ไม่พบผลการค้นหา
ผู้ตรวจการแผ่นดิน เตรียมส่งศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย กรณีนายกรัฐมนตรีถวายสัตย์ปฏิญาณไม่ครบถ้วนในวันนี้ (27 ส.ค.62) ส่วนการประชุมรัฐสภาเลือกนายกรัฐมนตรีชอบด้วยรัฐธรรมนูญแล้วจึงยุติเรื่อง

นายรักษเกชา แฉ่ฉาย เลขาธิการสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน แถลงผลวินิจฉัยเรื่องร้องเรียน กรณีนายกรัฐมนตรีนำคณะรัฐมนตรีถวายสัตย์ปฏิญาณไม่ครบถ้วนและกรณีรัฐสภาลงมติเลือกนายกรัฐมนตรี

 1) กรณีนายศรีสุวรรณ จรรยา เลขาธิการสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย และนายอัยย์ เพชรทอง เลขาธิการองค์กรปกป้องพระพุทธศาสนาเพื่อสันติภาพ ยื่นเรื่องเมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2562 , นายภาณุพงศ์ ชูรักษ์ นักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหง ยื่นเรื่องเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2562 ร้องเรียนเกี่ยวกับการถวายสัตย์ปฏิญาณของนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรี ไม่ครบถ้วนนั้น  

โดยที่จะยื่นต่อศาลรัฐธรรมนูญ คือที่ผู้ตรวจการแผ่นดิน เห็นว่า ผู้ร้องเรียน คือ นายภาณุพงศ์ ถือเป็นผู้เดือดร้อนเสียหายตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในมาตรา 46 พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ จึงส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยว่า การถวายสัตย์ปฏิญาณต่อพระมหากษัตริย์ไม่เป็นไปตามบทบัญญัติมาตรา 161 ของรัฐธรรมนูญ, เป็นการกระทำที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญและละเมิดสิทธิเสรีภาพของประชาชนผู้ร้อง หรือการกระทำนั้น จึงบังคับใช้ไม่ได้หรือไม่ โดยผู้ตรวจการแผ่นดิน จะยื่นคำร้องพร้อมด้วยความเห็นต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อพิจารณาวินิจฉัยภายในวันนี้

เลขาธิการสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน ระบุด้วยว่า แม้จะมีคำชี้แจงจากนายกรัฐมนตรีว่า ได้ทำตามกระบวนการทุกขั้นตอน แต่เมื่อคำกล่าวถวายสัตย์ปฏิญาณขาเถ้อยคำที่ว่าทั้งจะรักษาไว้และปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยทุกประการ จึงเป็นการกล่าวทำให้ครบถ้วนตามที่กำหนดไว้, เป็นการกระทำที่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ, การกระทำจึงใช้บังคับไม่ได้ตามมาตรา 5 วรรค 1 รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ บทบัญญัติใดของกฎหมาย กฎ หรือข้อบังคับ หรือการกระทำใด ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ บทบัญญัติหรือการกระทำนั้นเป็นอันใช้บังคับมิได้

ส่วนอีก 2 คำฟ้อง ของนายศรีสุวรรณแลอัยย์ ผู้ตรวจการแผ่นดิน ได้ยุติเรื่องเพราะไม่อยู่ในหน้าที่และอำนาจที่จะส่งไปที่ศาลรัฐธรรมนูญและศาลปกครอง เนื่องจากเห็นว่า การถวายสัตย์ปฏิญาณเป็นเรื่องของการกระทำ ไม่ใช่บทบัญญัติของกฎหมาย ในส่วนนี้จึงไม่มีประเด็นปัญหาความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ผู้ตรวจการแผ่นดิน จึงยุติในกรณีที่นายศรีสุวรรณและนายอัยย์ ขอให้ส่งศาลรัฐธรรมนูญ

ส่วนการส่งศาลปกครองนั้น เป็นเรื่องการกระทำและกระทำตามรัฐธรรมนูญ จึงไม่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของผู้ตรวจการแผ่นดินในการที่จะส่งเรื่องไปที่ศาลปกครองและให้ยุติเรื่องเช่นเดียวกัน

2) กรณี พลตำรวจเอกเสรีพิศุทธ์ เตมียเวส หัวหน้าพรรคเสรีรวมไทย ร้องเรียนนายชวน หลักภัยประธานรัฐสภา ยื่นเรื่องเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2562 กรณีการประชุมร่วมรัฐสภาเพื่อเลือ���นายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2562 เป็นการดำเนินการที่ไม่เป็นไปตามรัฐธรรมนูญหรือไม่

ผู้ตรวจการแผ่นดิน วินิจฉัยแล้วเห็นว่า การกระทำของประธานรัฐสภาชอบด้วยรัฐธรรมนูญแล้ว จึงยุติเรื่องและจะแจ้งให้ผู้ร้องเรียนและประธานรัฐสภาทราบต่อไป


ข่าวที่เกี่ยวข้อง :