ไม่พบผลการค้นหา
พิจารณา พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาท วันที่ 2
ศาล รธน.มีมติคว่ำร่างพ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้าน
เมื่อร่าง พ.ร.บ.2 ลล.ต้องตกไป จากคำวินิจฉัยศาล รธน.
รวมความเห็นภาคธุรกิจ ต่อรถไฟความเร็วสูง
เฉลิม เตรียมเชิญ 'อภิสิทธิ์-ถาวร' ถกไฟใต้
พ.ร.บ. 2 ล้านล้าน : วิสัยทัศน์ที่ก้าวกระโดด?
สภาฯ ถก ร่าง พรบ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาท วันแรก
รัฐบาลเตรียมหาแหล่งเงินกู้ใหม่พัฒนาระบบคมนาคม
เลขาฯสมช. เสนอชะลอ พรบ.นิรโทษกรรม
'โคราช' พร้อมหรือยังกับการลงทุนพ.ร.บ.2 ล้านล้านบาท
ชัชชาติ มั่นใจร่างพ.ร.บ.2 ล้านล้านผ่านสภา
โรดแมพ ล้มเลือกตั้ง?
2 ล้านล้านตกไป : ประเทศไทยถูกตัดโอกาสเศรษฐกิจ
บรรยากาศหลังยกเลิกประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน
นิทรรศการโครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน
สถานการณ์น้ำเหนือ ลำปาง- พิษณุโลก
นายกฯ ขอความเห็นใจ อย่าใช้กฎหมายไล่ล่า
พิจารณาใช้ พ.ร.บ.ความมั่นคง ม. 21
การเมืองลากยาว ลากท่องเที่ยวซึมยาว
พรรคร่วมรัฐบาลหนุนแนวคิดพ.ร.บ.ปรองดอง
2 ล้านล้านล่ม กระทบนักเก็งกำไรอสังหาฯ
Mar 14, 2014 11:04
ภาคอสังหาริมทรัพย์ เป็นหนึ่งธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากกรณีร่าง พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาท โดยเฉพาะอสังหาริมทรัพย์ที่อยู่ในแนวเส้นทางก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง เพราะก่อนหน้านี้ มีการกว้านซื้อที่ดินและปรับราคาเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัวเพื่อรอการขาย แต่เมื่อมีคำตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญ อาจทำให้ราคาที่ดินเหล่านี้ปรับลดลงมากกว่าร้อยละ 50       
 
 
ราคาอสังหาริมทรัพย์ตามหัวเมืองใหญ่ อาทิ เชียงใหม่   อุตรดิตถ์  พิษณุโลก ซึ่งเป็นเส้นทางที่รถไฟฟ้าความเร็วสูงจะพาดผ่าน ตามแผนการลงทุน 2 ล้านล้านบาทของรัฐบาล ปรับสูงขึ้นไปรอก่อนหน้าและพร้อมขายเมื่อโครงการลงทุนภาครัฐมีความชัดเจน แต่เมื่อศาลรัฐธรรมนูญตัดสินว่าร่างพ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาท ขัดกฎหมาย ทำให้ โครงการเหล่านี้มีความเสี่ยงเกิดภาวะฟองสบู่    
 
แต่สำหรับพื้นที่กรุงเทพมหานคร ผลกระทบยังไม่มาก เพราะผู้ประกอบการสามารถพัฒนาโครงการได้ตามปกติ เนื่องจากมีรถไฟฟ้าในเมือง 
 
ผลที่ออกมา ทำให้การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานเกิดความล่าช้า อาจทำลายฝันของนักเก็งกำไร จากราคาที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ที่มีโอกาสปรับลดลงมากกว่าร้อยละ 50 แต่ในความเป็นจริง การพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์ จะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อมีการก่อสร้างรถไฟฟ้า และระบบคมนาคมขนส่ง หรือมีความชัดเจนในตัวโครงการของรัฐแล้วเท่านั้น ทำให้บางรายที่อยู่ในขั้นการวางแผนพัฒนาโครงการ ยังไม่ได้รับผลกระทบมากนัก    
 
เมื่อแผนลงทุนของภาครัฐล่ม แต่ผู้บริโภคที่ต้องการซื้อที่อยู่อาศัยในระยะนี้ได้ประโยชน์ จากการระบายสินค้าในโครงการออกจากมือผู้ประกอบการ รวมถึงราคาที่ดินที่ปรับลดลง ประกอบกับ การปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายช่วยให้ภาระการชำระหนี้ของผู้บริโภคลดลง  
 
ส่วนปัญหาการเมืองที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน กระทบยอดการทำธุรกรรมและซื้อที่ดินช่วง 2 เดือนที่ผ่านมาชะลอตัว แต่เชื่อว่าในไตรมาส 2 และ 3 ของปีนี้ หากสถานการณ์การเมืองคลี่คลาย การทำธุรกรรมดังกล่าวจะกลับมาเป็นปกติ เช่นเดียวกับปีที่ผ่านมา ที่มีตัวเลขการทำธุรกรรมที่ดินกว่า 6 ล้านรายการ มูลค่ารวมกว่า 7 หมื่นล้านบาท  
Voice TV
กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี
184Article
76559Video
0Blog