ไม่พบผลการค้นหา
เช็คการเปลีั่ยนแปลง จำนวน ส.ส. เขต อันเป็นผลจากการตัดจำนวนคนไร้สัญชาติออกไปจะกระทบต่อ 8 จังหวัด และส่งผลต่อภาพรวมจำนวน ส.ส.ของแต่ละภาค

3 มีนาคม 66 ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ประชุมแถลงด้วยวาจา ปรึกษาหารือและลงมติคำร้องที่สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง หรือ กกต. มีหนังสือขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 210 วรรคหนึ่ง (2) เกี่ยวกับหน้าที่และอำนาจในการประกาศจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้งและเขตเลือกตั้งของแต่ละจังหวัดตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 86

ซึ่ง กกต. คิดคำนวณจำนวน ส.ส.แบบแบ่งเขตเลือกตั้ง ที่แต่ละจังหวัดจะพึงมี โดยนำจำนวนราษฎรทั้งประเทศตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ตามที่สำนักทะเบียนกลางประกาศ ณ วันที่ 31 ธันวาคมของปีที่แล้วมา มาใช้ในการคิดคำนวณจำนวน ส.ส. แบบแบ่งเขตแต่ละจังหวัด ต่อมามีผู้โต้แย้งและขอให้ผู้ร้อง ส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัย

ศาลรัฐธรรมนูญมีมติเป็นเอกฉันท์ ว่า การกำหนดจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้งที่แต่ละจังหวัดจะพึงมีตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 86 (1) ที่กำหนดให้ใช้จำนวนราษฎรทั้งประเทศตามหลักฐานการทะเบียนราษฎรที่ประกาศในปีสุดท้ายก่อนปีที่มีการเลือกตั้งนั้น คำว่า ‘ราษฎร’ ไม่หมายความรวมถึงผู้ไม่ได้สัญชาติไทย

การเปลี่ยนแปลงการแบ่งเขตใหม่ อันเป็นผลจากการตัดจำนวนคนไร้สัญชาติออกไปจะกระทบต่อ 8 จังหวัด และส่งผลต่อภาพรวมจำนวน ส.ส.ของแต่ละภาค  ดังนี้

ภาคใต้: จากเดิม 58 ที่นั่ง จะเพิ่มเป็น 60 ที่นั่ง คือ โดยเพิ่มขึ้นที่ นครศรีธรรมราช 1 ที่นั่ง และ ปัตตานี 1 ที่นั่ง 

ภาคอีสาน: จะเพิ่มจากเดิม 132 ที่นั่ง เป็น 133 ที่นั่ง คือ เพิ่มที่อุดรธานี 1 ที่นั่ง

ภาคเหนือ: จะลดลงจาก 39 ที่นั่ง เป็น 36 ที่นั่ง โดยจะเกิดขึ้นที่ ตาก เชียงราย และ เชียงใหม่ จังหวัดละ 1 ที่นั่ง 

ภาคกลางรวมกรุงเทพมหานคร: จำนวน ส.ส. ยังคงเท่าเดิมที่ 122 ที่นั่ง แต่ จ. สมุทรสาครจะลงลง 1 ที่นั่ง ส่วนที่ จ. ลพบุรีจะได้เพิ่มอีก 1 ที่นั่ง

ภาคตะวันออก: มี ส.ส. 29 คนยังคงไม่เปลี่ยนแปลงจากการแบ่งเขตใหม่ เช่นเดียวกันกับภาคตะวันตกจะยังคงมี ส.ส. 20 คน เช่นเดิม

จากการคำนวนของ Rocket Media Lab พบว่า เมื่อนำจำนวนประชากรในเวอร์ชั่นตัดผู้ที่ไม่ได้มีสัญชาติไทยออก 8 จังหวัดดังต่อไปนี้ จะมีจำนวน ส.ส. ต่างจากเดิม 8 จังหวัด ได้แก่

334871207_537066495225266_2024442889140117469_n.jpg
วิธีคำนวณจำนวน ส.ส.
  • ประชากรเฉพาะผู้มีสัญชาติไทยทั้งประเทศ 65,106,481 คน 
  • หารด้วยจำนวนเขตเลือกตั้งทั้งหมด 400 เขต 
  • ได้ผลลัพธ์ประชากร 162,766 คนต่อ ส.ส. เขต 1 คน
  • นำผลลัพธ์ประชากร 162,766 คน ไปหารจำนวนประชากรเฉพาะที่มีสัญชาติไทยในแต่ละจังหวัด
  • ได้ผลลัพธ์เป็นจำนวน ส.ส. เขตในแต่ละจังหวัด รวมทั้งประเทศ 362 คน เหลือที่ต้องจัดสรรเพิ่มอีก 38 คน
  • นำเศษประชากรจากการหารในรอบแรกของแต่ละจังหวัดมาเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย แล้วเพิ่มจำนวน ส.ส.ให้ 38 จังหวัดที่มีเศษประชากรมากที่สุด อีกจังหวัดละ 1 คน จนได้ ส.ส. เขตรวมทั้งประเทศ 400 คน
จำนวน ส.ส. หลังตัดผู้ไม่มีสัญชาติไทยออก
  • มี 8 จังหวัดที่มีจำนวน ส.ส. แตกต่างจากเดิม ได้แก่ เชียงใหม่ เชียงราย ตาก นครศรีธรรมราช ปัตตานี ลพบุรี สมุทรสาคร และอุดรธานี
  • จังหวัดที่คำนวณแล้วได้จำนวน ส.ส. ‘น้อยกว่า’ เดิม มี 4 จังหวัด ได้แก่ เชียงรายลดลงจาก 8 เป็น 7 คน เชียงใหม่ลดลงจาก 11 เป็น 10 คน ตากลดลงจาก 4 เป็น 3 คน และสมุทรสาคร ลดลงจาก 4 เป็น 3 คน
  • จังหวัดที่คำนวณแล้วได้จำนวน ส.ส. ‘มากกว่า’ เดิม มี 4 จังหวัด ได้แก่ นครศรีธรรมราช เพิ่มจาก 9 เป็น 10 คน ลพบุรีเพิ่มจาก 4 เป็น 5 คน ปัตตานีเพิ่มจาก 4 เป็น 5 คน และอุดรธานีเพิ่มจาก 9 เป็น 10 คน
ใครได้เปรียบเสียเปรียบ

ใน 8 จังหวัดที่มีการเปลี่ยนแปลงทั้ง ‘เพิ่ม- ลด’ จำนวน ส.ส. นั้น จะตัดโอกาสพรรคใด เพิ่มโอกาสให้พรรคใดบ้าง เราอาจดูได้จากผลการเลือกตั้งปี 2562 (ซึ่งมีเขตเลือกตั้ง 350 เขต) เพื่อดูว่าคือ ‘เจ้าของพื้นที่’ 

เชียงราย

การเลือกตั้งปี 2562  ส.ส.ทั้งหมด 7 ที่นั่ง พรรคเพื่อไทยครอง 5 ที่นั่ง ได้แก่ 1) วิสิษฐ์ เตชะธีราวัฒน์ 2) วิสาร เตชะธีราวัฒน์ 3) รังสรรค์ วันไชยธนวงศ์ 4) พิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน 5) ละออง ติยะไพรัช พรรคอนาคตใหม่ 2 ที่นั่งได้แก่ 1) เอกภพ เพียรพิเศษ ซึ่ง และพีรเดช คำสมุทร 

  • จำนวน ส.ส. ‘62 : 7 ที่นั่ง
  • จำนวน ส.ส. ‘66 เวอร์ชั่นรวมไร้สัญชาติ : 8 ที่นั่ง
  • จำนวน ส.ส. ‘66 เวอร์ชั่นเฉพาะสัญชาติไทย : 7 ที่นั่ง

เชียงใหม่ 

การเลือกตั้งปี 2562 ส.ส.ทั้งหมด 9 ที่นั่ง เป็นของพรรคเพื่อไทยทั้งหมด ได้แก่ 1) ทัศนีย์ บูรณุปกรณ์ 2) นพคุณ รัฐผไท 3) จักรพล ตั้งสุทธิธรรม 4) วิทยา ทรงคำ 5) สมพงษ์ อมรวิวัฒน์ 6) จุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ 7) ประสิทธิ์ วุฒินันชัย 8) สุรพล เกียรติไชยากร 9) ศรีเรศ โกฎคำลือ 

จำนวน ส.ส. ‘62 : 9 ที่นั่ง

จำนวน ส.ส. ‘66 เวอร์ชั่นรวมไร้สัญชาติ : 11 ที่นั่ง

จำนวน ส.ส. ‘66 เวอร์ชั่น เฉพาะสัญชาติไทย : 10 ที่นั่ง

ตาก 

การเลือกตั้งปี 2562 ส.ส.ทั้งหมด 3 ที่นั่ง พรรคพลังประชารัฐ ครอง 2 ที่นั่ง ได้แก่ ธนัสถ์ ทวีเกื้อกูลกิจ และภาคภูมิ บูลย์ประมุข พรรคประชาธิปัตย์ 1 ที่นั่งคือ ภาคภูมิ บูลย์ประมุข 

จำนวน ส.ส. ‘62 : 3 ที่นั่ง

จำนวน ส.ส. ‘66 เวอร์ชั่นรวมไร้สัญชาติ : 4 ที่นั่ง

จำนวน ส.ส. ‘66 เวอร์ชั่น เฉพาะสัญชาติไทย : 3 ที่นั่ง

สมุทรสาคร

การเลือกตั้งปี 2562 ส.ส.ทั้งหมด 3 ที่นั่ง พรรคอนาคตใหม่ ครอง 2 ที่นั่ง ได้แก่ ทองแดง เบ็ญจะปัก และสมัคร ป้องวงษ์ พรรคพลังประชารัฐครอง 1 ที่นั่ง ได้แก่ จอมขวัญ กลับบ้านเกาะ

จำนวน ส.ส. ‘62 : 3 ที่นั่ง

จำนวน ส.ส. ‘66 เวอร์ชั่นรวมไร้สัญชาติ : 4 ที่นั่ง

จำนวน ส.ส. ‘66 เวอร์ชั่น เฉพาะสัญชาติไทย : 3 ที่นั่ง

นครศรีธรรมราช 

การเลือกตั้งปี 2562 ส.ส.ทั้งหมด 8 ที่นั่ง แบ่งเป็น พรรคประชาธิปัตย์ 5 ที่นั่ง ได้แก่ 1) เทพไท เสนพงศ์ 2) ประกอบ รัตนพันธ์ 3) ชินวรณ์ บุณยเกียรติ 4) ชัยชนะ เดชเดโช 5) พิมพ์ภัทรา วิชัยกุล พรรคพลังประชารัฐ 3 ที่นั่งได้แก่ 1) รงค์ บุญสวยขวัญ 2) สัณหพจน์ สุขศรีเมือง 3) สายัณห์ ยุติธรรม 

จำนวน ส.ส. ‘62 : 8 ที่นั่ง

จำนวน ส.ส. ‘66 เวอร์ชั่นรวมไร้สัญชาติ  : 9 ที่นั่ง

จำนวน ส.ส. ‘66 เวอร์ชั่น เฉพาะสัญชาติไทย : 10 ที่นั่ง

ปัตตานี 

การเลือกตั้งปี 2562 ส.ส.ทั้งหมด 4 ที่นั่ง แบ่งเป็น พรรคประชาชาติ 2 ที่นั่งได้แก่ 1) อนุมัติ ซูสารอ และ 2) สมมุติ เบ็ญจลักษณ์ พรรคประชาธิปัตย์ 1 ที่นั่งได้แก่ อันวาร์ สาและ และพรรคภูมิใจไทย 1 ที่นั่งได้แก่ อับดุลบาซิม อาบู

จำนวน ส.ส. ‘62 : 4 ที่นั่ง

จำนวน ส.ส. ‘66 เวอร์ชั่นรวมไร้สัญชาติ : 4 ที่นั่ง

จำนวน ส.ส. ‘66 เวอร์ชั่น เฉพาะสัญชาติไทย : 5 ที่นั่ง

ลพบุรี

การเลือกตั้งปี 2562 ส.ส.ทั้งหมด 4 ที่นั่ง แบ่งเป็น พรรคภูมิใจไทย 2 ที่นั่ง ได้แก่ 1) เกียรติ เหลืองขจรวิทย์ และ 2) มัลลิกา จิระพันธุ์วาณิช พรรคพลังประชารัฐ 1 ที่นั่งได้แก่ ประทวน สุทธิอำนวยเดช และ พรรคเพื่อไทย 1 ที่นั่ง ได้แก่ อุบลศักดิ์ บัวหลวงงาม

จำนวน ส.ส. ‘62 : 4 ที่นั่ง

จำนวน ส.ส. ‘66 เวอร์ชั่นรวมไร้สัญชาติ : 4 ที่นั่ง

จำนวน ส.ส. ‘66 เวอร์ชั่น เฉพาะสัญชาติไทย : 5 ที่นั่ง

อุดรธานี 

การเลือกตั้งปี 2562 ส.ส.ทั้งหมด 8 ที่นั่งเป็นของ พรรคเพื่อไทย ทั้งหมด ได้แก่ 1) ศราวุธ เพชรพนมพร 2) อนันต์ ศรีพันธุ์ 3) ขจิตร ชัยนิคม 4) อาภรณ์ สาราคำ 5) จุฑาพัตธน์ เมนะสวัสดิ์ 6) จักรพรรดิ ไชยสาส์น 7) เกรียงศักดิ์ ฝ้ายสีงาม 8) เทียบจุฑา ขาวขำ

จำนวน ส.ส. ‘62 : 8 ที่นั่ง

จำนวน ส.ส. ‘66 เวอร์ชั่นรวมไร้สัญชาติ : 9 ที่นั่ง

จำนวน ส.ส. ‘66 เวอร์ชั่น เฉพาะสัญชาติไทย : 10 ที่นั่ง