เมื่อเวลา 08.00 น. ทวิตเตอร์ของรถไฟฟ้าบีทีเอส @BTS_SkyTrain รายงานว่า การเดินรถในสายสุขุมวิทและสายสีลม มีขบวนรถให้บริการปกติทุกสถานี แต่ภายหลังกลับมีผู้ใช้ทวิตเตอร์หลายรายตอบกลับมาว่า ขณะนี้มีผู้โดยสารตกค้างจำนวนมากในหลายสถานี เช่น สถานีสยาม สถานีวุฒากาศ สถานีวงเวียนใหญ่ สถานีสำโรง ฯลฯ
ขณะที่บางรายระบุว่า ยืนรอรถไฟฟ้าเป็นเวลานานกว่า 20 นาทีแล้ว แต่ยังไม่มีรถไฟฟ้ามาเทียบชานชาลา ส่วนบางราย ระบุด้วยว่า ขบวนรถไฟฟ้าสายสีลมมีการจอดแต่ละสถานีเป็นเวลานานมาก พร้อมเรียกร้องให้บีทีเอส ออกมาแจ้งให้ผู้โดยสารรับทราบว่า รถไฟฟ้ามีการขัดข้องจริง ไม่ได้มีการให้บริการเป็นปกติอย่างที่มีการแจ้งในทวิตเตอร์ เพื่อให้ผู้โดยสารได้มีการวางแผนการเดินทางได้
เขาว่าอย่างนั้น แต่เป็นกรรมของพวกเราที่ต้องโดนแบบนี้ซ้ำๆไม่รู้กี่ครั้ง #ยกเลิกสัมปทานbts pic.twitter.com/Fs7pKfHf6o
— IEak_Thawatchai (@IEak_thawatchai) 4 กรกฎาคม 2561
สถานีวุฒากาศตอนนี้เลย คงไม่ปกติแล้วคะ pic.twitter.com/3JnTnNDQcm
— aris kanphan (@arisparis) 4 กรกฎาคม 2561
This is bangwa station first station to national stadium. Waiting for the train for the past 15min. You call this normal? pic.twitter.com/fccKUXqDG9
— 🖖🏽🐾🔴⚪️ (@singhnavjeet) 4 กรกฎาคม 2561
ด้าน นายสุมิตร ศรีสันติธรรม ผู้อำนวยการฝ่ายปฏิบัติการ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ปัญหาผู้โดยสารติดค้างบางสถานีในการใช้บริการรถไฟฟ้าบีทีเอสในช่วงเช้าวันนี้ เกิดจากมีขบวนรถสายสีลม 1 ขบวนต้องใช้ระบบมือ (manual) ขับเคลื่อน จึงส่งผลให้การเดินรถล่าช้า 5 นาที อย่างไรก็ตาม ปัจจุบัน ช่วงชั่วโมงเร่งด่วน ผู้โดยสารมีจำนวนมาก การล่าช้า 5 นาที หรือ ประตูปิด-เปิดช้า 30 วินาที อาจส่งผลให้ผู้โดยสารรู้สึกและบ่นบ้าง
ส่วนปัญหาคลื่นสัญญาณสื่อสารรบกวนระบบสื่อสารเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ตอนนี้ไม่มีปัญหา ไม่มีการรบกวนแล้ว หลังจาก กสทช. และ บีทีเอส ปรับระบบใหม่
“ตอนนี้อาจมีรถไฟฟ้าบางขบวนกระตุก กระชาก บ้าง เพราะเป็นที่ตัวรถ ซึ่งบีทีเอส กำลังปรับจูนรายละเอียด และอาจเกิดปัญหาผู้โดยสารสะสมบ้างในช่วงพีค” นายสุมิตร กล่าว
ทั้งนี้ สถานการณ์ที่สถานีบางหว้า โพธิ์นิมิตร ที่มีผู้โดยสารติดค้างตั้งแต่เวลา 8.00 น. ขณะนี้ (10.00 น.) คลี่คลายแล้ว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อช่วงเช้าวันที่่ 2 ก.ค.ที่ผ่านมา สำนักงานกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. พร้อมหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้ร่วมกันตรวจการให้บริการรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสีเขียว (สายสุขุมวิท) ตั้งแต่สถานีอารีย์ ถึง สถานีพร้อมพงษ์ รวม 11 สถานี ภายหลังจากที่รถไฟฟ้าบีทีเอส ได้ดำเนินการใน 3 ด้านเรียบร้อยแล้ว ได้แก่ 1.เปลี่ยนอุปกรณ์วิทยุสื่อสารระบบอาณัติสัญญาณจากโมโตโรล่าเป็นม็อกซ่า 2. ขยับคลื่นความถี่ไปอยู่ในช่วงปลาย 2400 MHz คือย้ายไปอยู่ที่ตำแหน่ง 2430-2495 MHz และ 3. ติดตั้งระบบป้องกันการรบกวนคลื่น โดยผลการตรวจสอบพบว่า สอบผ่าน พร้อมกับยืนยันว่าปัญหาระบบอาณัติสัญญาณของบีทีเอสที่ขัดข้องจนทำให้เกิดการล่าช้าในการเดินรถในสัปดาห์ที่ผ่านมานั้นไม่มีปัญหาแล้ว
อ่านข่าวเกี่ยวข้อง :