ไม่พบผลการค้นหา
“ซุปเปอร์เอ็กซ์เพรสฟลัดเวย์” 1 ใน 11 มาตรการแก้น้ำท่วม
ธรณีพิโรธที่ “เซนได” เปลี่ยนทฤษฎีแผ่นดินไหวและสึนามิ
“ภาคประชาสังคม” ชูแนวทางสันติวิธีดับไฟใต้
'หมุนกงล้อประวัติศาสตร์ 14 + 6 ตุลา' สู่อนาคตการเมืองไทย
วิทยาศาสตร์ไทยอีก 10 ปี ข้างหน้า ?
ชีวิต ความคิด อิสรภาพ ของณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ
เปิดรายงาน Human Rights Watch : จมดิ่งสู่หายนะ ?
เตรียมรับมือ “แผ่นดินไหว-สึนามิ” หายนะโลก!
นักธรณีวิทยาเตือนอีก 2 เดือนภาคใต้เกิดมหันตภัยครั้งใหญ่
จับตาบทบาทอาเซียน “กรณีพิพาทไทย – กัมพูชา”
กฟน. แถลงความสำเร็จนำไฟฟ้าลงใต้ดินเพิ่มเติม 4 เส้นทาง ใจกลางกรุงฯ
“ชีวิต ความคิด อิสรภาพ”…ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ
'ยุทธศาสตร์ดับไฟใต้' ประชาธิปัตย์ VS เพื่อไทย VS แทนคุณแผ่นดิน
2 ศิลปินคนเดือนตุลา...จาก 14 ตุลา-สงครามสีเสื้อ
ปล้นปืน 2 “การประกาศอำนาจเหนือรัฐของโจรก่อการร้าย”
'เดิน วิ่ง ปั่น' ห่างไกลจากโรคหลอดเลือดสมอง
“จิบกาแฟ กลางแดดเช้า” กับนักเขียนซีไรท์และนักวิจารณ์
ปราสาทพระวิหาร…ระเบิดเวลา รัฐบาลใหม่?
คอป. เร่งเยียวยา...ญาติวีรชน พฤษภา 35 – 53
ระวังภัย!... “แก๊งโจรกรรมรถ”
ข้อเสนอแก้ปัญหาน้ำท่วม - การกัดเซาะชายฝั่ง
Jan 31, 2011 13:53

 

กรุงเทพมหานคร จะเป็น 1 ใน 9 เมืองในทวีปเอเชีย ที่น้ำทะเลจะเอ่อเข้าท่วมเมืองนักวิชาการเสนอ สร้าง “เขื่อนก้องทะเล”ป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง  



อุทกภัยครั้งล่าสุดที่สร้างความเสียหายทั้งชีวิต และทรัพย์สินในพื้นที่ภาคเหนือ  ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคใต้   ทำให้คนไทยตระหนักถึงความจำเป็นของการแก้ปัญหาน้ำท่วมในระยะยาว   โดยเฉพาะเมื่อมีผลการวิจัยของธนาคารโลกร่วมกับนักวิจัยไทย ระบุว่า  หากกรุงเทพ เผชิญกับปริมาณน้ำมากเท่ากับน้ำท่วมใหญ่ปี 2538  ระบบที่มีอยู่ไม่สามารถรองรับได้  และกรุงเทพมหานคร จะเป็น 1 ใน 9 เมืองในทวีปเอเชีย ที่น้ำทะเลจะเอ่อเข้าท่วมเมืองภายใน 10 ปี 

                ศ.ดร.ธนวัฒน์  จารุพงษ์สกุล  จากภาควิชาธรณีวิทยา  คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ  สรุปภาพรวมปัญหาน้ำท่วม 2 ลักษณะที่ประเทศไทย เผชิญ คือ 1. น้ำท่วมที่เกิดเป็นประจำจาก น้ำหนุน น้ำเหนือ และน้ำฝน  2. น้ำท่วมที่เกิดจากน้ำทะเลท่วมแผ่นดิน   

                ศาสตร์ในการแก้ปัญหาน้ำท่วม มี 2  รูปแบบ  คือ  รูปแบบแรก คือการแก้ปัญหาน้ำท่วมโดยใช้โครงสร้าง   เช่น เขื่อน คันกั้นน้ำ   รูปแบบที่สอง คือ การแก้ปัญหาน้ำท่วมโดยไม่ใช้โครงสร้าง  เช่น การวางผังเมือง   

 ศ.ดร.ธนวัฒน์ เคยเสนอผลงานวิจัยแนวทางป้องกันน้ำท่วมแบบบูรณาการไปแล้วเมื่อปี 2542  แต่น่าเสียดายที่งานวิจัยไม่ได้รับความสนใจจากนักวางแผน แนวทางที่นำเสนอ เช่น  วางแผนแม่บทมาตรฐานการป้องกันน้ำท่วมโดยใช้สิ่งก่อสร้าง   แผนการพัฒนากรุงเทพ และเมืองบริวาร  การควบคุมการใช้น้ำบาดาลเพื่อป้องกันแผ่นดินทรุด   มาตรการควบคุมการใช้ที่ดิน และผังเมือง

ส่วนน้ำท่วมที่เกิดจากน้ำทะเลท่วมแผ่นดิน เพิ่งมีการเปิดเผยแผนที่น้ำทะเลกัดเซาะชายฝั่งอ่าวไทยตอนบน  ระยะทาง 120 กิโลเมตร จาก กรุงเทพ สมุทรปราการ สมุทรสาคร สมุทรสงคราม และฉะเชิงเทรา เป็นชายฝั่งด้านที่มีการกัดเซาะรุนแรงที่สุด   จากการคำนวณตามหลักวิชาการจากนี้ไปอีกชายฝั่งแถบนี้ 20 ปี พื้นที่จะหายไป 6.8 หมื่นไร่   50 ปี  2 แสนไร่ และ 100 ปี  4 แสนไร่   นักวิชาการกลุ่มนี้เสนอการสร้าง “เขื่อนก้องทะเล”ป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง  โดยขณะนี้จดสิทธิบัตรไว้แล้ว

                ส่วนภาพรวมพื้นที่ชายฝั่งทั่วประเทศ  2,600 กิโลเมตร   จุดวิกฤติที่เกิดการกัดเซาะชายฝั่ง 30 จุด  ด้านอ่าวไทย 22 จุด   ฝั่งอันดามัน 8  จุด

Produced by VoiceTV

               

Voice TV
กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี
185Article
76559Video
0Blog