ไม่พบผลการค้นหา
งานวิจัยสร้างความหวังในการศึกษาพัฒนาการของสมอง ขณะหลายฝ่ายกังวลเรื่องจริยธรรม

งานวิจัยเรื่องเซลล์ล่าสุดที่ตีพิมพ์ในวารสารเมื่อวันพฤหัสบดี (29 สิงหาคม) ที่ผ่านมา ค้นพบว่า กลุ่มเซลล์สังเคราะห์ในห้องทดลองมีรูปแบบพฤติกรรมทางประสาทคล้ายคลึงกับข้อมูลพฤติกรรมสมองของทารก

นักประสาทวิทยาหลายคนออกมาพูดถึงโอกาสในการพัฒนาองค์ความรู้ดังกล่าวเพื่อศึกษาพัฒนาการสมองของมนุษย์สำหรับการนำไปใช้ในการรักษาผู้มีความบกพร่องทางสมอง อย่างไรก็ตาม งานวิจัยดังกล่าวสร้างกระแสความกังวลเรื่องจริยธรรม โดยนักวิจัยและนักจริยธรรมหลายคนมองถึงความพยายามในการสร้างการทำงานของสมองขึ้นมาใหม่ อาทิ การสร้างการรับรู้ความเจ็บปวดแบบใหม่ขึ้นมาในสมองของมนุษย์

นี่ไม่ใช่งานชิ้นแรกที่พูดถึงการทำงานของระบบประสาท เมื่อช่วงต้นปีที่ผ่านนักวิจัยในญี่ปุ่นตีพิมพ์งานวิจัยในรูปแบบที่คล้ายกันเช่นเดียวกัน อย่างไรก็ตาม งานวิจัยชิ้นนั้นไม่ได้เปรียบเทียบรูปแบบพฤติกรรมของกลุ่มเซลล์กับพฤติกรรมของสมองมนุษย์

10 เดือนแห่งการเพาะพันธุ์

'อลิซซอน มาวทรี' นักประสาทวิทยาจากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย และหัวหน้าผู้วิจัย กล่าวว่า กลุ่มเซลล์สังเคราะห์เหล่านี้ถูกเลี้ยงดูเป็นเวลา 10 เดือนในตู้เพาะเลี้ยงเฉพาะที่มีการติดตั้งเซนเซอร์เก็บข้อมูลกิจกรรมทางประสาท หรือ เซลล์สมองทุกๆสัปดาห์ 

ผลลัพธ์จากข้อมูลแสดงให้เห็นเวลาเมื่อกลุ่มเซลล์สังเคราะห์เหล่านี้มีอายุมากขึ้น กิจกรรมทางประสาทก็จะซับซ้อนขึ้นเช่นเดียวกับสมองของมนุษย์

สำหรับการเปรียบเทียบกิจกรรมทางประสาทของมนุษย์และกลุ่มเซลล์สังเคราะห์ นักวิจัยนำข้อมูลพฤติกรรมสมองของเด็กที่เกิดก่อนกำหนดมาสอนอัลกอริทึมให้คาดหการณ์อายุของสมองจากข้อมูลที่เก็บมา โดยยิ่งกลุ่มเซลล์สังเคราะห์มีอายุมากขึ้น อัลกอริทึมยิ่งคาดการณ์อายุของเซลล์สังเคราะห์ได้ถูกต้องมากขึ้น ซึ่งเป็นรูปแบบเดียวกันที่เกิดขึ้นกับสมองมนุษย์

"การที่กลุ่มเซลล์สังเคราะห์มีอายุมากขึ้นแบบสมองมนุษย์ สำหรับฉะนมันเป็นเรื่องน่าประหลาดใจจริงๆ" อลิซซอน กล่าว

แม้งานวิจัยดังกล่าวจะยังอยู่ในขั้นเริ่มต้นเท่านั้น แต่นักประสาทวิทยาศาสตร์หลายคนก็มีความหวังว่า วันหนึ่งองค์ความรู้ดังกล่าวจะสามารถนำมาประยุกต์ใช้เพื่อการปลูกถ่ายอวัยวะในส่วนสมองที่ถูกทำลายจากโรคหลอดเลือดสมอง 

อ้างอิง; The Economist, WSJ