ไม่พบผลการค้นหา
"พรรคภูมิใจไทย ต้องขอโทษที่ไม่สามารถรักษาร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับแก้ไข เพิ่มเติม ให้มีสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) ไว้ได้"

"พรรคภูมิใจไทย ยังดำรงความมุ่งหมายที่จะแก้ไขรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย โดยให้ประชาชนมีส่วนร่วมกับการร่างรัฐธรรมนูญ ต่อไป และ จะเสนอร่างรัฐธรรมนูญใหม่ ให้รัฐสภาพิจารณาต่อไป ตามแนวทางที่ศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำวินิจฉัยไว้"

ถ้อยคำข้างต้นคือ เนื้อหาตอนหนึ่งในแถลงการณ์ของพรรคภูมิใจไทย ที่ออกเมื่อวันที่ 18 มี.ค. 2564 หลังที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภา เมื่อวันที่ 17 มี.ค. 2564 มีมติคว่ำร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม (แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 256 และเพิ่มหมวด 15/1) ที่กำหนดให้มีการเลือกตั้ง ส.ส.ร. เพื่อจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่ ในวาระที่ 3 ด้วยมติเสียงเห็นชอบไม่ถึงกึ่งหนึ่งของสองสภาเท่าที่มีอยู่

จับอาการพรรคภูมิใจไทย ที่มีท่าทีไม่เห็นด้วยกับการเดินหน้าลงมติในวาระที่ 3 เพราะเห็นสอดคล้องกับแนวทางของพรรคประชาธิปัตย์ที่ต้องการให้รัฐสภามีมติส่งเรื่องไป 'ศาลรัฐธรรมนูญ' อีกครั้ง เพื่อชะลอการลงมติในวาระที่ 3 ไว้ก่อน ด้วยเพราะไม่มั่นใจว่าการลงมติจะขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ โดยสอบถามความชัดเจนถึงผลคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ โดยเลือกแนวทางที่จะรักษาร่างรัฐธรรมนูญไว้

ทำให้ 61 ส.ส. 'ภูมิใจไทย' เลือกที่จะไม่ร่วมสังฆกรรมกับการลงมติในวาระที่ 3

อนุทิน ศักดิ์สยาม ภูมิใจไทย  สภา อภิปรายไม่ไว้วางใจ ลงมติ 4-9F5F-C5422E675F23.jpeg

สำหรับแนวทางการผลักดันให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพื่อเปิดทางให้มี ส.ส.ร.นั้น ต้องย้อนกลับไปตั้งแต่มีคณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญพิจารณาศึกษาปัญหา หลักเกณฑ์ และแนวทางแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2560 ที่มี พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค ที่ปรึกษานายกฯ​ เป็นประธาน กมธ. ซึ่งส่งรายงานผลการศึกษาถึงมือ ชวน หลีกภัย ประธานรัฐสภา เมื่อวันที่ 31 ส.ค. 2563 

หลังเกิดกระแสกดดันอย่างหนักจากภายนอกรัฐสภา ของมวลชนคณะราษฎร 2563 นับตั้งแต่เดือน ส.ค. 2563 ที่เรียกร้องให้ 1. พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ต้องลาออกจากนายกรัฐมนตรี 2.ให้มีการร่างรัฐธรรมนูญใหม่ โดยมีการตั้ง ส.ส.ร.มาจากการเลือกตั้งทั้งหมด โดยต้องร่างใหม่ได้ทุกหมวด และ 3.ปฏิรูปสถาบันพระมหากษัตริย์

ความเคลื่อนไหวของ 'ภูมิใจไทย' ที่ประกาศชัดสนับสนุนการแก้ไขรัฐธรรมนูญ จึงมีท่าทีออกมานับแต่กลุ่มผู้ชุมนุม 

19 ส.ค. 2563 อนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวง (รมว.) สาธารณสุข และหัวหน้าพรรคภูมิใจไทย นำ 61 ส.ส.ของพรรค แถลงจุดยืนกรณีข้อเรียกร้องของประชาชน โดยย้ำ 6 ข้อเสนอ 1.แก้ไขมาตรา 256 ให้มี ส.ส.ร.จากการเลือกตั้ง 2.ต้องไม่แตะหมวด 1 และหมวด 2 อันเป็นระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และ 3.เสนอ ส.ส.ร.ที่มาจากประชาชนมีความอิสระในการยกร่างรัฐธรรมนูญทุกขั้นตอน

4.เมื่อมีรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน แล้วพรรคภูมิใจไทยเห็นด้วยกับการยุบสภา เลือกตั้งใหม่ 5.ให้พื้นที่ผู้เห็นต่างรับฟังความเห็นต่าง และ 6.ข้อเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญของพรรคเป็นไปตามนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาล ข้อ 12 ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้แถลงต่อรัฐสภา

อนุทิน ภูมิใจไทย รัฐธรรมนูญ 304221671352_3077609000626630993_n.jpgภูมิใจไทย แก้ไขรัฐธรรมนูญ 46432250_6540077978592118686_n.jpg

20 ส.ค. 2563 ภราดร ปริศนานันทกุล ส.ส.อ่างทอง ในฐานะโฆษกพรรคภูมิใจไทย แถลงยืนยันจุดยืนของพรรคภูมิใจไทยพร้อมให้แก้ไขรัฐธรรมนุญ และพรรคกำลังร่างรัฐธรรมนูญฉบับของพรรค โดยจะเสนอต่อรัฐสภาในสัปดาห์ถัดไป โดยไม่รอรายงานผลการศึกษาแก้ไขรัฐธรรมนูญของ กมธ.วิสามัญพิจารณาศึกษาปัญหา หลักเกณฑ์ และแนวทางแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2560 

“เราจะไม่รอผลของคณะกรรมาธิการ(กมธ.)วิสามัญพิจารณาศึกษาปัญหา หลักเกณฑ์ และแนวทางการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2560 เพราะเราได้รับสัญญาณจากประธานสภาฯ ว่าในวันที่ 28 ส.ค. 2563 จะมีการประชุมร่วมรัฐสภา อีกทั้งร่างฯในส่วนของฝ่ายค้าน อย่างพรรคเพื่อไทยได้ถูกบรรจุในระเบียบวาระแล้ว หากรอผลของ กมธ. อาจจะไม่ทันในสมัยประชุมนี้ และทำให้สถานการณ์การชุมนุมของกลุ่มนักศึกษาทวีความรุนแรงมากขึ้น ดังนั้นเรายินดีร่วมกับทุกภาคส่วนหาทางออกให้สังคม การเดินหน้าแก้ไขรัฐธรรมนูญถือเป็นทางออก และตรงกับข้อเรียกร้องกลุ่มผู้ชุมนุมด้วย” โฆษกพรรคภูมิใจไทย กล่าว

1 ก.ย.2563 ท่าทีกดดันของพรรคภูมิใจไทย ทำให้พรรคร่วมรัฐบาลที่นำโดย พรรคพลังประชารัฐ และพรรคร่วมรัฐบาล นำ ส.ส. 206 รายชื่อ เสนอญัตติร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 256 ต่อประธานรัฐสภา ที่กำหนดให้มีกระบวนการได้มาซึ่ง ส.ส.ร. 200 คน 

ระหว่างวันที่ 14 ต.ค. 2563 เป็นต้นมา สถานการณ์การชุมนุมยังทวีความระอุภายในรัฐสภา เมื่อมวลชนคณะราษฎร 2563 งัดแผนดาวกระจายในกรุงเทพฯ ภายหลังแกนนำมวลชนได้ถูกจับกุมจากการชุมนุมเคลื่อนขบวนไปยังหน้าทำเนียบรัฐบาล

17 ต.ค. 2563 อนุทิน ชาญวีรกูล หัวหน้าพรรคภูมิใจไทย ประกาศจุดยืน 3 ข้อ 1.ปกป้อง เทิดทูนสถาบัน 2.แก้รัฐธรรมนูญ มาตรา 256 ให้ประชาชนร่วมร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับใหม่ และ 3.แก้ปัญหาปากท้องประชาชน

“การแก้รัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นข้อเรียกร้องของประชาชนผู้ชุมนุม จะทำให้การเผชิญหน้ากันลดลง และรัฐสภาจะเป็นเวทีการแก้ปัญหาความขัดแย้งของประชาชน ที่ดีที่สุด” อนุทิน ระบุ

17 พ.ย. 2563 มวลชนราษฎร นัดหมายชุมนุมหน้ารัฐสภา เกียกกาย เพื่อกดดันให้รัฐสภารับร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับประชาชน ที่เสนอโดยภาคประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง จำนวน 98,041 คนเป็นผู้เสนอร่วมกับโครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน (ไอลอว์) และเกิดการปะทะโดยเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ฉีดแก๊สน้ำตาและฉีดน้ำแรงดันสูงเพื่อสกัดการชุมนุมของมวลชน ในช่วงที่รัฐสภากำลังพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมทั้ง 7 ฉบับในวาระที่หนึ่ง ขั้นรับหลักการ

18 พ.ย. 2563 รัฐสภามีมติ คว่ำร่างรัฐธรรมนูญ 5 ฉบับ โดยเห็นชอบรับร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม 2 ฉบับ คือฉบับของพรรคร่วมรัฐบาลและพรรคฝ่ายค้าน ในวาระที่หนึ่ง 

ส.ส.พรรคภูมิใจไทย ต่างใช้สิทธิงดออกเสียง ร่างรัฐธรรมนูญ 5 ฉบับ และเห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม 2 ฉบับ ที่เสนอให้มี ส.ส.ร.ของรัฐบาลและฝ่ายค้าน 

ขณะที่ ส.ส.ของพรรคภูมิใจไทยที่ประกาศไม่เห็นชอบกับร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม ฉบับประชาชน ประกอบด้วย 'อนุทิน ชาญวีรกูล' หัวหน้าพรรคภูมิใจไทย ศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคมและเลขาธิการพรรคภูมิใจไทย สรอรรถ กลิ่นประทุม ส.ส.บัญชีรายชื่อ ศุภชัย ใจสมุทร ส.ส.บัญชีรายชื่อ ศุภชัย โพธิ์สุ ส.ส.นครพนม ศรีนวล บุญลือ ส.ส.เชียงใหม่ สำลี รักสุทธี ส.ส.บัญชีรายชื่อ 

ประชุมรัฐสภา แก้ไขรัฐธรรมนูญ  ภูมิใจไทย ไพบูลย์ dddd17_2.jpg

9 ก.พ. 2563 ที่ประชุมรัฐสภามีมติ 366 เสียงต่อ 316 เสียง เห็นชอบให้ส่งร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญที่เปิดทางให้มีสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) ส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยมีเนื้อหาขัดแย้งต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ โดยมีสมาชิกรัฐสภา 15 เสียงงดออกเสียง จากผู้ร่วมประชุม 696 คน 

ส.ส.พรรคภูมิใจไทย นำโดย 'อนุทิน' ใช้สิทธิออกเสียงลงมติไม่เห็นด้วยกับการส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจแยอำนาจหน้าที่ของรัฐสภาในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 256 มีเพียง ศักดิ์สยาม ชิดชอบ ส.ส.บัญชีรายชื่อ ฐิตินันท์ แสงนาค ส.ส.ขอนแก่น ที่ไม่ได้อยู่ร่วมลงมติ 

24-25 ก.พ. 2563 ที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภา พิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ แก้ไขมาตรา 256 เพิ่มหมวด 15/1 ซึ่ง กมธ.พิจารณาเสร็จสิ้นแล้วเป็นการพิจารณาในวาระที่ 2 ขั้นพิจารณาเรียงลำดับรายมาตรา โดย ส.ส.พรรคภูมิใจไทย ยังคงแสดงจุดยืนเห็นด้วยกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญให้มี ส.ส.ร.จากการเลือกตั้ง ซึ่งการพิจารณาในวาระที่ 2 มีการกำหนดให้ ส.ส.ร. 200 คนมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน โดย ส.ส.ร.จะมาจากการแบ่งเขตเลือกตั้ง 200 เขต

17 มี.ค. 2563 ในการประชุมรัฐสภา สมัยวิสามัญ เพื่อพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ในวาระที่สาม ซึ่งก่อนการพิจารณาที่ประชุมเปิดให้สมาชิกรัฐสภาแสดงความคิดเห็นอย่างกว้างขวาง เพื่อหาทางออกกับการลงมติในวาระที่สาม 

เนื่องจากศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำวินิจฉัย เมื่อวันที่ 11 มี.ค. 2564 เห็นว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อให้ ส.ส.ร.นั้นจะมีผลให้ยกเลิกรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2560 อันเป็นการแก้ไขหลักการสำคัญที่ผู้มีอำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญดั้งเดิมต้องการปกป้องคุ้มครองไว้ หากรัฐสภาต้องการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ต้องจัดให้ประชาชนผู้ทรงอำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญออกเสียงประชามติก่อนว่า สมควรมีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่หรือไม่ ถ้าผลการออกเสียงประชามติเห็นชอบด้วย จึงดำเนินการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ต่อไป

ท่าทีของ ส.ส.พรรคภูมิใจไทย ที่แสดงความเห็นในการประชุมรัฐสภา เลือกที่จะสนับสนุนแนวทางของพรรคประชาธิปัตย์ ด้วยการส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยเพื่อถามว่าสิ่งที่ศาลวินิจฉัยไว้นั้นมีความหมายอย่างไร และการทำประชามตินั้นจะทำก่อนจะเป็นขั้นตอนไหน 

"ผมจึงสนับสนุนแนวทางให้ย้อนกลับไปถามศาลรัฐธรรมนูญใหม่อีกครั้ง" ภราดร ปริศนานันทกุล ส.ส.อ่างทอง พรรคภูมิใจไทย อภิปรายกลางที่ประชุมรัฐสภา

ประชุมรัฐสภา แก้ไขรัฐธรรมนูญ  ภูมิใจไทย ภราดร we317_2.jpg

ผลการลงมติในญัตติให้เดินหน้าพิจารณาต่อในวาระที่สามด้วยการลงมติว่าจะเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบกับร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม ผลการลงมติออกมา โดยพรรคพลังประชารัฐ ฝ่ายค้านต่างเห็นด้วยกับการเดินหน้าลงมติในวาระที่สาม ขณะที่พรรคภูมิใจไทย เลือกลงมติไม่เห็นด้วย 

ผลการโหวตครั้งนี้ทำให้ ส.ส.พรรคภูมิใจไทยใช้สิทธิวอล์กเอาต์ ไม่อยู่ร่วมลงมติในวาระที่สาม โดย 'ชาดา ไทยเศรษฐ์' ส.ส.อ่างทอง พรรคภูมิใจไทย กล่าวกลางรัฐสภาอย่างมีอารมณ์ว่าเป็นสภาโจ๊ก

ที่สุดผลการลงมติในวาระที่สาม ที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภาคว่ำร่างรัฐธรรมนูญในวาระที่สาม เพราะเสียงเห็นชอบมีเพียง 208 เสียง ไม่ถึงกึ่งหนึ่งของสองสภา 

ผลสะเทือนของการวอล์กเอาต์ของพรรคภูมิใจไทย

อนุทิน ภูมิใจไทย แก้ไข รัฐธรรมนูญ รัฐสภา 7777_210224.jpg

18 มี.ค. 2564 'อนุทิน' ชี้แจง พรรคภูมิใจต้องรักษาระบบ​ ไม่ได้หลอกลวงประชาชน​ ไม่ให้มีความวุ่นวาย​ ยินดีหากต้องแก้รัฐธรรมนูญ​ แต่ต้องเป็นไปตามกระบวนการ​ที่ประชาชน​จะเป็นผู้กำหนด

"พรรคยืนยันตามเจตนารมณ์​ที่ให้กับประชาชนใน 2 วาระแรก​ และการเสนอของพรรคร่วมคือภูมิใจไทยและประชาธิปัตย์ได้​เพื่อให้เกิดความชัดเจนและตีความกันผิด​ เพราะเมื่อมีผู้ร้องเรียนอาจนำไปสู่การยุบพรรคได้​ ซึ่งพรรคภูมิใจ​มีเจตนารมณ์​แต่แรกว่าจะไม่โหวตลงมติเพราะจะขัดต่อคำพิพากษา​ของศาลรัฐธรรมนูญ​ แต่วอล์กเอาต์​เป็นวิธีที่เราแสดงออกว่าจะไม่แสดงความคิดเห็น​" อนุทิน ชี้แจงถึงเหตุผลไม่ร่วมลงมติในวาระที่สาม ต่างจากพรรคประชาธิปัตย์ที่ประกาศชัดเจนลงมติเห็นด้วยกับร่างรัฐธรรมนูญในวาระที่สาม"

และล่าสุดก็นำไปสู่การที่ 'พรรคภูมิใจไทย' ออกแถลงการณ์ ขอแสดงความเสียใจต่อกรณีที่รัฐสภา ได้ลงมติไม่เห็นชอบกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ วาระ 3 เป็นผลให้ร่างรัฐธรรมนูญ ที่ผ่านความเห็นชอบของรัฐสภา มาแล้วถึง 2 วาระ ต้องตกไป และไม่สามารถนำกลับมาพิจารณาได้อีก เป็นการทำลายความหวัง ความตั้งใจของประชาชน

"พรรคภูมิใจไทยยอมรับคำวิพากษ์วิจารณ์ทุกประการ เพราะเราพลาดจริงๆ ที่ตามเกมการเมืองของผู้ที่จ้องจะล้มกระบวนการแก้ไขรัฐธรรมนูญไม่ทัน เนื่องจากเราคิดไม่ถึงว่าจะมีการพลิกแพลงเปลี่ยนแปลงกันตลอดทั้งวัน เป็นการเล่นเกมที่จะเอาชนะกัน โดยไม่สนใจความรู้สึกของประชาชนที่จับตาดูการประชุมรัฐสภา และเฝ้ารอการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ซึ่งพรรคภูมิใจไทยต้องขอโทษที่ไม่สามารถรักษาร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับแก้ไขเพิ่มเติมให้มีสภาร่างรัฐธรรมนูญไว้ได้"

ข่าวที่เกี่ยวข้อง