ไม่พบผลการค้นหา
Biz Feed - PwC เปิดผลสำรวจอาชญากรรมทางเศรษฐกิจโลกปี'61 - Short Clip
แอร์เอเชียเล็งเปิดสายการบินในเมียนมาร์-เวียดนาม
เกาะติดสถานการณ์น้ำ 4 เขื่อนหลัก ​
มาสด้า คาดตลาดรถไตรมาสแรกทรงตัว
Wake Up News - คนกรุงอยากได้ 'อภิสิทธิ์' เป็นนายกฯมากสุด - Short Clip
มหกรรมงานสร้างบ้านและวัสดุก่อสร้าง 59 : THBF 2016
สิ่งที่ยังคงตราตรึงในความทรงจำ ณ ประเทศอินโดนีเซีย
ใบหยก ทุ่มพันล้าน ซื้อโรงแรม-เชนอาหาร
4 ข้อมูลสำคัญ ที่นักการตลาดต้องคิดต่อ
ช่อง One - True4u ลงทุนมากกว่า 2 พันล้านเรียกเรตติ้ง
'ปริญสิริ' เปิดตัวคอนโดฯ Low Rise เริ่ม1.49 ลบ.
อเมริกัน สแตนดาร์ด ชวนประกวดออกแบบห้องน้ำ ระดับเอเชีย
ผู้ค้าราชประสงค์ ปั้น กทม.เป็นเมืองแห่งอนาคต
'อาร์ซี โคล่า' กลับสู่ตลาดในรอบ 48 ปี
Day Break - 'บาติก' ลายผ้าไทยร่วมสมัยชายแดนใต้ สู่ตลาดสากล - Short Clip
4 รายชื่อแบล็กลิสต์ ผู้มีอิทธิพล กทม.
เปิดอาณาจักรเซ็นทรัล 2 ปี ลงทุนกว่า 7 หมื่นล้าน
Co Working Space แห่งแรกในสนามบิน
'สมาร์ทวอทช์' สินค้ายอดฮิตช็อปปิ้งออนไลน์
สมาร์ทโฟนหน้าจอใหญ่ยังฮิตอีกยาว
เจาะภาพรวมปริมาณน้ำทั้งประเทศ เพียงพอหรือไม่
Mar 1, 2016 12:13

เข้าสู่ฤดูร้อนหรือหน้าแล้งปี 2559 ซึ่งเริ่มตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ กรมชลประทานซึ่งเป็นเจ้าภาพหลัก ได้เริ่มบริหารจัดการน้ำในปีนี้จากการแบ่งการใช้น้ำที่มีอยู่ในอ่างเก็บน้ำทั่วประเทศ 

​สถานการณ์น้ำในภาพรวมทั้งประเทศ ปัจจุบันอยู่ที่ร้อยละ 52 เป็นน้ำที่ใช้การได้ร้อยละ 32 ซึ่งจำนวนนี้หากไม่มีฝนตกเพิ่ม จะเพียงพอใช้ถึงเดือนกรกฎาคมนี้(59) ภายใต้การจัดการน้ำ ที่แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ ในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา และพื้นที่รอบอ่างเก็บน้ำขนาดกลางและใหญ่ทั่วประเทศ

ในจำนวนนี้ พื้นที่ที่มีปริมาณน้ำที่อยู่ในขั้นน้อยมากๆ คือ ภาคเหนือ มีน้ำใช้การเพียงร้อยละ 16 ซึ่งน้ำส่วนนี้ สะท้อนปริมาณน้ำในพื้นที่ลุ่มเจ้าพระยา  ใน 4 เขื่อนหลัก ได้แก่  เขื่อนภูมิพล, เขื่อนสิริกิติ์  เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน ซึ่งอยู่ในภาคเหนือ  ส่วนเขื่อนหลักในลุ่มเจ้าพระยา อยู่ในภาคกลางเพียงแห่งเดียว คือ เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ 

น้ำในลุ่มเจ้าพระยา  ครอบคลุม 22 จังหวัดภาคเหนือและภาคกลาง  เป็นปริมาณน้ำที่ไม่ได้วางแผนจัดการไว้ใช้ทำนาปรัง แม้จะมีจำนวนลดลง
แต่ยังมีเกษตรกรบางรายยินดีรับความเสี่ยง และยังปลูกข้าวนาปรังทั้งที่รู้ว่าน้ำข้างต้น แบ่งไว้ใช้ในกลุ่มพืชไม้ผลและพืชไร่ประจำถิ่น เช่น อ้อย ที่ 400 ล้านลูกบาศก์เมตร 

น้ำเพื่ออุปโภค-บริโภค 3,034 ล้านลูกบาศก์เมตร และรักษาระบบนิเวศน์ ซึ่งรวมถึงการผลักดันน้ำเค็ม 2,600 ล้านลูกบาศก์เมตร  กรมชลประทาน ยืนยันปริมาณน้ำทั้งหมด สามารถใช้การได้ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ - กรกฎาคมนี้ ภายใต้เงื่อนไขว่า หากฝนไม่ตก ซึ่งความเป็นไปได้ต่ำ เพราะช่วงนั้น เข้าสู่ฤดูฝนแล้ว

สำหรับการจัดการน้ำของรัฐบาล  เป็นไปยุทธศาสตร์คณะกรรมการน้ำแห่งชาติ ที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน  ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งกรมอุตุนิยมวิทยา, กระทรวงเกษตรฯ และกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย   ยืนยันปีนี้ไม่วิกฤต   

ส่วนแผนจัดการน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดกลางและขนาดใหญ่ทั่วประเทศ  ให้ความสำคัญกับการรักษาระบบนิเวศน์มากที่สุด ร้อยละ 48 รองลงมาคือภาคการเกษตร ร้อยละ 31 , เพื่อการอุปโภค-บริโภค ร้อยละ  19 และภาคอุตสาหกรรม ร้อยละ 2  ซึ่งแผนนี้จะใช้ไปจนถึงเดือนกรกฎาคม(59) เช่นเดียวกับแผนจัดการน้ำของอ่างเก็บน้ำ 4 แห่งในลุ่มเจ้าพระยา  

Voice TV
กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี
187Article
76559Video
0Blog