ไม่พบผลการค้นหา
"ภาษาอังกฤษ" ต้นทุนทางวัฒนธรรม ของชนชั้นนำในสังคมไทย
แฟชั่นกับผู้นำหญิง
เมื่อ 'ผู้หญิง' ก้าวเข้ามาในพื้นที่ของผู้ชาย
วัฒนธรรมไทย กับดีไซน์ คัลเจอร์
เครื่องแบบนักเรียน " มีอยู่" หรือ "ยกเลิก" ?
Slut walk
พาเหรดนาซี และ ปัญหาแบบเรียนประวัติศาสตร์ของเด็กไทย
โฆษณา เครื่องดื่มขาวอมชมพู สะท้อนความไร้การศึกษาวงการโฆษณาไทย
คิดเล่นเห็นต่างกับคำผกา Special in Chiang Mai
“วัฒนธรรมวาย” ที่ไม่ใช่เหล้าองุ่น แต่เป็นวายในงานวรรณกรรม
กินเนื้อหมาหรือเลี้ยงสุนัข ตอน 2
กินเนื้อหมาหรือเลี้ยงสุนัข
ประวัติศาสตร์การรับน้องและระบบ Sotus ในประเทศไทย (ตอนจบ)
“สัปปายะสภาสถาน” แบบรัฐสภาใหม่ของไทย
ที่ใดมีกิ๊กที่นั้นมีกรรม ตอนจบ
'ชาตินี้' หรือ 'ชาติไหน' ที่วัฒนธรรมแบบไทยจะผงาดสู่เวทีโลก
จาก 'ลัดดา' ถึง 'เรยา' และ 'ชั่วฟ้าดินสลาย'
ถึงเวลาหรือยัง ? ที่"โสเภณี" จะเป็นอาชีพถูกกฎหมาย
พิษตกค้างหลังการเลือกตั้ง
ปริญญาบัตร วัดการศึกษาได้จริงหรือ?
แน่ใจหรือว่า อยากอยู่แบบภูฏาน ?
Jun 12, 2011 13:29

 

เปลื้องภาพมายา กับคำว่า ประเทศที่ประชากรมีความสุขมากที่สุด ประเทศที่หลายคนถวิลหา และปักใจเชื่อว่า แบบแผนในการพัฒนาประเทศแบบ "ภูฏานโมเดล" จะเป็นสูตรสำเร็จของความสุขมวลรวมระดับชาติที่แท้จริง เพราะจากงานวิจัยในหลายสำนัก ซึ่ง สะท้อนความเป็นจริงได้อย่างตรงจุด ระบุว่าชาวภูฏาน ห่างไกลจากคำว่า การมีคุณภาพชีวิตที่ดี พวกเขาขาดการศึกษาและเข้าไม่ถึงการสาธารณสุข ซึ่งเป็นเพียงปัจจัยพื้นฐานของชีวิต
 
 
นี่เป็นเพียงข้อมูลพื้นฐานเล็กๆน้อยที่ทำให้เราเห็นภาพที่เป็นรูปธรรมมากขึ้นเกี่ยวกับสังคมภูฐาน ที่ตอนนี้ถูกนำมาเป็นตัวอย่างของสังคมอุดมคติแห่งแนวทางการพัฒนาแบบทางเลือกหรือการพัฒนาแบบยั่งยืนหรืออะไรก็แล้วแต่ เวลาพูดว่า “ความสุขมวลรวมประชาชาติ” มันฟังดูดี พูดว่าสังคมที่คนสนใจศาสนา จิตวิญญาณมันก็ดูดี สังคมที่ธรรมชาติไม่ถูกทำลายด้วยน้ำมือของมนุษย์มันก็ดูดี แต่เราถามคนเหล่านั้นที่เห็นภูฐานเป็นสวรรค์บนดินว่า อายุเฉลี่ยคนภูฐานเท่าไหร์ อัตราการรู้หนังสือเท่าไหร่? รายได้เฉลี่ยต่อหัวต่อเดือนเท่าไหร่? มาตรฐานการสาธารณสุขเป็นอย่างไร? โดยกลุ่มความเชื่อแบบไม่รู้ความจริงเกี่ยวกับภูฏาน ก็มักจะพูดว่า คนภูฏานดูแลสุขภาพแบบองค์รวม  อิงธรรมชาติ อยู่กับธรรมชาติ อากาศดี  ซึ่งเรื่องนี้ก็สะท้อนออกมาจากจำนวนผู้ที่ติดเชื้อไทฟอยด์ ซึ่งยังเป็นโรคระบาดร้ายแรงในภูฐาน?และไม่สามารถตอบคำถามว่า
 
ทำไมอายุขัยเฉลี่ยของประชากรภูฎานจึงต่ำอย่างน่าตกใจ ทั้งๆ ที่ใครๆ  ก็มองว่าพวกเขามีชีวิตที่น่าอิจฉาและน่าจะมีความสุข
 
 
ยิ่งเมื่อ “อ่าน” ความหมายจากตัวเลขในงานวิจัย ก็เห็นได้ชัดว่าสิ่งที่คนภูฐานต้องการคือ ความมั่นคงทางศก. สุขภาพ และการศึกษา
 
 
คำว่า ความสุข และ well – being เป็นอัตวิสัย การที่คนในแต่ละวัฒนธรรมบอกว่าตัวเองมีความสุข อาจจะไม่ได้แปลว่าเขามีความสุข แต่ในบางวัฒนธรรม อาจจะไม่ใช่เรื่องที่ถูกต้องที่จะไปบอก “คนอื่น”  - ซึ่งในที่นี้คือ แบบสอบถามว่า ตัวเองไม่มีความสุข เพราะฉะนั้นถามว่า มีความสุขไหม? ก็ตอบว่ามี แต่พอถามว่า อะไรที่ทำให้เครียด ก็ตอบว่า “ไม่มีเงิน หาได้ไม่พอกิน” ลองนึกภาพคนไทย ถ้ามีคนแปลกหน้ามาถามว่าครอบครัวคุณมีความสุขไหม อย่างเลวร้ายที่สุด เราก็คงบอกว่า “พอประมาณ” คงไม่มีใครไปบอกคนแปลกหน้า ครอบครัวชั้น ห่วยแตก  
 
ในขณะที่บางสังคมการยอมรับกับคนแปลกหน้าตนเองอยูในครอบครัวที่ไม่มีความสุข เป็นเรื่องที่พูดได้ เป็นธรรมดา
 
 
นี่ยังไม่นับว่าในแต่ละสังคม วัฒนธรรมให้ความหมายแก่คำว่า “ความสุข” ต่างกัน  ดังนั้นจึงเป็นการยากที่เราจะบอกว่า สังคมไหนสมควรเป็น Role model แห่งการเป็นสังคมที่มีความสุขโดยปราศจากวาระซ่อนเร้นทางการเมืองหรืออุดมการณ์ เช่น สังคมที่ไม่สนใจประเด็นสิทธิมนุษยชน หรือคุณภาพชีวิตของพลเมือง แต่อยากไปขับเน้นวิถีชีวิตแบบก่อนสมัยใหม่ และการจำนนต่อชะตากรรมของพลเมืองในนามของ “ความศรัทธา”  และการแสวงหาความสุขทางจิตวิญญาณ มากกว่าคุณภาพชีวิตตามมาตรฐานสากล ก็อาจเลือกใช้ “ความสุข” แบบภูฐานเป็น role model ของสังคมที่มีความสุขอย่างยิ่งก็เป็นได้
 
 
  (ศึกษาเพิ่มเติมได้จาก http://www.bhutanstudies.org.bt/pubFiles/GNH-MaterialWelfare-part1.pdf )

 

Produced by Voice TV

Voice TV
กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี
184Article
76559Video
0Blog