค์ จันทิก / กาญจนารัตน์ ลีวิโรจน์ / กิตติ วะสีนนท์ / ไกรสิทธิ์ ตันติศิรินทร์ / คำนูณ สิทธิสมาน / จรุงวิทย์ ภุมมา / เจน นำชัยศิริ / เฉลิมชัย เครืองาม / เฉลิมชัย บุญยะลีพรรณ / เฉลิมชัย เฟื่องคอน / ชัชวาลย์ สุขสมจิตร์ / ชาญวิทย์ ผลชีวิน / เชิดศักดิ์ จำปาเทศ / ซากีย์ พิทักษ์คุมพล / ฐนิธ กิตติอำพน / ณรงค์ พิพัฒนาศัย / ณรงค์ รัตนานุกูล / ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ / ณรงค์ อ่อนสอาด / ดิเรกฤทธิ์ เจนครองธรรม / นิพนธ์ นาคสมภพ / นิวัตร มีนะโยธิน / นิสดารก์ เวชยานนท์ / เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ / บรรชา พงศ์อายุกูล / ประจิน จั่นตอง / ประดิษฐ์ เหลืองอร่าม / ประภาศรี สุฉันทบุตร / ประมนต์ สุธีวงศ์ / ปรัชญ์ชัย ใจชาญสุขกิจ / ปานเทพ กล้าณรงค์ราญ / ผาณิต นิติทัณฑ์ประภาศ / พรทิพย์ โรจนสุนันท์ / พิกุลแก้ว ไกรฤกษ์ / พิศาล มาณวพัฒน์ / พีระศักดิ์ พอจิต / ภัทรา วรามิตร / มณเฑียร บุญตัน / เลิศรัตน์ รัตนวานิช / วันชัย สอนศิริ / วัลลภ ตังคณานุรักษ์ / วิบูลย์ บางท่าไม้ / วิบูลย์ลักษณ์ ร่วมรักษ์ / วีระศักดิ์ ฟูตระกูล / วีระศักดิ์ โควสุรัตน์ / วุฒิพันธุ์ วิชัยรัตน์ / ศักดิ์ชัย ธนบุญชัย / ศิรินา ปวโรฬารวิทยา / สถิตย์ ลิ่มพงศ์พันธุ์ / สม จาตุศรีพิทักษ์ / สมเจตน์ บุญถนอม / สมชาย เสียงหลาย / สมชาย หาญหิรัญ / สัญชัย จุลมนต์ / สุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย / สุวพันธ์ุ ตันยุวรรธนะ / สุวัฒน์ จิราพันธ์ / อดุลย์ แสงสิงแก้ว / อนุศาสน์ สุวรรณมงคล / ออน กาจกระโทก / อับดุลฮาลิม มินซาร์ / อำพล จินดาวัฒนะ / โอสถ ภาวิไล

ส.ว. ประกาศโหวตพิธา  15 คน 

หลังการเลือกตั้ง 14 พ.ค.66 จนถึงปัจจุบัน  มี ส.ว. จำนวนไม่น้อยที่ออกมาแสดงจุดยืนของตนในการโหวตนายกรัฐมนตรีผ่านสื่อมวลชน โดยมีทั้งสนับสนุน พิธา ลิ้มเจริฐรัตน์ แคนดิเดตนายกจากพรรคก้าวไกลที่ได้อันดับ 1 ในการเลือกตั้ง และประกาศไม่โหวตพิธา อย่างเด็ดขาดเนื่องจากไม่เห็นด้วยกับนโยบายแก้ไขมาตรา 112 

เกือบ 1 เดือนที่ผ่านมา จำนวน ส.ว. ที่ประกาศสนับสนุนพิธายังคงมีความไม่แน่นอน สื่อต่างๆ ประเมินกันตั้งแต่ 10-20 คน จำนวนหนึ่งยึดหลักโหวตตาม ส.ส. เสียงข้างมากไม่เปลี่ยนแปลง แต่ก็มีส่วนหนึ่งกลับลำเอาช่วงท้าย 

เช่น เฉลิมชัย เฟื่องคอน อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดอุตรดิตถ์ เคยลงมติเห็นชอบร่างแก้รัฐธรรมนูญให้ ‘ปิดสวิตช์ ส.ว.’ และเคยให้สัมภาษณ์หลังการเลือกตั้ง (15 พ.ค. 66) ว่า ตนมีจุดยืนว่า ฝ่ายใดรวบรวมเสียงข้างมากในสภาได้เกิน 250 เสียง จะโหวตฝ่ายนั้นให้ได้เป็นนายก และประกาศจุดยืนเช่นนี้อีกหลายครั้งในรายการต่างๆ 

ทว่าล่าสุด 6 ก.ค. 66  เฉลิมชัย ได้กลับลำไม่โหวตพิธา โดยกล่าวว่า “ตอนนี้ตนเปลี่ยนใจ จะไม่โหวตให้นายพิธาแล้ว หลังจากพิจารณานโยบายมาตรา 112 ทำให้รู้สึกว่าโหวตให้ไม่ได้ แต่ถ้านายพิธา ยอมยกเลิกก็พร้อมยกมือให้”

นอกจากเฉลิมชัย ยังมี ส.ว. ที่กลับคำพูดของตนอีกหลายคน เช่น ทรงเดช เสมอคำ, วัลลภ ตังคณานุรักษ์

ilaw ได้รวบรวมรายชื่อ 15 ส.ว. ที่คาดว่าจะโหวตพิธาเป็นนายกฯ ในวันพรุ่งนี้ (13 ก.ค.) ได้แก่ 

  1. วุฒิพันธุ์ วิชัยรัตน์ อดีตผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ 
  2. อำพล จินดาวัฒนะ อดีตเลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติและเคยดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาปฏิรูปประเทศ (สปช.)
  3. ภัทรา วรามิตร  (ส.ว. กลุ่มอาชีพ) อดีตส.ส.กาฬสินธุ์ 
  4. ซากีย์ พิทักษ์คุมพล อดีตอาจารย์สถาบันสันติศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และบุตรของจุฬาราชมนตรี 
  5. ดิเรกฤทธิ์ เจนครองธรรม นักวิชาการ
  6. ประมาณ สว่างญาติ (ส.ว. กลุ่มอาชีพ) เครือข่ายชาวนา
  7. วันชัย สอนศิริ อดีตทนายความและอดีตสมาชิกสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สนช.) 
  8.  มณเฑียร บุญตัน อดีตนายกสมาคมคนตาบอดแห่งประเทศไทย
  9. ประภาศรี สุฉันทบุตร (ส.ว. กลุ่มอาชีพ) ประธานหอการค้าจังหวัดยโสธร เคยโหวตปิดสวิตซ์ ส.ว. 
  10. สถิตย์ ลิ่มพงศ์พันธุ์ เคยโหวตปิดสวิตซ์ ส.ว. 
  11. พิศาล มาณวพัฒน์ อดีตเอกอัครราชทูตไทยประจำสหรัฐฯ   เคยโหวตปิดสวิตซ์ ส.ว. 
  12. นพ.พลเดช ปิ่นประทีป  อดีตเลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.)
  13. พีระศักดิ์ พอจิต อดีตรองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.)  เคยโหวตปิดสวิตซ์ ส.ว. 
  14. ประยูร เหล่าสายเชื้อ  (ส.ว. กลุ่มอาชีพ) 
  15. ทัศนา ยุวานนท์  (ส.ว. กลุ่มอาชีพ) 

อย่างไรก็ตาม มีกระแสข่าวการแจก ‘กล้วย’ เพื่อให้ ส.ว. ไม่โหวตพิธาเป็นนายกฯ  โดยในวันนี้ (12 ก.ค.) รายการเจาะลึกทั่วไทยได้เปิดแชทไลน์ที่อ้างว่ามาจากกลุ่ม ส.ว. ในภาพระบุใจความว่า ส.ว. สุภาพสตรีท่านหนึ่งได้ถูกกดดันและกล่าวร้ายลับหลัง รวมทั้งมีการเสนอ ‘กล้วย’ และตำแหน่งหลังหมดวาระ 5 ปี เพื่อให้ ส.ว. ท่านนี้เปลี่ยนใจไม่เลือกแคนดิเดตนายกฯ ตามความต้องการ 

F0w4G1cacAEzYCC-445x1024.jpg


ก่อนหน้านี้ ชัยธวัช ตุลาธน เลขาธิการพรรคก้าวไกล ได้เปิดประเด็นว่า มีการขู่ และเสนอผลประโยชน์ รวมถึงการแบล็กเมล ส.ว. ที่โหวตสนับสนุนพิธา ลิ้มเจริญรัตน์

ด้านอดิศร เพียงเกษ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ระบุถึงกรณีกระแสข่าวการแจกกล้วยในกลุ่ม ส.ว. ว่า ส.ว. ควรแสดงออกถึงจุดยืนในวันพรุ่งนี้ (13 ก.ค.) เพราะหากท่านเดินตรงข้ามกับประชาชน วุฒิสภาคงขาดความศรัทธา

อ้างอิง