แม้ประเทศไทยจะเดินหน้าไปสู่ประชาธิปไตยได้เพิ่มขึ้นอีก 1 ก้าว (ยังเหลืออีกหลายก้าว) แต่สำหรับเศรษฐกิจนั้นอาการน่าเป็นห่วงไม่ใช่น้อย เพราะรายงานเศรษฐกิจโลก (World Economic Outlook 2023 ของ IMF ที่เพิ่งเผยแพร่เมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา ระบุว่า เศรษฐกิจโลกโดยรวมจะเสี่ยงเข้าสู่สภาวะถดถอย โดยอีก 5 ปีข้างหน้า GDP จะโตเพียง 3% ซึ่งต่ำที่สุดในรอบ 30 ปี
ฉมาดนัย มากนวล และ ชนม์นิธิศ ไชยสิงห์ทอง สองนักวิเคราะห์จากศูนย์วิจัย Krungthai COMPASS มองว่า สภาวะนี้ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากองค์ประกอบการเติบโตของประเทศที่เคยเป็นตัวขับเคลื่อนหลัก อย่างสหรัฐอเมริกาและยุโรป มีสัดส่วนลดลงตลอดสิบปี ประกอบกับแรงหนุนจากเศรษฐกิจจีนก็ลดลง แถมผลกระทบจากโควิด-19 ก็ฉุดศักยภาพให้ต่ำ ไม่นับรวมปัญหาความขัดแย้งของโลกที่เป็นอุปสรรคต่อการค้าการลงทุน ทำลายการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มผลิตภาพในประเทศต่างๆ
นอกจากนี้ IMF ยังรายงานตัวเลขหนี้ทั่วโลกว่า ไตรมาสแรกของปี 2566 หนี้สินทั่วทั้งโลกพุ่งขึ้นทำสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์มาอยู่ที่ระดับ 305 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือราวๆ 1 หมื่นล้านล้านบาทแล้ว ประกอบกับอัตราดอกเบี้ยที่ขยับขึ้นสูง อาจกระตุ้นให้ภาคธุรกิจเกิดการผิดนัดชำระหนี้ และส่งผลให้ ‘บริษัทซอมบี้’ (Zombie Firms) หรือบริษัทที่มีหนี้สินล้นพ้นตัวจนไม่อาจสร้างกำไรได้เพิ่มขึ้นด้วย ปัจจุบันมีบริษัทจดทะเบียนในสหรัฐราว 14% ที่เข้าข่ายดังกล่าวแล้ว
หากดูประมาณการเติบโตของ GDP ในอาเซียนจากรายงาน IMF (เมษายน 2566) จะพบว่า
ดร.พชรพจน์ นันทรามาศ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ และ Chief Economist ธนาคารกรุงไทย ระบุว่ายุคเศรษฐกิจโลกชะลอตัวนี้เป็นครั้งแรกในรอบ 20 ปีที่การชะลอตัวเป็นไปในรูปแบบ ‘ไม่มีตัวช่วย’ เหตุเพราะนโยบายการเงินและการคลังถูกล็อกไว้ทุกด้าน
ด้านสภาพัฒน์ฯ แถลงภาวะเศรษฐกิจไทยไตรมาสแรกของปี 2566 คาดว่าจะขยายตัว ในช่วง 2.7%- 3.7% โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยว ตามจำนวนนักท่องเที่ยวทั้งต่างชาติและนักท่องเที่ยวไทยที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากการขยายตัวต่อเนื่องของการอุปโภคบริโภคภายในประเทศ
แต่สภาพัฒน์ฯ ก็ยังเป็นห่วงเศรษฐกิจไทยเพราะมีปัจจัยเสี่ยงจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก ความผันผวนของระบบการเงินโลก ภาระหนี้สินของครัวเรือนและภาคธุรกิจที่อยู่ในระดับสูงท่ามกลางต้นทุนดอกเบี้ยที่สูงขึ้น ความแปรปรวนของสภาพภูมิอากาศที่อาจส่งผลกระทบต่อภาคเกษตร และความไม่แน่นอนทางการเมือง
สภาพัฒน์ฯ ระบุว่าจากข้อมูลในไตรมาส 4 ปี 2565 พบว่า หนี้ครัวเรือนไทยมีตัวเลขอยู่ที่ 15.09 ล้านล้านบาท (คิดเป็น 87% ของจีดีพี) พร้อมแสดงความกังวลชัดเจนว่า หนี้ครัวเรือนกำลังจะกลายเป็น ‘ระเบิดลูกใหม่’ ของเศรษฐกิจไทย
สุรพล โอภาสเสถียร ผู้จัดการใหญ่เครดิตบูโร กาง Big DATA เกี่ยวกับการจับจ่ายใช้สอยของคนไทย (30 เมษายน 2566 )พบว่า จำนวนผู้ที่อยู่ในระบบเครดิตบูโรมีจำนวน 32 ล้านคน กับอีก 4 แสนบริษัท มูลค่าราว 7-8 ล้านล้านบาท ( 9.8 แสนล้านบาท เป็นหนี้ที่เสีย) ครอบคลุม 126 สถาบันการเงิน
หากดูข้อมูลเครดิตบูโรเกี่ยวกับการจับจ่ายใช้สอยของคนไทย จะพบว่า
วีระพงศ์ มาลัย ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) เปิดเผยว่า ภาระหนี้สินทั้งหมดของธุรกิจ SME ส่วนใหญ่มีหนี้สินอยู่ในช่วง 50,000-100,000 บาท มากที่สุด มีระยะเวลาการกู้ยืมไม่เกิน 3 ปี
ปัจจุบันผู้ประกอบการ SME กำลังเผชิญกับปัญหาด้านการเงินและภาระหนี้สินจากอัตราดอกเบี้ยที่ปรับเพิ่มขึ้น SME 48.3% ยังสามารถชำระหนี้ได้ตามสัญญา แต่มี 51.7% ที่กำลังมีปัญหาการชำระหนี้ ทั้งจากการชำระผิดเงื่อนไขหรือจะไม่สามารถชำระหนี้ได้ตามสัญญา ซึ่งสัดส่วนที่ผิดนัดชำระหนี้สูงขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า ส่วนหนึ่งมาจากภาวะเศรษฐกิจที่ยังไม่ฟื้นตัวเต็มที่
สภาพัฒน์ คาดการณ์เศรษฐกิจปี 2566 ว่า
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย วิเคราะห์ไว้ว่า รัฐบาลใหม่ยังต้องเผชิญกับโจทย์อีกหลายด้าน ทั้งประเด็นภูมิรัฐศาสตร์และโครงสร้างประชากรไทย รวมถึงมาตรการด้านสิ่งแวดล้อมจากต่างประเทศ ดังนี้
จะเริ่มเห็นการแบ่งแยกขั้วเรื่อง ‘การย้ายฐานการลงทุน’ ชัดมากขึ้น เช่นที่เห็นบ้างแล้วคือ ห่วงโซ่อุปทานสินค้า อิเล็กทรอนิกส์ และมีแนวโน้มขยายวงไปยังอุตสาหกรรมอื่นๆ ในอนาคต ซึ่งจะกระทบกลับมายังทิศทางการส่งออกของไทย การเดินหน้าจับคู่ลงทุนและการหาตลาดส่งออกใหม่ๆ สำหรับไทยยังเป็นโจทย์ใหญ่ของรัฐบาลใหม่
โจทย์สังคมสูงอายุและประชากรที่ลดลง จะกระทบต่อเศรษฐกิจไทย เช่น ความน่าสนใจของประเทศในฐานะแหล่งลงทุน การเก็บรายได้ของรัฐบาล หรือการรับมือกับโจทย์สังคมสูงอายุ รวมถึงปัญหาของตลาดแรงงานทั้งในมิติความเพียงพอของแรงงาน ความสอดคล้องกันของทักษะแรงงานและความต้องการของตลาด รวมถึงแนวทางการบริหาร จัดการแรงงานข้ามชาติ
การแก้ปัญหาหนี้ ครัวเรือนผ่านการสร้างรายได้สนับสนุนการก่อหนี้สร้างมูลค่าเพิ่ม ต่อครัวเรือน ปรับโครงสร้างหนี้ ที่ยั่งยืนสำหรับกลุ่มที่มีหนี้อยู่แล้ว รวมถึงการสร้างวินัยการออมที่ต้องผลักดันโจทย์การออมให้กลายเป็นวาระแห่งชาติ
มาตรการด้านสิ่งแวดล้อมจากต่างประเทศ กำลังกลายเป็นมาตรการกีดกันทางการค้า (ที่ไม่ใช่ภาษี) และจะส่งผลต่อการเปลี่ยนรูปแบบธุรกิจอย่างมีนัยสำคัญในอนาคต เช่น มาตรการปรับราคาคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดนของสหภาพยุโรป ซึ่งปัจจุบันผู้ประกอบการที่เริ่มเตรียมความพร้อม มีเพียงธุรกิจรายใหญ่ ภาครัฐจึงจำเป็นต้องสร้างความตื่นตัวสำหรับกิจการขนาดเล็กลงไป และกิจการที่อยู่ในห่วงโซ่อุปทานของธุรกิจ
อ้างอิง