ไม่พบผลการค้นหา
ศาล รธน.มีมติคว่ำร่างพ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้าน
พ.ร.บ. 2 ล้านล้าน : วิสัยทัศน์ที่ก้าวกระโดด?
พิจารณา พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาท วันที่ 2
ชัชชาติ มั่นใจร่างพ.ร.บ.2 ล้านล้านผ่านสภา
'โคราช' พร้อมหรือยังกับการลงทุนพ.ร.บ.2 ล้านล้านบาท
บรรยากาศหลังยกเลิกประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน
เฉลิม เตรียมเชิญ 'อภิสิทธิ์-ถาวร' ถกไฟใต้
2 ล้านล้านล่ม กระทบนักเก็งกำไรอสังหาฯ
นายกฯประชุมความมั่นคงขยาย พ.ร.บ.มั่นคงภาคใต้
รัฐบาลเตรียมหาแหล่งเงินกู้ใหม่พัฒนาระบบคมนาคม
พิจารณาใช้ พ.ร.บ.ความมั่นคง ม. 21
พ.ร.บ.คอม - ม.112 - รุนแรงใต้ ปัญหาสิทธิฯประเทศไทย
'ภราดร' อาจใช้ พ.ร.บ.มั่นคงฯ หลัง กปปส. ยุบรวมเวที
สภาฯ ถก ร่าง พรบ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาท วันแรก
รวมความเห็นภาคธุรกิจ ต่อรถไฟความเร็วสูง
พรรคร่วมรัฐบาลหนุนแนวคิดพ.ร.บ.ปรองดอง
กมธ.พิจารณาพ.ร.บ.เงินกู้ 2 ล้านล้าน
2 ล้านล้านตกไป : ประเทศไทยถูกตัดโอกาสเศรษฐกิจ
ส.ส.ปชป.นำมวลชนรอฟังผลพ.ร.บ.ปรองดอง
พ.ร.บ.มั่นคงไม่ใช่ยาสามัญประจำบ้าน
เมื่อร่าง พ.ร.บ.2 ลล.ต้องตกไป จากคำวินิจฉัยศาล รธน.
Mar 12, 2014 11:03
คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ทำให้ร่าง พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาท ต้องตกไป แต่ตัวโครงการยังสามารถเดินหน้าต่อได้ เพียงใช้กระบวนการจัดหาแหล่งเงินก้อนใหม่ในการดำเนินโครงการ แต่โครงการจะล่าช้ากว่าแผนเดิมที่กำหนดไว้ในระยะ 7 ปี  
 
โครงการ 2 ลล.สาระสำคัญของร่างพ.ร.บ.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของประเทศ ปี 2557-2563 หรือ พ.ร.บ.กู้เงิน วงเงิน 2 ล้านล้านบาท จะประกอบด้วย 3 ยุทธศาสตร์หลัก  
 
คือ การปรับเปลี่ยนรูปแบบการขนส่งสินค้าจากถนนสู่ระบบรางที่มีต้นทุนต่ำกว่า การพัฒนาการเชื่อมโยงโครงสร้างพื้นฐานกับประเทศเพื่อนบ้าน และการปรับปรุงระบบขนส่ง เพื่อยกระดับความคล่องตัว 
 
ภายใต้ยุทธศาสตร์แรก จะเน้นการปรับปรุงโครงข่ายทางรถไฟที่มีอยู่ให้เป็นโครงข่ายการขนส่งหลัก โดยพัฒนาถนนอย่างน้อย 4 เส้นทาง รวมถึงปรับปรุงเครื่องมือ อุปกรณ์ และความปลอดภัยของการเดินรถไฟ ตลอดจนการพัฒนาท่าเรือชายฝั่งทะเลทั้งด้านอ่าวไทยและอันดามัน ควบคู่กับการพัฒนาสถานีขนส่งสินค้าด้วยรถบรรทุก ที่เชื่อมโยงกับเส้นทางรถไฟ และท่าเรือ  
 
ยุทธศาสต์ที่สอง จะเน้นการพัฒนาประตูการค้าหลัก และประตูการค้าชายแดน โดยปรับปรุงด่านพรมแดน , ก่อสร้างศูนย์เปลี่ยนถ่ายรูปแบบการขนส่งสินค้า , เพิ่มประสิทธิภาพระบบถนนในโครงข่ายการเดินทางและการขนส่งทางถนน รองรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ เออีซี 
 
ตลอดจนการพัฒนาโครงข่ายเชื่อมต่อภูมิภาค โดยรถไฟฟ้าความเร็วสูงใน 4 เส้นทางหลัก รวมถึงการพัฒนาเส้นทางรถไฟสายใหม่ เพื่อเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้าน อาทิ แพร่ (เด่นชัย)-เชียงราย (เชียงของ) และสายขอนแก่น (บ้านไผ่), มุกดาหาร-นครพนม และพัฒนาโครงข่ายทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองเชื่อมโยงกับพื้นที่เศรษฐกิจ  
 
ยุทธศาสตร์สุดท้าย คือ พัฒนาระบบขนส่งในเขตเมือง ขยายระบบขนส่งมวลชนทางรางให้ครอบคลุมพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล ,การพัฒนาระบบขนส่งเชื่อมโยงพื้นที่เศรษฐกิจหลักภายในประเทศ โดยพัฒนาและบูรณะโครงข่ายถนนเพื่อแก้ปัญหาจราจรในพื้นที่ปริมณฑลและเมืองใหญ่ในภูมิภาค นอกจากนี้ ยังจะพัฒนาเส้นทางเชื่อมโยงพื้นที่เกษตร-อุตสาหกรรม และแหล่งท่องเที่ยว  
 
ตามแผนเดิม หากร่างพ.ร.บ.ฉบับนี้ เดินไปตามกระบวนการ จะเริ่มเห็นการลงทุนตั้งแต่ปลายปี 2556 ร้อยละ 0.01 ของจีดีพี หรือคิดเป็นมูลค่าประมาณ 200 ล้านบาท จากนั้นตั้งแต่ปี 2557-2563 จะลงทุนเฉลี่ยปีละประมาณ 3 แสนล้านบาท ซึ่งมีส่วนช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นร้อยละ 1 ต่อปี  
 
นอกจากนี้ ยังทำให้เกิดการจ้างงานอีกประมาณ 5 แสนคน , ประหยัดการใช้น้ำมันกว่า 1 แสนล้านบาทต่อปี และช่วยลดต้นทุนโลจิสติกส์ต่อจีดีพีไม่น้อยกว่าร้อยละ 2 จากปัจจุบันอยู่ที่ร้อยละ 15.2 
 
แต่เมื่อโครงการนี้ ไม่สามารถเดินไปได้ภายใต้กรอบของ พ.ร.บ. หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงต้องเร่งจัดหางบประมาณ เพื่อให้ตัวโครงการที่ทำการศึกษาไว้ สามารถขับเคลื่อนต่อไปได้  
Voice TV
กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี
185Article
76559Video
0Blog